Environmental Sustainability

สร้าง ‘ปอดใหญ่’ ด้วยใจ ‘ชาวเกาะคา’

สิ่งแวดล้อมที่ดี สามารถสร้างได้ จากความร่วมมือร่วมใจของทุกคน  “ชุมชน” คือส่วนสำคัญ ที่จะต้องทำหน้าที่พัฒนา ปกป้อง และดูแลสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ของตัวเอง ให้คงอยู่คู่ กับชุมชน ไปอย่างยั่งยืน

เทศบาลตำบลเกาะคา มีพื้นที่สีเขียวเป็นจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ และความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้ที่นี่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด และเกิดเป็นโครงการต่อยอดความสำเร็จขึ้นมากมาย

สร้างปอดใหญ่ 01

อาทิ โครงการ “ป่าชุมชนสวนกินได้” ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชน ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ต้นไม้ที่ปลูกเรียงรายอยู่ริมแม่น้ำวัง คือ ผลงานของชาวบ้านแสนตอ ช่วยกันปลูก และดูแล เหมือนกับเป็นสมบัติล้ำค่า ที่ห้ามผู้ใดมาทำลาย แต่สามารถเก็บกินได้ เปรียบดั่งซูเปอร์มาร์เก็ตของชุมชน

S 261963783

นางแสงเทียน สุริยงค์ ผู้ใหญ่บ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เล่าว่า เริ่มต้นประมาณปี 2548 – 2549 ร่วมกับเทศบาล ทำโครงการปลูกป่า ทำให้ชาวบ้านอยากมีส่วนร่วม จึงช่วยกันซื้อพันธุ์ไม้ที่ชอบ มาปลูก และช่วยกันรดน้ำ ดูแล เพราะพื้นที่ที่ปลูกตอนนั้น เป็นดินทราย พืชเจริญเติบโตได้ยาก เมื่อมีความพยายาม ความสำเร็จจึงเกิดขึ้น กลายเป็นปอดเล็กๆ ให้กับชุมชน

S 261963781

นอกจากการสร้างพื้นที่สีเขียวแล้ว เทศบาลตำบลเกาะคาเล็งเห็นความสำคัญเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร จึงรณรงค์ให้ชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสร้างรายได้และเป็นการสร้างความเข็มแข็ง และมั่นคงให้ชุมชน

การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ของเทศบาลตำบลเกาะคา ยังก่อให้เกิดโครงการ “ตู้เย็นในสวน” ส่งเสริมให้ชาวบ้านทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเอง เริ่มต้นจากการปลูกบ้านละ 5 ชนิด ในปัจจุบันเกือบทุกบ้านปลูกผักมากกว่า 7 ชนิดต่อครัวเรือน

S 261963780

ทั้งยังมีการทำสวนมัลเบอร์รี่ที่ใช้พื้นที่ของเทศบาลฯ โดยให้ชุมชนดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปเป็นอาหารของชุมชนและที่เหลือสามารถจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง

S 261963784

นางสาวเพ็ญภัค รัตนคำฟู นายกเทศมนตรีตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง กล่าวว่า จุดเด่นของเทศบาลตำบลเกาะคา คือ เรื่องของความร่วมมือของคนในชุมชน ที่มองว่า การที่เกาะคาเป็นเมืองน่าอยู่ได้ สิ่งสำคัญคือการสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นเจ้าของท้องถิ่นร่วมกัน

S 261963778

บ้านแสนตอ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนสูง จะเห็นว่าคนชุมชนใช้เวลาว่าง มาช่วยกันดูแลต้นไม้ ที่ตัวเองปลูก และเขาไม่ได้มองว่า เขาต้องรดต้นไม้ที่ตัวเองปลูกเท่านั้น แต่มองว่าต้นไม้ทุกต้น คือสมบัติของพวกเขา สมบัติที่ทุกคนจะช่วยกันส่งต่อให้ลูกหลาน

S 261963782

การสร้างสิ่งแวดล้อมที่มั่นคง และยั่งยืนนั้น นอกจากอาศัยหน่วยงานภาครัฐช่วยผลักดันแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ ความร่วมมือที่มาจากหัวใจของคนในพื้นที่นั่นเอง

“คุณภาพสิ่งแวดล้อมคือคุณภาพชีวิต”

ด้วยความปรารถนาดีจาก

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

logg

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo