Environmental Sustainability

‘ยูนิลีเวอร์’ ประกาศแผนสู้ วิกฤติสภาพภูมิอากาศ ปี 82 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

วิกฤติสภาพภูมิอากาศ ปัญหาที่โลกต้องเผชิญ ยูนิลีเวอร์ ประกาศแผนต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งเป้าปี 2582 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

นายอลัน โจป ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยูนิลีเวอร์ โกลบอล เปิดเผยว่า ในขณะที่โลกกำลังรับมือกับความเสียหาย ที่เกิดจากโรคระบาด โควิด-19 และต่อสู้กับปัญหาความไม่เท่าเทียมกันที่รุนแรง ต้องไม่ลืมว่า วิกฤติสภาพภูมิอากาศ ยังคงเป็นภัยคุกคามระดับโลก ที่มีผลกับทุกคน

วิกฤติสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของธรรมชาติ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การขาดแคลนน้ำ ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกัน และต้องแก้ไขปัญหาทั้งหมดไปพร้อมๆ กัน

ทั้งนี้ ยูนิลีเวอร์ ได้ประกาศมาตรการ และพันธกรณี เพื่อปรับปรุงโลกให้ดีขึ้น โดยการทำทุกวิถีทาง ที่จะต่อสู้กับ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ปกป้องและสร้างธรรมชาติขึ้นมาใหม่ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อคนรุ่นหลัง ภายใต้เป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์จากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ภายในปี 2039

ทั้งนี้ แบรนด์ทั้งหมดภายใต้ยูนิลีเวอร์ จะร่วมลงทุนในกองทุน Climate & Nature Fund ที่อุทิศเพื่อสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้สำหรับแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมาย และผลลัพท์ที่ชัดเจนใน 10 ปีข้างหน้านับแต่นี้ อันได้แก่ โครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์ โครงการปลูกป่า โครงการกักเก็บคาร์บอน โครงการคุ้มครองสัตว์ป่า และโครงการอนุรักษ์น้ำ

จากเป้าหมาย ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงาน และการลดก๊าซเรือนกระจก GHG footprint ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ตลอดสายห่วงโซ่อุปทานภายในปี 2582 จะครอบตลุมตั้งแต่ การจัดหาวัสดุที่ใช้ไป จนถึงจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเรา โดยทำงานร่วมกับพันธมิตร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Sustainable Energy
Future fit sustainable technology

อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ จากทุกภาคส่วน ขณะที่ภาครัฐ ต้องกำหนดเป้าหมาย net-zero และ เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซในระยะสั้น พร้อมกับวางกรอบนโยบายสนับสนุน เช่น การกำหนดราคาคาร์บอน เป็นต้น

พร้อมกันนี้ บริษัทวางแผนที่จะมีระบบซัพพลายเชน ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2566 โดย การยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับ และความโปร่งใสผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ เช่น การติดตามผ่านดาวเทียม Geolocation Tracking และบล็อกเชน การเร่งกระบวนการ ที่จะนำเกษตรกรรายย่อยเข้ามาในระบบ และเปลี่ยนรูปแบบการจัดซื้อเป็นแบบ derivatives sourcing

ยูนิลีเวอร์ จะทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม องค์กรอิสระ และรัฐบาล เพื่อปกป้องมากกว่าป่าไม้ ป่าพรุ ป่าดงดิบ และปกป้องพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ และประเมินการเก็บกักคาร์บอน ซึ่งถูกคุกคามจากการเปลี่ยนไปเป็นที่ดินทำมาหากิน ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยูนิลีเวอร์ ต้องการช่วยสร้างธรรมชาติขึ้นมาใหม่ ด้วยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และการอนุรักษ์น้ำ ในด้านการประหยัดน้ำและการเข้าถึงแหล่งน้ำ

เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ยูนิลีเวอร์ จะให้อำนาจชาวนาและเกษตรกรรายย่อยรุ่นใหม่ ที่มีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องและสร้างสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เพาะปลูกของพวกเขาขึ้นมาใหม่ การริเริ่มนี้จะรวมถึงการคุ้มครองสิทธิ์ ในการถือครองที่ดิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งการแนวทางปฏิบัติ

Future Tree AttapornSomboon
Tree for future.

สำหรับการพัฒนาเชิงบูรณะ แนวทางเชิงบูรณาการนี้ จะช่วยปรับปรุงวิถีชีวิตของเกษตรกรรายย่อยให้ดีขึ้น และช่วยให้พวกเขา ได้มีโอกาสฟื้นฟูธรรมชาติ โดยเปิดตัวหลักปฏิบัติ ด้านการเกษตรเพื่อฟื้นฟู Regenerative Agriculture Code สำหรับซัพพลายเออร์ทั้งหมด ที่มีพื้นฐานมาจากหลักปฏิบัติเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน Sustainable Agriculture Code ที่เป็นที่ยอมรับว่าดีที่สุดในอุตสาหกรรม

ยูนิลีเวอร์ จะยกระดับความพยายามที่จะอนุรักษ์น้ำ ปัจจุบันประชากรโลกกว่า 40% ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำและมากกว่า 2,100 ล้านคนดื่มน้ำที่ไม่สะอาด และเป็นอันตราย จากความร่วมมือกับธนาคารโลก ยูนิลีเวอร์จะดำเนินโปรแกรมดูแลทรัพยากรน้ำสำหรับชุมชนกว่า 100 แห่ง ภายในปี 2573

โปรแกรมดังกล่าว จะใช้แนวทางในระดับชุมชน เพื่อบริหารจัดการน้ำ และไม่เพียงแต่ช่วยชาวนาตลอดฤดูเพราะปลูกแล้ว ยังตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อันได้แก่ การมีน้ำดื่ม หรือใช้ที่เพียงพอ และเข้าถึงได้ง่าย โมเดลสำหรับโปรแกรมดูแลทรัพยากรน้ำนี้ จะสร้างจากความร่วมมือกับซัพพลายเออร์หลักๆ เพื่อจะได้นำโปรแกรมในลักษณะคล้ายๆ กัน ไปดำเนินการต่อได้

พร้อมกันนี้ ยูนิลีเวอร์จะร่วมกลุ่ม 2030 Water Resources Group แพลตฟอร์มที่เป็นความร่วมมือจากภาคีหลากหลาย โดยมีธนาคารโลกเป็นเจ้าภาพ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นคืนสภาพทรัพยากรน้ำในประเทศที่ขาดแคลนน้ำ เช่น อินเดีย บราซิล แอฟฟริกาใต้ เวียดนามและอินโดนีเซีย

เพื่อปกป้องทรัพยากรน้ำเพิ่มขึ้นไปอีก ยูนิลีเวอร์ มีเป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ย่อยสลายได้ (biodegradable) ภายในปี 2030 เพื่อลดผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำและระบบนิเวศทางน้ำ แม้สารบางประเภทที่เราใช้อยู่ ณ ปัจจุบันนี้ จะไม่มีทางเลือกที่เป็นชนิดที่ย่อยสลายได้ก็ตาม เราก็จะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อคิดค้นนวัตกรรมและทางออกเพื่อช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้

นายโรเบิร์ต แคเดลิโน
โรเบิร์ต แคเดลิโน

นายโรเบิร์ต แคเดลิโน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ในประเทศไทย ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ได้แนะนำแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ในไทยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งข้างในและข้างนอกเมื่อปีที่แล้ว ได้แก่ เลิฟ บิวตี้ แอนด์ แพลนเน็ท และเซเว่นท์ เจนเนอเรชั่น อีกทั้งยัง เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์สำหรับแบรนด์ที่ขายดีที่สุดให้เป็นขวดที่รีไซเคิลมาจากพลาสติกใช้แล้ว (post-consumer recycling: PCR)

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์หมวดเครื่องใช้ในบ้านได้เปลี่ยนมาใช้ขวด PCR มากถึง 80% เราได้เปลี่ยนขวดซันไลต์ ซึ่งเป็นแบรนด์น้ำยาล้างจานขายดีอันดับ 1 ได้เปลี่ยนจากการใช้ขวด HDPE เป็นขวด PET ในปี 2563 ซึ่งลดจำนวนพลาสติกที่ใช้ถึง 274 ตันต่อปี

ต่อมาในเดือนมกราคม 2562 ได้อัพเกรดขวดซันไลต์เพิ่มเติมจากขวด PET เป็นขวด PET ที่มาจากการรีไซเคิล 100% ทำให้ขวดซันไลต์เป็น PCR 100% และลดการใช้พลาสติกไปได้ถึง 551 ตันต่อปี นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกมากถึง 56%

โรงงานผลิตในประเทศไทยได้ปฏิบัติเพื่อให้ขยะที่ไปบ่อฝังกลบเป็นศูนย์มาตั้งแต่ปี 2557 และยกระดับการจัดการ โดยหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทน ด้วยการติดตั้ง biomass boiler และบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ภายในโรงงาน เป็นการประหยัดไฟ ประหยัดน้ำ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo