Environmental Sustainability

เปิดตัว ‘ชุมชน LIKE (ไร้)ขยะ’ นำร่อง ‘ระยอง’ เชื่อมต่อบ้าน–วัด–โรงเรียน–ธนาคาร

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ขยายผล “บางซื่อโมเดล”  จับมือจังหวัดระยองเปิดตัว “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ”  เชื่อมต่อ “บ้าน–วัด–โรงเรียน–ธนาคารขยะ” ยกระดับบริหารจัดการ รวบรวม และคัดแยกขยะ พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” เป็นเครื่องมือช่วย ตั้งเป้าลดขยะชุมชนลงบ่อฝังกลบเป็นศูนย์ 

2 นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซ... ตัด

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียน เอสซีจี กล่าวว่า เอสซีจีได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนสมบูรณ์ คือ การบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเอสซีจีได้เริ่มต้นจากภายในองค์กร

จากการดำเนินโครงการ “บางซื่อโมเดล” สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องทิ้งบ่อฝังกลบได้เฉลี่ย 20 ตันต่อเดือน เพิ่มปริมาณขยะรีไซเคิลจาก 10 % ต่อเดือน เป็น 45 % ต่อเดือน และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า50 % ในแต่ละเดือน โดยรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานภายในเอสซีจี

สำหรับจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และได้รับเลือกเป็นพื้นที่นำร่องด้านการบริหารจัดการขยะ มีโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastic) ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ร่วมจัดตั้งโมเดลที่บ้านวังหว้า อำเภอแกลง

5 เอสซีจีร่วมรณรงค์ส่งเสริมความรู้เรื่องแยกขยะ ใช้ให้คุ้ม เเยกให้เป็น ทิ...

และยังได้ร่วมกับจังหวัดระยอง เปิดตัวโมเดลการจัดการขยะภายในชุมชนที่เชื่อมโยงกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และธนาคารขยะชุมชน ภายใต้โครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” เพื่อสร้างต้นแบบการบริหารจัดการทรัพยากร และขยะตั้งแต่ต้นทาง

เป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณขยะรีไซเคิล และลดปริมาณการฝังกลบขยะ เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านผู้นำชุมชน และสมาชิกชุมชน โดยลดการสร้างขยะ และเพิ่มการรีไซเคิล สอนการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง และทิ้งขยะให้ถูกต้อง ให้ชุมชนคัดแยกขยะเปียก และขยะที่รีไซเคิลได้ รวมทั้งไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง

10 โรงเรียนร่วมรณรงค์ ส่งเสริมเเนวคิด ใช้ให้คุ้ม เเยกให้เป็น ทิ้งให้ถูกใ...

“จุดหลักของโครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ คือ การสร้างผู้นำทางความคิดที่เข้มแข็ง และการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน LIKE (ไร้) ขยะที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งวัดและโรงเรียนถือเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน เราจึงสร้างการมีส่วนร่วม โดยให้วัดและโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อปลูกฝังการคัดแยกขยะตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ โดยมีเจ้าอาวาส พระสงฆ์ คุณครู นักเรียน และผู้นำชุมชน เป็นผู้นำทางความคิด เพื่อถ่ายทอดแนวคิดต่อไปยังคนอื่น ๆ ในบ้านและชุมชนต่อไป ” 

12 ชุมชนไร้ Like ขยะ 2

ปัจจุบัน “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ได้เริ่มนำร่องที่ชุมชนเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง ผ่านโครงการ “บ-ว-ร” ได้แก่ บ้าน คือ ชุมชนโขดหิน 2 ชุมชนโขดหินมิตรภาพ ชุมชนเขาไผ่ วัด วัดโขดหิน และ โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 มีธนาคารขยะชุมชนเขาไผ่ เป็นผู้ขับเคลื่อนกลไกการรีไซเคิลของชุมชน  มีผู้ที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 80 ครัวเรือน สามารถนำขยะกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้กว่า 6,500 กิโลกรัม

13 ใช้แอปพลิเคชัน คุ้มค่า ในการซื้อขายขยะ

นอกจากนี้ยังใช้แอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” (KoomKah) ที่พัฒนาโดยธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เป็นตัวช่วยเก็บข้อมูล และเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ช่วยวางแผนกลยุทธ์การซื้อขายขยะได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มมูลค่าให้กับขยะ และเพิ่มโอกาสการจำหน่ายขยะแต่ละชนิด ไปยังโรงงานรีไซเคิลและโรงหลอมได้โดยตรง ประกอบด้วย 5 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่

1. การรับซื้อขยะ (Buy) ช่วยบันทึกจัดเก็บข้อมูลขยะและคำนวณยอดเงินจากการซื้อขาย

2. การจัดการสมาชิก (Membership Management) จัดเก็บข้อมูลสมาชิก ประวัติการแลกแต้ม และสะสมคะแนน

3. การขายขยะ (Sell) บันทึกข้อมูลการขาย คำนวณรายรับและกำไรที่ได้จากการขาย

4. การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) จัดระเบียบข้อมูลสินค้าขยะแต่ละประเภท เงินทุนและแต้มสะสมจากการรับซื้อสินค้า ทำให้วางแผนกลยุทธการซื้อขายได้ดียิ่งขึ้น

5. การจัดทำรายงานรับซื้อและขายขยะ (Report) ที่สามารถเลือกช่วงเวลาประมวลผลและดาวน์โหลดไฟล์ออกมาในรูปแบบ Excel

3 เอสซีจีร่วมรณรงค์ส่งเสริมความรู้เรื่องแยกขยะ ใช้ให้คุ้ม เเยกให้เป็น ทิ...

ทั้งนี้ ปี 2563 เอสซีจีมีแผนจะเพิ่มจำนวนครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการ ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ อีก 700 ครัวเรือนในชุมชนเดิม นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ชุมชนใหม่ ที่มีใจพร้อมจะเดินหน้าเป็น ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ได้แก่ ชุมชนอิสลาม ชุมชนวัดชากลูกหญ้า และชุมชนมาบชลูด-ชากกลาง โดยเอสซีจีจะสนับสนุนและส่งเสริมผู้นำชุมชนในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนต่อไปเพื่อให้จังหวัดระยองก้าวสู่เมืองไร้ขยะอย่างสมบูรณ์

 

Avatar photo