Environmental Sustainability

กรมลดโลกร้อน ร่วมจัดประชุมนานาชาติ แก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ

กรมลดโลกร้อน ร่วมจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัย Monash และกรุงเทพมหานคร จัดการประชุมนานาชาติเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสภาพอากาศหลายประการ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และอุณหภูมิที่สูงขึ้น

กรมลดโลกร้อน

การประชุมนี้ เป็นการประชุมเกี่ยวกับแนวทางการนำธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาในบริบทเมือง (Nature-based Solutions in Urban Contexts) ภายใต้โครงการ Resilient Urban Centres and Surrounds (RUCaS) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้าแห่งออสเตรเลีย (DFAT) ดำเนินการโดย Water Sensitive Cities Australia (WSCA) ภายใต้ สถาบันการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัย Monash (MSDI) และ ศูนย์การจัดการสิ่งแวดล้อมนานาชาติ (ICEM) โดยจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม โดยมีผู้แทนจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาสังคม และองค์กรพัฒนาเอกชนจากกัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม และออสเตรเลีย รวมกว่า 140 คน

S 204562458 0

ศาสตราจารย์ John Thwaites AM ประธาน MSDI กล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับบทบาทของการแก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติ (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ว่า การแก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติ (Nature-based Solutions: NbS) เป็นแนวทางในการจัดการกับความท้าทายของสังคมโดยการปกป้อง จัดการอย่างยั่งยืน และฟื้นฟูระบบนิเวศธรรมชาติหรือระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลง

S 204562459 0

อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green Infrastructure) เช่น การพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อจัดการน้ำท่วมและมลพิษ หรือการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อลดมลพิษทางอากาศ และลดผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง ตัวอย่างของแนวทางนี้สามารถพบเห็นได้ที่ สวนเบญจกิติ และ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร

S 204562460 0

นาย Ben Furmage ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WSCA ภายใต้ MSDI กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือและผลักดันให้เกิดชุมชนที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ในการประชุมครั้งนี้ เราจะนำเสนอผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการบูรณาการธรรมชาติ วัฒนธรรม และโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน

S 204562457 0

นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย กล่าวว่า มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ NbS ในการบริหารจัดการน้ำในเมือง เพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม ปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและมีความหมายเกิดขึ้นจากการพัฒนาแนวทางแก้ไขร่วมกัน โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของชุมชน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบายในทุกระดับของรัฐบาล

S 204562456 0

ดร. Angela Macdonald เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับออสเตรเลียและประเทศในลุ่มน้ำโขงในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อช่วยพัฒนาชุมชนและภูมิภาคให้ดีขึ้น

S 204562461 0

นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพฯ คุ้นเคยกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น พายุที่รุนแรงและถี่ขึ้น อุณหภูมิเมืองที่สูงขึ้น และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น

กลุ่มเปราะบางมักเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาเหล่านี้ เมืองของเรากำลังใช้ NbS ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อยู่แล้ว ความท้าทายต่อไปคือการขยายขนาดให้ครอบคลุมมากขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo