Environmental Sustainability

‘ดร.รวีวรรณ’ นำทีมผู้แทนไทย ร่วมประชุม UNCCD COP 16

“ดร.รวีวรรณ” นำทีมผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 16 (UNCCD COP 16)

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.รวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วย กรมพัฒนาที่ดิน ในฐานะหน่วยประสานงานหลักของประเทศ (National Focal Point) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และกรมองค์การระหว่างประเทศ

เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 16 (UNCCD COP 16) ณ Boulevard Hall Parking กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 13 ธันวาคม 2567

ดร.รวีวรรณ

ผู้แทนไทยร่วมประชุม UNCCD COP 16

UNCCD เป็นหนึ่งในอนุสัญญาฯ ด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้สหประชาชาติ อันประกอบด้วยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และด้านการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือระดับโลกเพื่อต่อสู้กับปัญหาการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ความเสื่อมโทรมของที่ดิน และภัยแล้ง ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขยายตัวของเมือง และการใช้ประโยขน์ที่ดินที่ไม่ยั่งยืน

โดยการประชุม UNCCD COP 16 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Our Land. Our Future” โดยเป็นการประชุมครั้งที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดจาก 197 ประเทศ เพื่อร่วมฉลองโอกาสครบรอบ 30 ปี ของอนุสัญญานี้

ดร.รวีวรรณ

หารือปัญหา-แนวทางความร่วมมือ 3 ประเด็น

การประชุม UNCCD COP 16 ประกอบด้วยการประชุมระดับสูง (High level segment) เพื่อหารือปัญหาและแนวทางความร่วมมือใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ

(1) การย้ายถิ่นฐานอันเนื่องมาจากที่ดินเสื่อมโทรมและภัยแล้งที่พบว่ามีประชากรกว่า 120 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบในเรื่องนี้

(2) ผลกระทบจากภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และชุมชน

(3) การยกระดับทางการเงินเพื่อฟื้นฟูที่ดินและสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยแล้ง มีการหารือทางเทคนิคในประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนเครื่องมือและกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้อนุสัญญา

นอกจากนั้น ในปีนี้ ยังมีความพิเศษเนื่องจากซาอุดีอาระเบียได้จัดให้มีหัวข้อพิเศษที่เน้นการดำเนินงานของภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดิน ระบบอาหาร-เกษตร ธรรมาภิบาล ชุมชน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การมีภูมิคุ้มกัน และการเงิน

S 200720405

ป้องกัน-บรรเทาผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของดินและภัยแล้ง

ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการแสวงหาแนวทาง กลไกความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมทั้งในระดับระหว่างประเทศ ภูมิภาค และอนุภูมิภาคเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของดินและภัยแล้ง เพื่อลดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรให้มีองค์ความรู้และศักยภาพในการรับมือกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่าประเทศไทยมีปัญหาที่ดินเสื่อมโทรมคิดเป็น 21% ของพื้นที่ทั้งหมด และปัญหานี้จะทวีความรุนแรงไปเรื่อย ๆ หากไม่มีการกำหนดนโยบายและมาตรการที่เหมาะสม

S 200720404

ซึ่งในการประชุมให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามแนวคิดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 15.3 ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูที่ดินและดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ภัยแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุถึงความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ภายในปี พ.ศ. 2573

S 200720401

S 200720406

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo