การปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจทั่วโลก และขานรับนโยบายรัฐ
จากอุทกภัยในภาคเหนือของประเทศไทยในปี 2567 นี้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและแพร่หลายครอบคลุมพื้นที่กว่า 8.6 ล้านไร่ และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยประมาณระหว่าง 3-4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่รายงานจาก The State of the Climate in Asia ปี 2566 ระบุว่า ระหว่างปี 2513 ถึง 2564 เกิดภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ภูมิอากาศ และน้ำในภูมิภาคเอเซียรวม 3,612 ครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 984,263 ราย และสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์
ขณะที่ในระดับโลก ภัยแล้งและคลื่นความร้อนในสหรัฐฯ ในปี 2566 เพียงอย่างเดียว สร้างความสูญเสียมูลค่าถึง 14.5 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงในสหภาพยุโรประหว่างปี 2564 ถึง 2566 ส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 162 พันล้านยูโร
จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศกำลังปรับโฉมเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจต่างเร่งปรับตัวเพื่อให้สามารถเติบโตต่อไปได้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ อย่างไรก็ตามจากแบบสำรวจการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืนประจำปี 2567 โดย ฟูจิตสึ เผยให้เห็นความจริงอย่างชัดเจนว่า แม้ 70% ของผู้บริหารระบุว่า ความยั่งยืนเป็นหนึ่งในความสำคัญอันดับต้นในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่มีเพียง 4 ใน 10 องค์กรเท่านั้น ที่เริ่มนำกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนมาปฏิบัติ และในกลุ่มองค์กรที่นำกลยุทธ์ดังกล่าวมาใช้แล้ว กว่า 7 ใน 10 องค์กร ยังไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้
ในงาน Fujitsu ActivateNow Southeast Asia ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นงานประจำปีของฟูจิตสึที่มุ่งเน้นผสานความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจ โดยมีผู้นำทางธุรกิจชาวไทยกว่า 150 รายเข้าร่วมงาน เพื่อค้นหาเรื่องราวความสำเร็จขององค์กรชั้นนำที่ใช้เทคโนโลยีในการรับมือความท้าทายทางธุรกิจและสร้างคุณค่า เราจึงขอแบ่งปันข้อคิดสำคัญจากงานในบทความนี้
การปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ “ต้องมี”
ธุรกิจในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้โดยเร็ว เนื่องจากภาครัฐได้เริ่มบังคับใช้นโยบายที่เข้มงวด เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้อาจได้รับโทษร้ายแรงและถูกกีดกันจากการค้าระดับโลกและตลาดระหว่างประเทศ
ประเทศไทยกำลังส่งเสริมการนำมาตรการด้านความยั่งยืนมาใช้ในกลุ่มธุรกิจอย่างจริงจัง เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ยุทธ์ศาสตร์ชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2561-2580 ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงปารีส โดยได้ระบุแผนของรัฐบาลที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2573 จากระดับพื้นฐาน และตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
- นโยบาย 30@30 กำหนดเป้าหมายให้การผลิตยานยนต์ของประเทศไทย 30% เป็นยานยนต์ที่ไม่มีการปล่อยก๊าซภายในปี 2573
- คู่มือการรายงานความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย (SET) กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และการกำกับดูแล (ESG) เป็นประจำทุกปีในแบบฟอร์ม 56-1 One Report
- พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เริ่มมีการกำหนดราคาคาร์บอน การซื้อขายการปล่อยมลพิษ และเครื่องมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงผลักดันความพยายามด้านความยั่งยืน
ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง คือผู้นำด้านนวัตกรรมที่ก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในการริเริ่มด้านความยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ฟูจิตสึได้ระบุว่า กลุ่มนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและความสำเร็จ
องค์ประกอบสำคัญสำหรับการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน ได้แก่ ทรัพยากรทางการเงินที่เพียงพอ กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่แข็งแกร่ง ความรับผิดชอบและการกำกับดูแล มาตรวัดความยั่งยืนที่มีคุณภาพสูง และแนวทางปฏิบัติด้านการดำเนินงานที่เหมาะสม
ในงาน Fujitsu ActivateNow Southeast Asia ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ได้มีการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสู่ด้านความยั่งยืน (SX) คือ การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (DX) ช่วยเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน (SX) ให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และการกำกับดูแล (ESG)
จากการสำรวจของ IDC พบว่าการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ 46% ขององค์กร สามารถประมวลผลข้อมูล ESG ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ รวมถึงวัดประสิทธิภาพและผลกระทบของ ESG ได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ 43% ได้พัฒนาความสามารถในการระบุและบรรเทาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ESG ในเชิงรุก และ 41% สามารถทำให้กระบวนการและงานด้าน ESG ปรากฎและโปร่งใสยิ่งขึ้น
ผลสำรวจการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืนประจำปี 2024 ของฟูจิตสึ เปิดเผยว่า มีเพียง 11% ขององค์กรที่เข้าร่วมการสำรวจ ที่สามารถบรรลุความยั่งยืนได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มีลักษณะสำคัญร่วมกันสามประการ คือ การแบ่งปันข้อมูลภายในและภายนอกอย่างมีกลยุทธ์ ความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนที่มีความหมาย และความเข้าใจที่ชัดเจนว่าความยั่งยืนและประสิทธิภาพทางธุรกิจนั้นเป็นประโยชน์ร่วมกัน
ปลดล็อคคุณค่าที่แท้จริงของการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน
แบบสำรวจดัชนีความพร้อมด้านความยั่งยืนในเอเชีย แปซิฟิกของ IDC เมื่อสิงหาคม 2566 พบว่า ธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืนพบว่า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการลดต้นทุนดีขึ้นถึง 50% นอกจากนี้ 40% พบว่าต้นทุนด้านทุนลดลง ในขณะที่ 39% รายงานว่าความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ดีขึ้น และชื่อเสียงของแบรนด์ดีขึ้นตามเป้าหมายที่ต้องการ
ที่สำคัญคือ 37% ประสบความสำเร็จในการลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกิดจากแนวทางปฏิบัติที่ไม่ยั่งยืน รวมทั้งรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ในท้ายที่สุด การปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืนจะทำหน้าที่เป็นตัวลดความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เป็นกุญแจที่สร้างความแตกต่าง และเป็นตัวขับเคลื่อนคุณค่าที่สำคัญในระยะยาวขององค์กร
การผสานกลยุทธ์ความยั่งยืนเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ
การผสานกลยุทธ์ความยั่งยืนเข้ากับแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ เริ่มต้นได้ด้วยการทบทวนวิสัยทัศน์ของบริษัท การบูรณาการหลักการความยั่งยืนเข้ากับวิสัยทัศน์นี้ จะช่วยสร้างแนวทางที่เป็นเอกภาพ ทำให้สามารถเผยแพร่ความสำคัญของความยั่งยืนไปยังทุกฟังก์ชันของธุรกิจและเร่งการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิผล
เป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ นับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ควรกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPIs) และระยะเวลาเพื่อติดตามความคืบหน้า เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนในองค์กรเข้าใจบทบาทของตนในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
ความโปร่งใสเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบและทำให้ทีมงานทำงานสอดคล้องกัน ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (IoT) และบล็อกเชน สามารถเร่งความพยายามด้านความยั่งยืนได้
สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการที่มีความมุ่งมั่นต่อหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ซึ่งมีความจำเป็นต่อการับมือ ทางภูมิทัศน์ด้านกฎระเบียบที่ปรับเปลี่ยนไปและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น
ความมุ่งมั่นของฟูจิตสึ ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลกสะท้อนถึงแนวทางข้างต้น ด้วยการส่งเสริมความไว้วางใจผ่านนวัตกรรม มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคมดิจิทัล และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน
ความมุ่งมั่นนี้เป็นหัวใจสำคัญของภารกิจและขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางธุรกิจของฟูจิตสึ ทั้งนี้ ไม่ควรเผชิญเส้นทางการพัฒนาด้านยั่งยืนที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพียงลำพัง ความเชี่ยวชาญของฟูจิตสึในด้านเทคโนโลยี ข้อมูล และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประสบการณ์ด้านดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน สามารถช่วยธุรกิจก้าวล้ำไปได้
บทความโดย: กนกกมล เลาหบูรณะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- GGC แก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ขยายพันธมิตร-ส่งเสริมความยั่งยืนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
- CEO OR คว้ารางวัล ‘CEO OF THE YEAR 2024’ ด้านความยั่งยืนทางธุรกิจ
- ‘Waste No More สานต่อความยั่งยืน’ ธุรกิจสุกร CPF ฟื้นคืนของเสียสู่ของดีอย่างมีประสิทธิภาพ
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- X (Twitter): https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg