เกณฑ์สำหรับกำหนด “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention) สมัยที่ 7 ซึ่งมีขึ้นในระหว่างวันที่ 10 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ณ ประเทศคอสตาริกา
ได้รับรองเกณฑ์สำหรับกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบกลยุทธ์สำหรับทะเบียน พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ แรมซาร์ไซต์ ดังนี้
เกณฑ์กำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
1) กลุ่ม A เกณฑ์ พื้นที่ชุ่มน้ำประเภทที่เป็นตัวแทนหายากหรือมีลักษณะพิเศษเฉพาะ
- เกณฑ์ 1 : พื้นที่ชุ่มน้ำหนึ่งควรได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญระหว่างประเทศ หากพื้นที่ชุ่มน้ำนั้นประกอบด้วยประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นตัวแทนหายากมีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งพบในเขตชีวภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม
2) กลุ่ม B เกณฑ์ พื้นที่ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ เกณฑ์เกี่ยวกับชนิดพันธุ์และชุมนุมประชากรทางนิเวศ
- เกณฑ์ 2 : เกื้อกูลชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง หรือชุมนุมประชากรที่ถูกคุกคาม
- เกณฑ์ 3 : เกื้อกูลประชากรของชนิดพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่สำคัญ สำหรับการธำรงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ของเขตชีวภูมิศาสตร์หนึ่งโดยเฉพาะ
- เกณฑ์ 4 : เกื้อกูลชนิดพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่อยู่ในระยะวิกฤตหนึ่งของวงจรชีวิตของชนิดพันธุ์นั้น หรือเป็นที่อพยพในระหว่างสภาวะเสื่อมโทรม
3) เกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับนกน้ำ
- เกณฑ์ 5 : ตามปกติเกื้อกูลนกน้ำ 20,000 ตัว หรือมากกว่า
- เกณฑ์ 6 : ตามปกติเกื้อกูลร้อยละ 1 ของประชากรในชนิดพันธุ์หรือสายพันธุ์หนึ่งของนกน้ำ
4) เกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับปลา
- เกณฑ์ 7 : เกื้อกูลสัดส่วนที่สำคัญของสายพันธุ์ ชนิดพันธุ์ หรือวงศ์ของปลาพื้นเมือง ระยะหนึ่งของวงจรชีวิตปฏิสัมพันธ์ของชนิดพันธุ์ และ/หรือประชากรที่เป็นตัวแทนของผลประโยชน์ และ/หรือคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีคุณูปการต่อความหลากหลาย
ทางชีวภาพทั่วโลก - เกณฑ์ 8 : เป็นแหล่งสำคัญของอาหารสำหรับปลาวางไข่ ฟูมฟักตัวอ่อน และ/หรือเส้นทางอพยพ ซึ่งปริมาณสำรองของปลาไม่ว่าภายในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือที่อื่นที่เป็นที่พึ่งพาอาศัยอยู่
5) เกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
- เกณฑ์ 9 : ตามปกติเกื้อกูล ร้อยละ 1 ของประชากรในชนิดพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกเหนือสัตว์จำพวกนกและปลา
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- การสร้างการมีส่วนร่วม-ความตระหนักในพื้นที่ (CEPA) เครื่องมือสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ‘พื้นที่ชุ่มน้ำ’
- คุณค่าและความสำคัญ ‘พื้นที่ชุ่มน้ำบางปู’
- การใช้ประโยชน์ ‘พื้นที่ชุ่มน้ำ’ อย่างชาญฉลาด
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์ : https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- Twitter: https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yx