Environmental Sustainability

พื้นที่ชุ่มน้ำคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อสิ่งมีชีวิต 

ทำความรู้จักพื้นที่ชุ่มน้ำ 2 ประเภท พื้นที่ชุ่มน้ำในแผ่นดิน และพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล เผยบทบาท ความสำคัญ และคุณค่า ต่อสิ่งมีชีวิต 

พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) เป็นลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขัง หรือท่วมอยู่ถาวร และชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร โดยแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของถิ่นที่อยู่อาศัย (Habitat) เป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้

S 197386329

1. พื้นที่ชุ่มน้ำในแผ่นดิน

  • ทะเลสาบ หรือ บึง (Lacustrine)
  • แหล่งน้ำไหล (Riverine)
  • แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (Human-Made)
  • ที่ลุ่มชื้นแฉะหรือ หนองน้ำ (Palustrine)

2. พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล

  • ปากแม่น้ำ หรือ ชะวากทะเล (Estuarine)
  • ทะเล และ ชายฝั่งทะเล (Marine and Coastal)

 

S 1973863277

ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างน้อย 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ หรือคิดเป็น 7.5% ของพื้นที่ประเทศไทย แบ่งเป็นพื้นที่ น้ำจืด 44.8% และเป็นพื้นที่น้ำเค็ม 55.2%

พื้นที่ชุ่มน้ำ มีบทบาท ความสำคัญ และคุณค่า ต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้

  • ใช้ประโยชน์อุปโภค-บริโภค นันทนาการและการท่องเที่ยว
  • เป็นแหล่งอนุรักษ์สายพันธุ์พืชและสัตว์ประจำถิ่น
  • มีความสำคัญทางระบบนิเวศและการอนุรักษ์ธรรมชาติ
  • เป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางธรรมชาติชั้นเยี่ยม
  • เป็นแหล่งทรัพยากรพลังงาน

S 197386327

  • ช่วยกักเก็บธาตุอาหารพืชที่มากับน้ำและตะกอน
  • ช่วยดักจับและกักเก็บสารพิษ
  • เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
  • ป้องกันมิให้น้ำเค็มรุกเข้ามาในแผ่นดิน
  • เป็นเส้นทางคมนาคมในท้องถิ่น
  • เป็นแหล่งน้ำนิ่งช่วยชะลอการไหลของน้ำ
  • เป็นแหล่งเก็บกักน้ำฝนและน้ำท่า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo