Environmental Sustainability

‘คำศัพท์-หน่วยวัด’ เรื่องต้องรู้ของ ‘ก๊าซธรรมชาติ’

ในช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และพยายามหาทางที่จะบรรเทาภาวะโลกร้อนนั้น “ก๊าซธรรมชาติ” ก็เป็นอีกแหล่งพลังงานที่คนหันมาพูดถึงกันมากขึ้น เพราะแม้จะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ถือเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสะอาดกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่น ๆ

การที่จะนำ “ก๊าซธรรมชาติ” มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงนั้น เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ และทำความเข้าใจนั้น รวมถึง คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง และหน่วยวัดปริมาณของเชื้อเพลิงชนิดนี้ ซึ่งในส่วนของคำศัพท์นั้น มีอยู่มากมาย ที่มีจุดเริ่มต้นจากก๊าซธรรมชาติ เช่น LPG (Liquefied Petroleum Gas)  LNG (Liquefied Natural Gas) และ NGV (Natural Gas for Vehicle)

ก๊าซธรรมชาติ

คำศัพท์เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ

  • NG : Natural Gas หรือ ก๊าซธรรมชาติ

ปิโตรเลียมที่พบตามธรรมชาติ อยู่ในสถานะก๊าซ มีส่วนผสมหลัก คือ ก๊าซไฮโดรคาร์บอน มีองค์ประกอบของคาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H)) และมีสิ่งเจือปนเล็กน้อย

  • LNG : Liquefied Natural Gas หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลว

เป็นก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้อยู่ในรูปของเหลวโดยลดอุณหภูมิลงมาที่ -160 องศาเซลเซียส ทำให้แปรสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว และมีปริมาตรลดลงประมาณ 600 เท่า เพื่อประโยชน์ในการขนส่งไปใช้ในที่ไกลจากแหล่งผลิต

  • LPG : Liquefied Petroleum Gas ก๊าซแอลพีจี หรือ ก๊าซหุงต้ม

ปิโตรเลียมเหลว ประกอบด้วยก๊าซโพรเพน และก๊าซบิวเทน ซึ่งก๊าซทั้ง 2 ชนิดนี้ได้มาจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หรือจากการกลั่นน้ำมันดิบจากโรงกลั่นน้ำมัน และถูกทำให้อยู่ในสถานะของเหลว ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน รถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม

ก๊าซธรรมชาติ

  • CNG/NGV : Compressed Natural Gas ก๊าซธรรมชาติอัด
    Natural Gas for Vehicle ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์

เป็นการนำก๊าซธรรมชาติที่มีองค์ประกอบหลัก คือ ก๊าซมีเทน มาเพิ่มความดันประมาณ 200 บาร์ ก่อนเติมลงถังก๊าซรถยนต์เพื่อให้บรรจุได้ปริมาณมาก

  • NGL : Natural Gas Liquid ก๊าซโซลีนธรรมชาติ

ส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในรูปของเหลว โดยมีองค์ประกอบตั้งแต่เพนเทนเป็นต้นไป สามารถนำมากลั่นเป็นน้ำมันเบนซิน และใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

หน่วยวัดของก๊าซธรรมชาติ

หน่วยวัดก๊าซธรรมชาติสามารถวัดได้ทั้งเป็นปริมาตร และค่าความร้อน ซึ่งการวัดค่าความร้อนเป็นการบอกปริมาณพลังงานความร้อน ที่ได้รับจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ดังนั้น ยิ่งก๊าซมีค่าความร้อนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพในการเป็นเชื้อเพลิงให้พลังงานสูง

นอกจากนี้ก๊าซธรรมชาติยังสามารถเปรียบเทียบกับปริมาณของน้ำมัน เช่น Toe (Tonne of oil equivalent) คือ ปริมาณของก๊าซธรรมชาติเป็นหน่วยลูกบาศก์ฟุต ที่ให้พลังงานเท่ากับน้ำมัน 1 ตัน มีประโยชน์ในการสื่อสาร และรายงานค่าต่าง ๆ เช่น ปริมาณสำรอง ปริมาณที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ปริมาณที่ซื้อขาย เป็นต้น เนื่องจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมักเกิดร่วมกัน และถูกนำไปใช้ควบคู่กัน

ก๊าซธรรมชาติ

หน่วยวัดค่าความร้อน

  • kcal (kilo calories) = กิโลแคลอรี
  • kBtu (kilo British thermal unit) = พันบีทียู
  • MJ (Megajoule) = เมกะจูล
  • MMBtu (Million British thermal unit) = ล้านบีทียู

หน่วยวัดปริมาตร

  • scf (Standard cubic feet) = ลูกบาศก์ฟุตมาตรฐาน
  • BCF (Billion standard cubic feet) = พันล้านลูกบาศก์ฟุต
  • MMSCFD (Million standard cubic feet per day) = ล้านลูกบาศก์ฟุตมาตรฐานต่อวัน
  • BCM (Billion cubic metres) = พันล้านลูกบาศก์เมตร

หน่วยวัดมวล

  • MTPA (Million Tonne per Annum) = ล้านตันต่อปี

เปรียบเทียบกับน้ำมัน

  • Toe (Tonne of oil equivalent) = ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

shutterstock 2475855049

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
X (Twitter): https://twitter.com/BangkokInsight
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg

Avatar photo