Environmental Sustainability

ปี 66 ประกาศเพิ่ม ‘พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ’ 21 พื้นที่ใน 20 จังหวัด สู่ต้นแบบ ‘เมือง น่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม’

ปี 66 ประกาศเพิ่ม “พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” 21 พื้นที่ใน 20 จังหวัด สู่ต้นแบบ “เมือง น่าอยู่ คู่อุตสาหกรร” สร้างงานสร้างอาชีพกว่า 300 ล้าน

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาและยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เพื่อสร้างต้นแบบ ‘เมือง น่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม’ เศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมมีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมี ความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

สอดคล้องกับนโยบาย BCG Model (Bio Circular Green Economy) ของกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การหมุนเวียนทรัพยากร และการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ปี 66 ประกาศพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพิ่ม 21 พื้นที่ใน 20 จังหวัด

ปี 2566 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เดินหน้าประกาศพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 ใน 21 พื้นที่ใหม่ 20 จังหวัดใหม่ หลังประสบความสำเร็จในการดำเนินการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 และ 2 รวมเป้าหมายการพัฒนาทั้ง 3 ระยะ 54 พื้นที่ 39 จังหวัด ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

มีพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์การพัฒนาระดับที่ 4 (การพึ่งพาอาศัย) 4 พื้นที่ ระดับที่ 3 (ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร) 14 ที่เหลืออีก 36 พื้นที่อยู่ในข้ันตอนการเตรียมความพร้อมเพื่ออพัฒนาเข้าสู่ระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต่อไป

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

สำหรับผลงานในปี 2565 เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นแหล่งสร้างความสำเร็จในการสร้างงานสร้างอาชีพ คิดเป็นมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นจานวนกว่า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ยกระดับรายได้และพัฒนาความเป็นอยู่ของกลุ่มชาวบ้าน กลุ่มแม่บ้านหรือวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่กว่า 400 กลุ่ม มุ่งสู่ความสาเร็จ 4 มิติของกระทรวงอุตสาหกรรม ครอบคลุมความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน”

กรอ. ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างต่อเนื่องใน 54 พื้นที่ 39 จังหวัด โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อมุ่งเป้าสู่ระดับที่ 5 ภายในปี 2580 เพื่อเป็นกรอบและทิศทาง สู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชนและภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

อีกท้ังสนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรม ดำเนินงานเชื่อมโยงกับ BCG Model ผ่านโครงการต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสีเขียว (GI : Green Industry) โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน (CSR-DIW) เพื่อเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็น ‘เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม’ อย่างย่ังยืนต่อไป”

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

แผน 3 ระยะ 54 พื้นที่ 39 จังหวัด

พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 54 พื้นที่ 39 จังหวัด กำหนดแผนการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะที่ 1 จำนวน 18 พื้นที่ ใน 15 จังหวัด

ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา

  • ระยะที่ 2 จานวน 15 พื้นที่ใหม่ ใน 11 จังหวัดเดิม 4 จังหวัดใหม่

11 จังหวัดเดิม ได้แก่ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ราชบุรี

4 จังหวัดใหม่ ได้แก่ มุกดาหาร สระแก้ว ตาก และตราด

  • ระยะที่ 3 จานวน 21 พื้นที่ใหม่ ใน 20 จังหวัดใหม่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลาพูน ลาปาง พิษณุโลก กาแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุดรธานี อุบลราชธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ และภูเก็ต

พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

เกณฑ์การประเมินสู่พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

เกณฑ์การประเมินความเป็นพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ระดับที่ 1 ‘การมีส่วนร่วม’ (Engagement) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางแผน ดาเนินการตาม แผน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ระดับที่ 2 ‘การส่งเสริม’ (Encourage) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้รองรับต่อแผนการพัฒนาที่ร่วมกาหนดไว้ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่สร้างความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ตนเอง
  • ระดับที่ 3 ‘ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร’ (Resource Efficiency) โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างให้คุ้มค่า จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ เกิดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับชุมชน
  • ระดับที่ 4 ‘การพึ่งพาอาศัย’ (Symbiosis) โรงงานอุตสาหกรรมมีการพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมไป ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่
  • ระดับที่ 5 ‘เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม’ (Happiness) เมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมมีความ ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo