Environmental Sustainability

สผ. จับมือ ปตท.สผ. ขับเคลื่อน ‘ลดก๊าซเรือนกระจก’ และ ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’

สผ. จับมือ ปตท.สผ. ลงนาม MOU ขับเคลื่อน ‘ลดก๊าซเรือนกระจก’ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ จาก ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’

วันที่ 14 มีนาคม 2566 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สำนักงานโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)  หรือ ปตท.สผ.

สผ.

ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เรื่อง ความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ณ Event Hall ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ สผ. เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามดังกล่าว

สผ.

หนุนลดก๊าซเรือนกระจก-ปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การลงนาม MOU ระหว่าง สผ. และ ปตท.สผ. มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานในการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน รวมถึงดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ตอบสนองพันธกิจของประเทศ

สผ.

โดยกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2571) ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคเอกชนที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) และการดักจับ ใช้ประโยชน์และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage หรือ CCUS)

รวมทั้งให้ความสำคัญในการผสานดำเนินงานร่วมกัน ทั้งในประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพ

สผ.

ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินการบนพื้นฐานของการคงไว้ซึ่งระบบนิเวศที่สำคัญ การอนุรักษ์และเพิ่มความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าเพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน การสนับสนุนเป้าหมายการเพิ่มการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย

หรือมาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพอื่น (Other Effectiveness Area-based Conservation Measures: OECMs) ในพื้นที่ของภาคเอกชน  การเชื่อมต่อข้อมูลในเชิงพื้นที่กับระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย เพื่อเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในการขับเคลื่อนตามนโยบายของประเทศ

และในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 และการดำเนินงานตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework)

60970

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo