Environmental Sustainability

‘กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก’ มนุษย์อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ

‘กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก’ เพื่อมุ่งสู่โลก ที่มนุษย์อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย จัดประชุมเผยแพร่ สรุปการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง หรือ COP15 Debriefing: Towards a More Nature-Positive World” ณ ห้องคาร์ลตันแกรนด์บอลรูม ชั้น 9 โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท

กรอบงานคุนหมิง

โดยดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมฯ และกล่าวบรรยายในหัวข้อ “Tackling Biodiversity & Climate Crises Together” เพื่อนำเสนอความสำคัญของการเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ สามารถดำเนินการแยกกันได้

โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน จำนวนประมาณ 250 คน

กรอบงานคุนหมิง

กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP15) ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งจบไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีประเด็นสำคัญคือ การรับรองกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกฉบับใหม่ ต่อจากแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายไอจิซึ่งสิ้นสุดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563

โดยในที่สุดหลังจากได้มีการเจรจาต่อรองนานกว่า 4 ปี กรอบงานโลกฉบับใหม่นี้ได้รับการรับรอง โดยได้ชื่อว่า กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework)

กรอบงานฯ ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์หลัก ที่ต้องการให้บรรลุวิสัยทัศน์ปี 2050 – การอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุภายใน ปี ค.ศ. 2030

กรอบงานคุนหมิง

ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การฟื้นฟู การเพิ่มพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง การลดมลพิษ และการกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานซึ่งมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ การบริหารจัดการพื้นที่เกษตร ประมง ในรูปแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
  3. กลไกการผลักดัน ให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกระแสหลัก เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน การเสริมสร้างสมรรถนะ

กรอบงานคุนหมิง

กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ

กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก นับว่ามีความสำคัญเพราะเป็นกรอบที่ประเทศภาคีจะนำไปถ่ายทอดสู่การดำเนินงานในระดับประเทศ ผ่านการจัดทำเป้าหมายระดับชาติ (national targets) กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 5  หรือเรียกว่า NBSAP ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ซึ่ง สผ. ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของอนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ การขับเคลื่อนการดำเนินงาน

ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศในระยะต่อไปต้องการแรงผลักดันจากภาครัฐในการกำหนดนโยบายต่างๆ และที่สำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม (transformative change) พร้อมๆ กับการรับรองกรอบงานคุณหมิง-มอนทรีออลฯ ที่ประชุม CBD COP 15

ได้มีการนำเสนอชุดตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามเป้าประสงค์และเป้าหมาย ซึ่งประเทศภาคีสามารถเลือกมาใช้ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ ควบคู่ไปกับการจัดทำ NBSAP

กรอบงานคุนหมิง

การประชุมครั้งนี้ ดร. จิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สผ. ได้ถ่ายทอดผลลัพธ์จากการประชุม CBD COP 15 ช่วงที่ 2 ให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับทราบ

โดยเฉพาะรายละเอียดกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก รวมถึงช่องว่างและโอกาสของประเทศไทยในการถ่ายทอดกรอบงานระดับโลกไปสู่การดำเนินงานระดับประเทศ รวมถึงประเด็นสำคัญที่ได้มีการหารือในการประชุม CBD COP 15

DSC 1210

นอกจากนี้ ยังมีเวทีการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นจากนักวิชาการ ในประเด็นการหารือที่น่าสนใจต่อเนื่องจากการประชุม CBD COP 15 ได้แก่ ความท้าทายภายใต้เป้าหมายการอนุรักษ์ 30×30, เทคโนโลยีดิจิทัลของข้อมูลลำดับพันธุกรรม (Digital Sequence Information: DSI), โอกาสและความท้าทายในการดำเนินงานของภาคการเงินและการธนาคารเพื่อสนับสนุนการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม, และวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง (citizen science) กับการสนับสนุนกรอบงานฯ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo