Environmental Sustainability

‘DOW’ เปิดเวทีเสวนา แนะผู้ประกอบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ รับเทรนด์ผู้บริโภค

‘DOW’ เปิดเวทีเสวนา ชี้เทรนด์ผู้บริโภคใส่ใจสินค้าเพื่อความยั่งยืน แนะผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มุ่งสู่ Net Zero

เวทีเสวนา Fast Track to the Net Zero” ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เผยผลสำรวจผู้บริโภคทั่วโลก มีแนวคิดให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น

โดย ดาว ประเทศไทย ในฐานะบริษัทวัสดุศาสตร์ที่เน้นนวัตกรรมและความยั่งยืน ได้แชร์ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างสรรค์ solution และการปรับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่าให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมแนะผู้ประกอบการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อตอบโจทย์ทิศทางผู้บริโภคฉลาดเลือก

DOW

ขณะที่กลุ่มพันธมิตร Alliance to Plastic Waste เน้นย้ำการจัดการพลาสติกเหลือใช้อย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งผนึกความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

ผลสำรวจทางการตลาดระดับโลก โชว์ผู้บริโภคใส่ใจด้านความยั่งยืนมากขึ้น

ในงานเสวนา Fast Track to the Net Zero มีการเสวนาในหัวข้อย่อยที่น่าสนใจมากหัวข้อหนึ่ง คือ Winning the Smart Consumers :  Sustainable Path to Superior Growth” โดย ชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประเทศไทยและมาเลเซีย, Kantar, Worldpanel Division หนึ่งในผู้ร่วมวงเสวนา

ได้เปิดเผยถึงรายงานการสำรวจผู้บริโภคของบริษัทวิจัยทางการตลาดระดับโลกอย่าง Kantar ซึ่งจัดทำร่วมกับพาร์ทเนอร์และเก็บข้อมูลผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่องกว่า 88,000 คน จาก 26 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพื่อเจาะหาข้อมูลเชิงลึก (insight) ของผู้บริโภคในด้านความยั่งยืน เชื่อมโยงไปยังการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค

DOW

ซึ่งจากรายงานพบว่าผู้บริโภคกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของประชาการโลกในปี 2030 โดยจากการสำรวจพบว่าวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ยิ่งเร่งให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากกว่าที่เคย

โดยสิ่งที่ผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมีความกังวลหลักๆ คือ ประเด็นเรื่องภาวะโลกรวน หรือ Climate change ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะพลาสติก และมลพิษทางอากาศ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความตั้งใจจะดำเนินการเพื่อลด carbon footprint และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเติม ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลได้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมด้านความยั่งยืน

“ผู้ผลิตและค้าปลีกจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการ (ด้านความยั่งยืน) ณ ตอนนี้ เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” ชีวานนท์กล่าว

DOW

แนะผู้ประกอบการ ปรับกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero

ในโอกาสนี้ ผู้ประกอบการอย่าง ดาว ในฐานะบริษัทวัสดุศาสตร์ระดับโลกที่เน้นนวัตกรรมและความยั่งยืน ได้แบ่งปันความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างสรรค์ solution และการปรับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ซึ่งนอกจากตอบสนองผู้บริโภคที่สนใจด้านความยั่งยืนแล้ว ยังเป็นการสร้างตลาดสินค้าเพื่อความยั่งยืนให้เพิ่มมากขึ้น โดย จิรวาเรศ พึ่งสุจริต ผู้อำนวยการฝ่ายขาย Home & Personal Care, Dow Consumer Solutions ASEAN and Australia & New Zealand กล่าวว่า จากการศึกษา พบว่าแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคจะหันมาให้ความสำคัญกับการสินค้าที่ได้มาซึ่งวัตถุดิบในการผลิตที่มีความยั่งยืน  เช่น บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถ รีไซเคิล ได้

DOW

ทั้งนี้ ในส่วนของ ดาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่อยู่รอบๆ ตัวผู้บริโภค จึงลงทุนเม็ดเงินจำนวนมากเพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะให้ความสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้วัตถุดิบน้อยลง และผลิตภัณฑ์สามารถย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อม หรือ สามารถรีไซเคิล ได้ รวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานสะอาดในการผลิต

โดย ดาว ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง คือ การใช้พลังงานสีเขียวในการผลิตให้ได้ ถึง 60% ในอีก 2 ปีข้างหน้า

จิรวาเรศ แนะว่า “ผู้ผลิตควรเริ่มทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และให้มีความยั่งยืน โดยเริ่มจากกระบวนการผลิตให้เป็น green process เพื่อลด Carbon Footprint ใช้วัตถุดิบ (feedstock) จากธรรมชาติ เป็นผลิตภัณฑ์ biodegradable ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ไปจนถึงแหล่งผลิต”

DOW

เน้นย้ำการจัดการพลาสติกเหลือใช้อย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวคิด Circular Economy

นิโคลัส โคลเลช รองประธานโครงการ Alliance to End Plastic Waste ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกเพื่อการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ชี้ให้เห็นว่า บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนนั้น นอกจากวัสดุในการผลิตแล้ว ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การจัดการหลังการใช้งานเพื่อความยั่งยืน ซึ่งหลักการที่สำคัญ คือ ทำให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านั้นเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้เกิดการใช้ซ้ำหรือ รีไซเคิล ไม่ให้พลาสติกเหลือใช้ทั้งหลายหลุดรอดออกออกไปสู่สิ่งแวดล้อม

โดยกลุ่ม Alliance to End Plastic Waste เป็นความร่วมมือของเหล่าบริษัทผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์รวมถึงผู้ประกอบการในธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน ร่วมเป็นสมาชิกและทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดความรู้ความเข้าใจและการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ Alliance to End Plastic Waste เองนั้น มีการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติก ร่วมกับองค์กรอื่นๆ กว่า 40 โครงการทั่วโลก โดยโครงการที่ประสบความสำเร็จ อาทิ โครงการวังหว้า หรือ Wangwa Model จังหวัดระยอง ในประเทศไทย ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในฐานะชุมชนต้นแบบที่นำขยะมาใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจร นำไปสู่การจัดการขยะแบบยั่งยืน

นอกจากนั้นยังมีโครงการจัดการขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิล ในบาหลี อินโดนีเซีย และโครงการเก็บขยะพลาสติกในมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์

“การผสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน” นิโคลัสกล่าว

DOW

ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ชุบชีวิตขยะพลาสติก สร้างมูลค่าเพิ่ม

ด้าน อีเจ หลิว Senior Sales Leader, Packaging and Specialty Plastics, Dow Southeast Asia/ Australia New Zealand กล่าวในวงเสวนาว่า Dow เดินหน้าพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่ทำเป็นบรรจุภัณฑ์สามารถ รีไซเคิล ได้ โดยนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งมีคุณภาพดีแต่ใช้วัตถุดิบน้อยลง มองหาวัตถุดิบทางเลือก เช่น พลังงานหมุนเวียน ที่ช่วยลด carbon footprint รวมถึงพยายามจำกัดการปล่อยคาร์บอนจากทุกหน่วยการผลิตของบริษัทฯ ทั่วโลก

โดย case ที่ Dow ประสบความสำเร็จในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน case หนึ่งในประเทศไทย คือ การออกแบบถุงบรรจุข้าวสารสำหรับขายปลีก ที่ร่วมกับพันธมิตรกลุ่ม CP ซึ่งบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวที่ไม่เพียงแต่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุชนิดเดียว หรือ mono material ที่สามารถรีไซเคิล ได้ง่าย แต่ยังลดความหนาลงถึง 20% ทำให้ใช้เม็ดพลาสติกที่เป็นวัตถุดิบน้อยลง แต่ยังคงความแข็งแรงในการป้องกันสินค้า ซึ่งการลดใช้วัตถุดิบก็สามารถลด carbon footprint ลงได้

6 8

นอกจากนั้น Dow ยังพัฒนาหลากหลายบรรจุภัณฑ์ภายใต้คอนเซ็ปท์เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ NET Zero อาทิ ฟิล์มหุ้มขวดพลาสติกที่ยังบางลง แต่เหนียวและแข็งแรง ถุงรีฟิลที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตน้อยลง และยังสามารถรีไซเคิลได้เป็นต้น

ในทัศนะของอีเจ พลาสติกเป็นวัสดุที่มีประโยชน์ที่สุดในการทำบรรจุภัณฑ์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงผลกระทบของขยะพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันจัดการแก้ไข ซึ่งหลัก Circular Economy คือการหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ เป็นแนวทางที่มีประสิทธฺภาพในการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน

“ถ้าเราสามารถชุบชีวิตให้ขยะพลาสติก ทำให้พลาสติกเหลือใช้หมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีกเรื่อยๆ ก็จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล อีกทั้งยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย” อีเจ กล่าวสรุป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo