Telecommunications

‘ดีแทค’ ชู ‘ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม’ ฟื้นฟูประเทศ ก้าวข้าม ‘วิกฤติโควิด-19’

ดีแทคชู “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม” ฟื้นฟูประเทศก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19 ย้ำภารกิจใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล สู้ความเหลื่อมล้ำในวันที่โครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป

ดีแทคบอกเล่าภารกิจในช่วงวิกฤติโควิด-19 ผ่านแคมเปญโฆษณา ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม ที่มุ่งส่งเสริมกลุ่มคนเปราะบางให้เข้าถึง และสามารถใช้ดิจิทัล เพื่อเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียม กับกลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม

พร้อมชี้ให้ทุกภาคส่วนในสังคมเห็นถึงความรุนแรง และผลกระทบเชิงลึกของปัญหา ช่องว่างทางดิจิทัล ที่กำลังซ้ำเติมโครงสร้างสังคมไทย ที่กำลังบอบช้ำด้วยปัญหาความเหลื่อมล้ำ และยังต้องเปลี่ยนผ่านไปให้ทันกับอัตราเร่งของดิจิทัลทั่วโลก

dtac contribution 25112021

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคมีความเชื่อว่า โทรคมนาคมสามารถดำเนินบทบาทนำ ในการสนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัล (digital inclusion) ผ่าน 3 ภารกิจ คือ

  • สัญญาณเน็ตเพื่อทุกคน (Good For All Connectivity)
  • การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (Affordability Service)
  • การเพิ่มทักษะดิจิทัล (Digital Skills)

ร่วมฟื้นเศรษฐกิจพลิกชีวิตชุมชน มุ่งสร้างทักษะดิจิทัลในเยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อย โดยดีแทคส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่เท่าเทียมและยั่งยืน พร้อมรับกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต

2.dtac safe internet

K-SHAPED RECOVERY ภาคการศึกษา: โฉมหน้าความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในเด็กไทย

ภาคการศึกษาเป็นอีกหนึ่งภาค ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง เมื่อ นักเรียนอีกราว 1.2 ล้านคนทั่วโลกต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนถูกสั่งปิดเพื่อควบคุมโรคระบาด นักเรียนไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติสุขภาพครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่อื่นของโลก

ข้อมูลจาก มูลนิธิคีนัน แห่งเอเชียระบุว่า มีนักเรียนไทยกว่า 15 ล้านคนในทุกระดับชั้นต้องหยุดเรียน เพราะโรงเรียน และสถานศึกษาถูกสั่งปิด ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วงปี 2563-2564 ที่ผ่านมา เป็นวิกฤติใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ประเทศไทยมีระบบการศึกษาแบบสมัยใหม่

ที่สำคัญ ไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์อย่างมีคุณภาพ เพราะสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขของที่นักเรียนแต่ละคนต้องเผชิญมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพการเรียนออนไลน์

ไม่ว่าจะเป็น ความพร้อมของโรงเรียนในการปรับตัว การออกแบบหลักสูตร และวิธีการสอน (pedagogy) ทักษะการสอนของครู ความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมไปถึง การที่เด็กบางคนไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ และอินเทอร์เน็ตได้

1.dtac 2000 sims

จากข้อมูลสถิติแห่งชาติปี 2562 ยังมี เด็กมากถึง 14.7% หรือกว่า 2.4 ล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต สำหรับเด็กที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้นั้น กว่า 94% ของเด็กเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางมือถือเป็นหลัก ในขณะที่เข้าผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็บท็อปเพียงแค่ 55 % และ 16% ตามลำดับ และมีครัวเรือนยากจน (รายได้ต่ำกว่า 200,000 บาท/ปี) เพียง 3% เท่านั้น ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

ส่วนที่เหลือล้วนแต่ต้องใช้สมาร์ทโฟนในการท่องโลกออนไลน์ กล่าวได้ว่า สำหรับครัวเรือนที่มีฐานะยากจน หรือในที่นี้ เราเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า เป็นขาล่างของตัว K ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์มือถือ แทบจะเป็นช่องทางเดียวที่พวกเขาทำได้

ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ดีแทคได้สนับสนุน 2,000 ซิม พร้อมแพ็คเกจเน็ตอันลิมิเต็ดความเร็ว 4 Mbps แก่กลุ่มเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ ของ กสศ. นำร่องในเขตกรุงเทพฯ สำหรับการเรียนออนไลน์เป็นการเร่งด่วนลดอุปสรรคการเรียนรู้ เตรียมพร้อมหาทางออกระยะยาวในยุคเรียนออนไลน์ มุ่งสู่เป้าหมายความเท่าเทียมทางดิจิทัล (Digital inclusion) และลดการปิดกั้นแม้เกิดสถานการณ์โควิด-19

เมื่อ “การเชื่อมต่อ” ผู้สูงวัยคือ “การเชื่อมต่อ” ปัจจุบันกับอนาคต

ในหนังสือเรื่อง The Industries of the Future โดยอเล็ก รอสส์ (Alec Ross) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชื่อดังทำนายไว้ว่า การแพทย์ และ บริการการสาธารณสุข จะเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกดิสรัปต์ และมีนวัตกรรมใหม่ออกมามากที่สุด โดยความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีดิจิทัล และ เทคโนโลยีชีวภาพ จะเปลี่ยนโฉมหน้าบริการสุขภาพ ในแบบปฏิวัติ เลยทีเดียว

แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่สมควรจะได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางการแพทย์มากที่สุด กลับได้ดอกผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุผลว่า ผู้สูงวัยเป็นกลุ่มคน ที่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้น้อยที่สุด

อันที่จริงไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพเท่านั้น ความเหลื่อมล้ำดิจิทัล ทำให้ผู้สูงวัยต้องเสียโอกาสใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น บริการการด้านการเงิน การซื้อสินค้าและบริการ กิจกรรมบันเทิง และสันทนาการ การสั่งและส่งอาหาร

นับตั้งแต่ปี 2548 ประเทศไทยเป็น สังคมสูงวัย (Aging Society) อย่างเป็นทางการตามนิยามของสหประชาชาติไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อสัดส่วนจำนวนประชากรที่อายุเกิน 60 ปีคิดเป็นสัดส่วน 10% ของประชากรทั้งประเทศ

ไม่เพียงเท่านั้น คาดการณ์ว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่เข้าสู่ สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และจะเข้าสู่สู่ภาวะ สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ใน 2578 เมื่อประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของจำนวนประชากรทั้งหมด

โจทย์สังคมสูงวัยไม่ใช่โจทย์ของผู้สูงวัยเท่านั้น แต่เป็นเรื่อง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทั้งหมด ที่สังคมต้องรับผิดชอบดูแลร่วมกัน

ดังนั้น สังคมสูงวัยจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของคนทุกรุ่น และส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม

254235261 245168854265705 6520179982091295935 n

ความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงวัยแบ่งได้เป็น 2 มิติ ได้แก่ การเข้าถึง (access) และ การปรับใช้ (adopt) ซึ่งประเทศไทยมีปัญหาในทั้งสองมิติ

สำหรับการเข้าถึง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ว่า แม้กลุ่มผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว โดยเติบโตจาก 2.2% ในปี 2556 มาเป็น 10.3% ในปี 2561 แต่หากเทียบกับผู้สูงวัยอีก 90% หรือประมาณ 10 ล้านคน ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตได้เลย

ผู้สูงวัยส่วนใหญ่เข้าถึงอินเทอร์เนตผ่านทางสมาร์ทโฟน เป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้สูงวัยใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต กล่าวคือเป็นจำนวนมากถึง 93.7% ทิ้งห่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอันดับสองที่ 12.2% สมาร์ทโฟนจึงแทบจะเป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้สูงวัยใช้ท่องอินเทอร์เน็ตในเวลานี้

ดีแทคให้ความสำคัญกับการ ติดอาวุธดิจิทัล ให้ผู้สูงวัยผ่านโครงการ ดีแทคเน็ตทำกิน ในภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ เพื่อมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาผู้สูงวัย ในการสร้างเสริมทักษะ และความรู้ในการค้าขายออนไลน์ การแสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจดิจิทัล

รวมทั้ง การให้ความรู้เพื่อรับมือกับภัยเสี่ยงบนโลกออนไลน์ให้ผู้สูงวัยด้วย และให้ความช่วยเหลือผู้สูงวัยมากกว่า 8,000 รายจากทีมดีแทคคอลเซ็นเตอร์ ให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ ผ่านแอปพลิเคชันของโรงพยาบาลรัฐบาล

เศรษฐกิจของ “คนตัวเล็ก ที่ต้องใจใหญ่” ในยุคโควิด-19

การสำรวจ Thai Digital Generation 2021 ระบุว่า การเข้าถึง และ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลคือ หัวใจสำคัญของการปรับตัวในกลุ่มผู้ประกอบการทุกกลุ่ม รวมถึง ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีความเปราะบางสูง

บุคคลที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า จะได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจทางลบน้อยกว่า (คิดเป็น 60% ของผู้ที่สูญเสียรายได้) เมื่อเทียบกับผู้ใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำ (คิดเป็น 72% ของผู้ที่สูญเสียรายได้)

260480547 253629380086319 5547655784255679666 n

ขณะที่การประเมินสถานการณ์ของ สสว. (ในช่วงกลางปี 2563) พบว่า หากเศรษฐกิจไทยถดถอยประมาณ 1% ธุรกิจในกลุ่ม MSME จะถดถอยราว 3.3% หรืองานศึกษาของ สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่เคยประเมินไว้ว่า หากเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ถดถอย 5.5-6 % มูลค่าธุรกิจรวมของ MSME ก็จะหดตัวราว 6-6.5% เป็นต้น

นอกจากนี้ กลุ่มคนเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ และชนกลุ่มน้อย  ก็ยังดิ้นรนทำมาหากินในฐานะผู้ประกอบการตัวเล็กในระบบเศรษฐกิจด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงโควิด-19 ดีแทคได้เร่งนำ โครงการดีแทคเน็ตทำกิน สอนผู้ประกอบการตัวเล็ก ให้เข้าถึงช่องทางขายออนไลน์เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วยสร้างรายเพิ่มได้ให้มากกว่า 50% และผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ไปด้วยกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo