Technology

ตายแล้ว ‘ข้อมูลดิจิทัล’ ไปไหน? ผลสำรวจเผย 61% หวั่นตัวตนดิจิทัลโดนขโมยหลังเสียชีวิต

แคสเปอร์สกี้ เผยผลสำรวจพบ ผู้ใช้ 61% เชื่อว่าข้อมูลประจำตัวของผู้เสียชีวิต มีความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรมข้อมูลประจำตัวมากเป็นพิเศษ เพื่อใช้สร้างตัวตนดิจิทัลโดยใช้ AI

จากรายงาน Digital 2024 Global Overview Report ที่จัดทำโดยบริษัท Kepios พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 95% ใช้โซเชียลมีเดียทุกเดือน โดยมีผู้ใช้รายใหม่ 282 ล้านคน ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2566 ถึงกรกฎาคม 2567 เมื่อผู้ใช้โต้ตอบออนไลน์กันมากขึ้น และร่องรอยทางดิจิทัลก็ขยายตัวขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว มรดก และการใช้ตัวตนดิจิทัลอย่างมีจริยธรรมจึงมีความเกี่ยวข้องมากขึ้น

ตัวตนดิจิทัล

จากการศึกษาของแคสเปอร์สกี้ฉบับนี้พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่ (61%) เชื่อว่าตัวตนของผู้เสียชีวิตมีความเสี่ยงจะถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวเป็นพิเศษ เนื่องจากมักไม่มีใครคอยติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่ได้โพสต์ออนไลน์ไว้

ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่ง (58%) เห็นด้วยว่า การปรากฏตัวออนไลน์ของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว สามารถสร้างใหม่ได้โดยใช้ AI ในประเด็นนี้ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติแตกต่างกันไป โดย 35% เชื่อว่าการสร้างตัวตนดิจิทัลของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วผ่านรูปภาพ วิดีโอ หรือสิ่งที่ระลึกอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ในขณะที่ 38% ไม่เห็นด้วย

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ (67%) มั่นใจว่า การเห็นภาพหรือเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว อาจทำให้คนใกล้ชิดรู้สึกไม่สบายใจได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ 43% มั่นใจว่าไม่มีกำหนดเวลาในการค้นหาภาพ วิดีโอ หรือบันทึกเสียงทั้งหมดที่เคยเผยแพร่ทางออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

มาตรการเดียวที่ผู้ใช้สามารถทำได้ เพื่อควบคุมร่องรอยทางดิจิทัลของตนเองหลังความตาย คือ การระบุแนวทางที่ต้องการไว้ในพินัยกรรม ผู้ใช้ 63% เห็นด้วยว่า ผู้ที่เปิดเผยตัวทางออนไลน์ ควรระบุในพินัยกรรมว่าจะต้องทำอย่างไรกับข้อมูลและบัญชีโซเชียลของตน

digital world graph 2

นางสาวแอนนา ลาร์คินา ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์เนื้อหาในเว็บ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ปัญหาการจัดการร่องรอยทางดิจิทัล มักถูกมองข้ามในกิจกรรมออนไลน์ประจำวัน อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจเน้นย้ำประเด็นสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากตระหนักดีว่า การขโมยข้อมูลประจำตัวอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อผู้ใช้หรือคนที่ตนรักได้

เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงเหล่านี้ จึงควรใช้มาตรการเชิงรุกที่ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัว และปกป้องข้อมูลประจำตัวดิจิทัล การทำเช่นนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าการมีตัวตนออนไลน์ของตนจะปลอดภัยและได้รับความเคารพ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

แนะแนวทางเสริมสร้างความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ 

  • ใช้โซลูชันความปลอดภัยที่ทันสมัย เพื่อตรวจสอบว่าแอปข้อมูลส่วนบุคคลใดกำลังประมวลผลอยู่ และยังจำกัดการรวบรวมข้อมูลเมื่อจำเป็นได้อีกด้วย
  • อัปเดตระบบปฏิบัติการ เบราว์เซอร์ และซอฟต์แวร์ความปลอดภัยที่ใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอ การอัปเดตนี้มักรวมถึงแพตช์สำหรับช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่อาชญากรไซเบอร์อาจใช้ประโยชน์ได้
  • บริการออนไลน์บางรายการไม่ได้ระบุชัดเจนว่ารวบรวมข้อมูลใดและใช้ข้อมูลนั้นอย่างไร การปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่อง Privacy checker เพื่อตรวจสอบความเป็นส่วนตัวออนไลน์ จะช่วยจำกัดปริมาณข้อมูลที่แชร์ออนไลน์ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo