Digital Economy

ปี 2030 เดินทางด้วยไฮเปอร์ลูป-มีหุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน

แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ (Dassault Systèmes) ร่วมกับบริษัทวิจัยอิสระ CITE Research เผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในเมืองใหญ่ พบว่าภายในปี 2030 เทคโนโลยีจะเข้ามาเติมเต็มและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้บริโภคทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ

การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง (Hyperloop) เปลี่ยนบ้านธรรมดาให้กลายเป็นสมาร์ทโฮม (Smart Home) การใช้จ่ายผ่านอุปกรณ์โมบาย (Mobile Payment) และแผนการประกันสุขภาพส่วนบุคคล (Personalized Preventive Health Plan)  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความต้องการที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาท และอาจจะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้คนในอนาคต

smart home 3920905 640

สอดคล้องกับคำตอบของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม จากผลสำรวจถึงประสบการณ์ใช้งานเทคโนโลยีในอนาคตที่ผู้บริโภคคาดหวังพบประเด็นสำคัญคือ ภายในปี 2030 การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานตามรสนิยมของผู้บริโภค เป็นเรื่องที่แบรนด์ควรตระหนัก ทั้งการใช้ชีวิตภายในบ้าน การเดินทาง สุขภาพ และการจับจ่ายใช้สอย

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหมวดหมู่ที่น่าสนใจ อาทิ เรื่องความปลอดภัย การใช้พลังงาน ความสะดวกสบาย การเข้าถึง การออม และ ประกันชีวิต ที่คาดหวังว่าจะมอบประโยชน์การใช้ชีวิตของพวกเขาจากเทคโนโลยีอื่นๆ

ประสบการณ์ใช้งานตามรสนิยมของกลุ่มมิลเลนเนียลมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ชาวมิลเลนเนียลอายุระหว่าง 18-34 ปี ให้ความสำคัญกับการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ส่วนบุคคล ดังนั้นเทคโนโลยีควรนำเสนอรูปแบบการใช้งานให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตนเองและตลอดเวลา ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 35 ปีขึ้นไป คาดว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย

ในปี 2030 บ้านจะยิ่งปลอดภัยและประหยัดพลังงานมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 70% กล่าวว่าในอนาคตจะเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถรีโมทเพื่อควบคุมและตรวจสอบ การสั่งงานด้วยเสียง และวางระบบภายในบ้านแบบสมาร์ทโฮม หรือ บ้านอัจฉริยะ ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 49% เลือกใช้แม่บ้านอัจฉริยะหรือหุ่นยนต์แม่บ้าน

smart home 2769210 640

ระบบไฟฟ้าและการเชื่อมต่ออัจฉริยะจะยกระดับระบบขนส่งมวลชนและยานยนต์ ช่วยให้ประหยัดต้นทุน ลดเวลาในการเดินทาง และสร้างความปลอดภัยให้กับผู้เดินทางบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 70% คาดการณ์ว่าจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถไฮบริดในอนาคต

ขณะที่ กว่า 50% คาดว่าจะเลือกใช้ระบบขนส่งความเร็วสูงหรือรถไฟความเร็วสูง (Hyperloop) ด้านผู้ตอบแบบสอบถาม 38% คาดว่า จะมี “แท็กซี่ลอยฟ้า” เปิดให้ใช้บริการ ขณะที่ผู้ขับขี่กว่า 75% เชื่อว่าจะได้รับประสบการณ์ขับขี่รถยนต์ที่ดีขึ้นในอนาคต เช่น เทคโนโลยีเพื่อการวางแผนการเดินทางหรือกำหนดเส้นทางและแผนการควบคุมการจราจรในเขตเมือง อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังไม่ยินดีที่จะเปิดให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ

1514

แผนการประกันสุขภาพส่วนบุคคลและการติดตั้งเครื่องมือสำหรับดูแลสุขภาพภายในบ้าน หรือโฮมทรีทเมนท์ (Home Treatment) จะใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 80% คาดว่าเทคโนโลยีจะช่วยจัดการสุขภาพได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคและช่วยให้พวกเขาใช้ชีวิตได้นานขึ้น

โดย 83% มองว่าแผนประกันสุขภาพที่ตรงกับพฤติกรรมหรือโภชนาการจะตอบโจทย์มากที่สุด 81% มองว่าจะซื้อเครื่องมือในการดูแลสุขภาพมาติดตั้งหรือนำมาใช้ที่บ้านเอง และ 80% คาดว่าจะมีระบบบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์เปิดให้ใช้บริการ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่าเทคโนโลยี เช่น แอพพลิเคชั่นสำหรับวินิจฉัยสุขภาพที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองหรือที่บ้านอุปกรณ์สวมใส่ และศัลยกรรมกระดูกเทียมจะถูกนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต

1475

ร้านค้ารูปแบบเดิมจะยังมีอยู่ สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มความสะดวกในการชำระเงินและบริการต่างๆ ในร้านค้า ผู้ตอบแบบสอบถาม 84% เชื่อว่าการเปิดให้ชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือและการเพิ่มความสะดวกสบายด้านการส่งของได้ทุกที่ทุกเวลาช่วยเร่งให้อุตสาหกรรมซื้อขายสินค้าร้อนแรงมากยิ่งขึ้น ขณะที่ 45% เชื่อว่าการพัฒนาการซื้อขายผ่านร้านค้าเสมือนจริงให้สำเร็จภายในปี 2030 ยังไกลเกินเอื้อม

ผลการศึกษาฉบับนี้จัดทำขึ้นโดย แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ ผ่านระบบถาม-ตอบแบบออนไลน์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามชาวอเมริกันกว่า 1,000 คน ระหว่างวันที่ 19-29 พฤศจิกายน 2561

Avatar photo