Digital Economy

ถอดบทเรียน ‘กูเกิล’พัฒนาทัศนคติการทำงานเพื่อความก้าวหน้า

ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยี ผู้คน และธุรกิจต่างๆ หากองค์กรใดสามารถปรับตัวได้เร็วและไม่หยุดนิ่ง ก็จะอยู่รอดในช่วงเปลี่ยนผ่านได้!

หัวใจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรปรับตัวและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้ โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ก็คือ “คน” ที่ไม่เพียงแต่เป็นคนเก่ง แต่ต้องเป็นผู้ที่มองเห็นโอกาสอยู่เสมอ ไม่ย่อท้อที่จะเรียนรู้และพัฒนา

bhQ 02y1

“ทรู ดิจิทัล พาร์ค” จัดงานเสวนา Time for Thailand #6 หัวข้อ “Inside culture of success led by innovation and growth mindset” หยิบยกเรื่อง “Growth Mindset” หรือทัศนคติในการทำงานเพื่อความก้าวหน้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ “คน” ที่จะเป็นกุญแจสำคัญนำพาองค์กรให้สามารถปรับตัว ยืดหยุ่น และพร้อมเผชิญกับความท้าทายในอนาคตได้

ชูชาติ อาลีคาน Industry Manager จาก Google ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ได้มาถ่ายทอดแนวคิดและทิศทางในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  โดยเล่าว่าเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว กูเกิลได้เริ่มแตกตัวเป็นบริษัทย่อยๆ เพื่อปลูกฝัง Growth Mindset ทำได้ทั่วถึงทั้งองค์กร แนวทางนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า และโปร่งใสมากขึ้น ซึ่งจะมี KPI เป็นตัวชี้วัด นั่นคือทุกคนจะต้องมีการเติบโตหรือการพัฒนาที่ดีขึ้น

K SsJoqr
ชูชาติ อาลีคาน Industry Manager จาก Google

สำหรับองค์กรที่เริ่มต้นพัฒนาด้าน Growth Mindset สิ่งที่บุคลากรต้องมีเป็นพื้นฐานคือ ทัศนคติแห่งการถ่อมตน คือการรู้และยอมรับในความสามารถของตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อพร้อมจะเรียนรู้พัฒนาศักยภาพของตนเพิ่มเติม สิ่งนี้เป็นทัศนคติที่ทำให้เกิดการเติบโต ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ก้าวไปยังจุดที่สูงขึ้น

“การทำให้ทุกคนมีความถ่อมตน ไม่ใช่เรื่องง่ายในองค์กรใหญ่ๆ แต่ถ้าทำได้ จะก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่า เราจะทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้อย่างไร จะช่วยให้คนทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นได้”

อีกประเด็นสำคัญขององค์กรที่มี Growth Mindset คือ การยอมรับความผิดพลาดได้ ควรมีการคิดล่วงหน้าไว้ว่า หากโปรเจคล้มเหลว จะเป็นอย่างไรหรือจะทำอย่างไร และองค์กรควรทำให้พนักงานรู้สึกว่า ความล้มเหลวเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ เมื่อล้มเหลวแล้ว ให้เรียนรู้ แก้ไข เพื่อก้าวไปต่ออย่างรวดเร็ว เพราะโอกาสไม่เคยรอใคร

gpmmXCjR

สำหรับ Google นอกจากการมี Growth Mindset ของคนและองค์กรแล้ว ปัจจัยภายนอกที่ผลักดันให้กูเกิลพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือ ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งทำให้เกิดโอกาสมหาศาลสำหรับกูเกิลด้วย ผู้บริโภคชาวไทยมีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเพียงแค่บริการพื้นฐาน ซึ่งความต้องการเหล่านี้ เป็นแรงผลักดัน และเป็นโอกาสที่กูเกิลจะพัฒนาบริการมาเติมเต็มพฤติกรรมของผู้บริโภคได้

เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน จึงมีบริการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของตลาดในประเทศไทยตามมาด้วย เช่น แผนที่เดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์ และ
ฟรีอินเทอร์เน็ตในสถานที่สำคัญ เป็นตัวอย่างการปรับให้เข้ากับตลาด ซึ่งต้องอาศัย Growth Mindset ในการก้าวไปกับตลาดและอยู่ให้ได้นาน

กูเกิลไม่ได้โฟกัสที่การแข่งขันเป็นอันดับแรก แต่สิ่งสำคัญคือ “ผู้ใช้” ต้องมีประสบการณ์การใช้งานที่ดี แล้วอย่างอื่นก็จะตามมา

เมื่อกล่าวถึง Growth Mindset กับการนำมาใช้ในวิธีการทำงานของพนักงานกูเกิลนั้น  ชูชาติ กล่าวว่าจะมีการตั้งคำถามในทุกสิ่งที่ทำว่า “เรารู้จักลูกค้าดีหรือยัง มีโซลูชั่นตอบโจทย์หรือไม่” รวมทั้งการใส่ใจกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ เช่น เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อเรียนรู้จากข้อมูลและคำติชมของผู้ใช้ และนำไปพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดีมากยิ่งขึ้น หรือจากบริการค้นหาข้อมูลพื้นฐาน ก็เพิ่มเติมมาเป็น Google Translate ที่พัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วน Google Photos เป็นทั้งที่เก็บภาพและเครื่องมือในการเสิร์ชที่ดีด้วย เป็นต้น

DsvbD2Ga

การพัฒนาบุคลากรของกูเกิลก็เกิดขึ้นตลอดเวลา หากพนักงานคิดว่ายังขาดทักษะและต้องการพัฒนา ก็จะมีหลักสูตรให้เลือกหลายโครงการ

ส่วนผู้นำเองก็ถูกประเมินด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ได้รับข้อมูลเพื่อพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น มีระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ และแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน มีการทำงานเป็นทีม เปิดเผยเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการ มีความไว้วางใจ ซึ่งถือเป็นการสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในองค์กร

“สิ่งสำคัญคือ การยึดมั่นในพันธกิจ การก้าวไปไกลกว่าขีดจำกัดที่เป็นไปได้ เป็นที่มาของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาบริการให้ตอบสนองผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น ผู้ก่อตั้งกูเกิลคือ แลร์รี่ เพจ ได้ให้ข้อคิดถึงการทำให้ดีขึ้น 10 เท่าไม่ใช่แค่ 10%

dMaWbrW4

Avatar photo