Digital Economy

ของขวัญปีใหม่ กฎหมายดิจิทัลผ่านการพิจารณาวาระ 1 สนช. รวม 6 ฉบับ

สิบปีไม่สาย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดเผยว่า ร่างพรบ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ฉบับปรับปรุงโดยคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และผู้แทนภาคเอกชน และร่างพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) ที่รัฐบาลเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านการพิจารณารับหลักการของ สนช. แล้ว

1546157397077 1
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

โดยจากนี้จะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นหนึ่งคณะพิจารณาร่างทั้งสองฉบับ กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน 45 วัน ให้เวลาแปรญัตติภายใน 15 วัน หลังเสร็จสิ้นวาระสภาทั้งสองฉบับ คณะกรรมาธิการประชุมนัดแรกทันที ล่าสุดที่ประชุมมอบนางเสาวณี สุวรรณชีพ เป็นประธาน

สำหรับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีหลักการสำคัญที่กำหนดให้การเก็บรวมรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน อีกทั้งต้องระบุวัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลไปใช้ และการดูแลข้อมูลให้ปลอดภัย โดยมีข้อยกเว้นจำนวนหนึ่งเช่นในกรณีการแพทย์ ความปลอดภัยสาธารณะ เป็นต้น

สำหรับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับนี้มีการกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจะทำให้มีเอกภาพและความชัดเจน ในการปฏิบัติภารกิจ ส่วน พ.ร.บ. สำคัญอีก 4 ฉบับ ซึ่งที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีการลงมติในวาระ1 รับหลักการเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ด้วยแล้วทุกฉบับ ประกอบด้วย

– ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction)
– ร่างพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
– การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมาตราในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพิจารณาจัดทำเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป และ
– ร่างพระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระบวนการจัดทำชุดกฎหมายดิจิทัลครั้งนี้ หลายฉบับรอกันมานับสิบปี และเมื่อประกอบกันแล้วนับได้ว่ามีความสมบูรณ์แบบ เป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จะส่งผลให้ประเทศไทยมีความพร้อมสูงที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Transformation) ได้ตามมาตรฐานสากล

Avatar photo