Digital Economy

นักวิชาการ ม.มหิดล ห่วงวิกฤติช่วงวัย เพิ่มทักษะทางดิจิทัล แนะปรับตัวรับปีใหม่ ‘อยู่กับ COVID-19’ อย่างมีสติ

นักวิชาการ ม.มหิดล ห่วงวิกฤติช่วงวัย แนะปรับตัวและเพิ่มทักษะทางดิจิทัล สร้างความเท่าเทียมให้พื้นที่ดิจิทัล เป็นพื้นที่ของทุก Generation รับมือกับวิถีชีวิตใหม่ที่กิจกรรมปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบออนไลน์เกือบ 100% เพื่ออยู่ร่วมกับ COVID-19 ให้ได้ในระยะยาว

อีกไม่กี่วันก็จะสิ้นปี ถึงเวลา count down ต้อนรับปีใหม่ สองปีที่ผ่านมา COVID-19 ได้ทิ้งบทเรียนต่าง ๆ ไว้ให้ทุกคนบนโลกนี้ ต้องเรียนรู้และปรับตัวมากมาย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน และวัคซีนที่ไม่ใช่ สามเข็มจบ เหมือนจะส่งสัญญาณว่า การต่อสู้ระหว่างคนกับ COVID-19 คงไม่จบลงง่าย ๆ

ทักษะทางดิจิทัล
DIGITAL LITERACY concept blurred background 3d render illustration

วัคซีนที่ไม่ใช่ สามเข็มจบ รวมถึง นิวนอร์มอล หรือ วิถีชีวิตใหม่ อาจไม่เพียงพอ แต่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์กันใหม่ (New Paradigm) เพื่ออยู่ร่วมกับ COVID-19 ให้ได้ในระยะยาว

วิกฤติช่วงวัย ต้องมีการปรับตัวเพิ่มทักษะทางดิจิทัล

รองศาสตราจารย์ ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญประชากรศาสตร์ด้านการวิเคราะห์ช่วงวัย (Generation) กล่าวว่า วิกฤติ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อทุกช่วงวัย ทำให้ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อให้สามารถไปต่อได้ในยุค New Normal

ไม่ว่าจะเป็น Silent Generation (รุ่นทวด) Baby Boomer Generation (รุ่นปู่-ย่า-ตา-ยาย) Generation X (รุ่นพ่อ-แม่) Generation Y (รุ่นพี่-น้า/อา) และ Generation Z (รุ่นลูกอายุประมาณไม่เกิน 17 ปี)

ทักษะทางดิจิทัล

จากการที่ กิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ต้อง ปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบออนไลน์เกือบ 100% ตามมาตรการรักษาระยะห่าง พบว่าประชากรในกลุ่มที่ไม่สามารถปรับตัวได้ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด

เริ่มตั้งแต่ Silent Generation ที่มักพบว่าถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว เหมือนเป็น Island Generation เนื่องจากส่วนใหญ่ยังขาด ทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy) เช่นเดียวกับ Baby Boomer Generation ซึ่งอยู่ในวัยเกษียณมีบางส่วนที่ยังปฏิเสธการใช้เทคโนโลยี และบางส่วนใช้เทคโนโลยีแต่ขาดความเท่าทัน โดยพบว่ามักตกเป็นเหยื่อของข่าวลวงจากโลกโซเชียล

ในขณะที่ Generation X ซึ่งเป็น Sandwich Generation ที่อยู่ตรงกลางของทุกช่วงวัย โดยมีบางส่วนอยู่ในวัยทำงานช่วงใกล้เกษียณ ซึ่งเป็นถึงผู้บริหาร หรือผู้ประกอบการ เปรียบเสมือนหัวเรือใหญ่ขององค์กร หรือ Critical Generation อาจพาองค์กร หรือกิจการล่มได้ หาก ไม่มีการปรับตัววางแผนล่วงหน้าแบบ Proactive ที่ดีพอ เพื่อรองรับสังคมแบบ New Normal

ทักษะทางดิจิทัล

นอกจากนี้ ใน Generation Y ซึ่งถึงแม้ไม่ได้เกิดในยุคดิจิทัล แต่ก็โตมาพร้อมการเติบโตของโลกดิจิทัล ในบางรายที่เรียนมาในสาขาที่ไม่มีพื้นฐานทางดิจิทัล อาจประสบปัญหาในการประกอบวิชาชีพ จึงต้องมีการปรับตัวด้วยการ Upskill หรือเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัลเพิ่มเติมถึงจะสามารถไปต่อไปได้อย่างราบรื่น

ในขณะที่ Generation Z ซึ่งถึงแม้เกิดในยุคดิจิทัล และท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง เรียกได้ว่าเป็น Digital Native แต่ในทางกลับกัน ก็อาจตกเป็นเหยื่อของโลกโซเชียลได้อย่างง่ายดาย จากการขาดความเท่าทันได้ เนื่องจากเป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตยังไม่มากพอ

สถานการณ์ COVID-19 ดึงเอากิจกรรมของทุกคน ทุก Generation เข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัล ซึ่งมีทั้งด้านมืด และด้านสว่าง กระบวนทัศน์ที่สำคัญ คือการทำให้ทุกคนดำเนินชีวิตในโลกดิจิทัลอย่างชาญฉลาด ทำมาหากินได้ อยู่ร่วมกันได้ ไปพร้อมกันได้ ร่วมงานกันได้ ช่วยเหลือกันได้ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเหลือใครเป็นเหยื่อ

ทักษะทางดิจิทัล

“สร้างต้นทุนทางสังคมและให้พื้นที่ดิจิทัล เป็นพื้นที่ของทุก Generation อย่างเท่าเทียมและแท้จริง” รองศาสตราจารย์ ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลเพิ่มเติมของช่วงปีเกิดของแต่ละ Generation

Silent Generation (รุ่นทวด) เกิดช่วงปี ค.ศ. 1928-1945

Baby Boomer Generation (รุ่นปู่-ย่า-ตา-ยาย) เกิดช่วงปี ค.ศ. 1946-1964

Generation X (รุ่นพ่อ-แม่) เกิดช่วงปี ค.ศ. 1965-1980

Generation Y (รุ่นพี่-น้า/อา) เกิดช่วงปี ค.ศ. 1981-1996

Generation Z (รุ่นลูก) เกิดช่วงปี ค.ศ. 1997-2012

Generation Alpha (กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่) เกิดช่วงปี ค.ศ. 2010-2021

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight