Digital Economy

‘เรืองโรจน์’ ร่วมสัมมนา ‘STRC’ ถกประเด็นแก้ปัญหา ‘ช่องว่างทักษะ’ แรงงาน

The Stanford Thailand Research Consortium จัดสัมมนาออนไลน์  หัวข้อ “Future Thailand – Innovation in Education and Workforce Development’  ร่วมถกกลยุทธ์แก้ปัญหา “ช่องว่างทักษะ” พัฒนาทักษะแรงงาน และอนาคตประเทศไทย ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษาและการพัฒนากำลังคน

The Stanford Thailand Research Consortium หรือ “STRC”  จัดงานสัมมนาออนไลน์ ถ่ายทอดผลการศึกษาเบื้องต้นในโครงการวิจัย Innovative Teaching Scholars (ITS) พร้อมสำรวจมุมมองของภาคอุตสาหกรรม ในการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

kkk

งานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Future Thailand-Innovation in Education and Workforce Development” โดยมีผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ คณาจารย์และนักวิจัยในโครงการ ITS จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ร่วมกับผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทย มุ่งเน้นการอภิปราย เรื่องกลยุทธ์ ในการยกระดับความพร้อมของแรงงานในประเทศไทย

ตลอดจนการพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อสนับสนุนบุคลากรด้านการศึกษา สร้างการมีส่วนร่วม และเตรียมพร้อมเยาวชนของชาติให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพในอนาคต

ทางด้านมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้รับเกียรติผู้ร่วมอธิปรายโดย ศ.แชรี แชพเพิร์ด ริชาร์ด วีลแลนด์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ ดร. ลาติเซีย บริทอส คาแวคแนโร ศาสตราจารย์พิเศษ จากสถาบันการออกแบบ แฮซโซ่ แพลทเนอร์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการด้วย

ดร.ลาติเซีย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทั่วโลกต่างกำลังเผชิญกับปัญหาด้านความไม่สอดคล้อง ระหว่างการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา กับทักษะ และวิธีคิด (Mindset) ที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพในอนาคต

ความพิเศษของโครงการ ITS คือ การมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรทางการศึกษาไทย ที่สนใจปรับมุมมองสู่การศึกษายุคใหม่ และผู้นำเชิงนวัตกรรมจากภาคองค์กรระดับประเทศ ซึ่งกำลังมองหาคนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะสร้างความก้าวหน้าในองค์กรไทยในอนาคต

โครงการวิจัยของ ITS กำลังติดอาวุธให้แก่คณาอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยจำนวน 50 คน ด้วยการทดลองการนำแนวทางการสอนแบบใหม่ ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษา เพื่อมุ่งสร้างความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้อาจารย์เหล่านั้นให้เป็นผู้นำที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมงานและสถาบันของพวกเขาได้ทำในสิ่งเดียวกัน

ขณะที่ ศ.แชรี แชพเพิร์ด เป็นผู้นำในการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของโครงการ ที่มีต่อผู้สอน และวิธีการสอนของอาจารย์ผู้ร่วมโครงการ โดยศ.แชรี รายงานว่าข้อมูลทั้งจากการสำรวจ และการสัมภาษณ์ ชี้ให้เห็นว่า อาจารย์กลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการ ITS ประสบความสำเร็จ ในการทดลองในการนำกลยุทธ์แนวทางการสอนในรูปแบบใหม่ไปใช้ อาทิ เปิดโอกาสให้นักศึกษา มีอิสระในการตัดสินใจมากขึ้นในห้องเรียน ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับอาจารย์บางส่วน

S 87285789 1

แต่แนวทางนี้กลับเพิ่มการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ สำหรับงานวิจัย ITS ในอนาคตจะมุ่งสำรวจต่อไปว่า อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ จะยังคงช่วยสนับสนุนกันและกัน ในการยกระดับชั้นเรียนของพวกเขาสู่มิติใหม่หรือไม่

ตลอดจนสำรวจไปถึงระดับที่เขาเหล่านั้นสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ในสถาบันการศึกษาของตน เพื่อลองนำแนวทางการสอนแบบใหม่นี้ไปใช้สอนในวิชาของตนเอง

นอกจากนี้ นักวิจัยในโครงการ ITS กำลังทำงานร่วมกับบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ บุคลากรสายอาชีพเฉพาะทาง (Early-career professional) และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยระบุทักษะเฉพาะที่จำเป็นเต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพในอนาคต ตลอดจนมุ่งหาแนวทางเพิ่มเติมว่าโครงการ ITS นี้จะสามารถช่วยเหลือเหล่าอาจารย์ในการบูรณาการทักษะเฉพาะเหล่านั้นให้เข้ากับหลักสูตรของตนเองได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร

“เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของช่องว่างหรือความทับซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างวิธีการวางแนวคิดของผู้สอนถึงสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียนในการเรียนรู้ และทักษะที่บริษัทไทยเห็นความสำคัญว่าพนักงานในอนาคตควรมี จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ในวันนี้ ที่เราต้องการพันธมิตรจากภาคองค์กรธุรกิจเข้ามามีส่วนในการร่วมหารือด้วยกัน” ดร. ลาติเซีย เสริม

341711
กานติมา เลอเลิศยุติธรรม

ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ ยังรวมถึง กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และกลุ่มอินทัช วิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และ เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KASIKORN Business-Technology Group: KBTG) ร่วมแบ่งปันมุมมองจากภาคธุรกิจ ในเรื่องทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในอนาคต และการพัฒนากำลังคนในด้านความสามารถทางการเรียนรู้และความสามารถเชิงนวัตกรรมในประเทศไทย ที่กำลังเป็นที่ต้องการในวงกว้าง

กานติมา จากเอไอเอส ให้ความเห็นว่า ในบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลกระทบในทุกมิติอย่างรวดเร็วและรุนแรง สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการพัฒนาศักยภาพใหม่ ๆ ให้กับคนไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศให้ก้าวหน้า และแข่งขันได้ในเวทีดิจิทัลระดับโลก และนี่คือ “พันธสัญญาที่สำคัญยิ่ง” ในการร่วมกันสร้างโอกาสเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งของคนไทย

ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรภาคการศึกษา ตลอดจนภาคเอกชน คือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งงานวิจัยภายใต้ the Stanford Thailand Research Consortium โดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจากมหาวิทยาสแตนฟอร์ด ทำงานร่วมกันกับศูนย์พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (Southeast Asia Center หรือ SEAC) ในประเทศไทย ถือเป็นก้าวสำคัญในการวางรากฐานเพื่อยกระดับความรู้ของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มขีดความสามารถของคนไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต

3417128999
เรืองโรจน์ พูนผล

ด้าน เรืองโรจน์ พูนผล กล่าวถึงการสนับสนุนงานวิจัยครั้งนี้ว่า จากการส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับสถาบันศึกษาและองค์กรวิจัยชั้นนำระดับประเทศ ทางกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป สามารถช่วยสนับสนุนด้านการสร้างนวัตกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยจนถึงการผลิต ตลอดจนการรวบรวมองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยียุคใหม่ให้มีทักษะที่สำคัญในงานด้าน Data Science, AI, OCR, และ Blockchain

การสนับสนุนแรงงานรุ่นใหม่นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องสร้างพลัง และส่งเสริมนวัตกรรมให้กับผู้สอน ซึ่งเป็นผู้สร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงสำหรับนักเรียนและผู้เรียนรู้ เช่น การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อันเป็นหัวใจสำคัญของโครงการ ITS ที่ the Stanford Thailand Research Consortium มุ่งหวังจะสร้างให้เกิดขึ้นผ่านงานวิจัยเชิงวิชาการ

ขณะที่ วิทการ จาก เอพี ไทยแลนด์  กล่าวว่า การเตรียมนักศึกษาให้มีความพร้อมในการทำงานในยุคปัจจุบันนั้น นอกจากนักศึกษาเองจะต้องเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพของตนเองแล้ว พวกเขายังต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยสามารถที่จะหาข้อมูลที่ดีได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีความสามารถ ในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะทำให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา ประสบความสำเร็จได้ในยุคที่เศรษฐกิจโลกขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยมีโครงการ AP Open House ช่วยเสริมสร้างแนวทางที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้พัฒนาทักษะดังกล่าว

341716777
วิทการ จันทวิมล

โครงการ Innovative Teaching Scholars program เป็นโครงการริเริ่มของ STRC เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่สำคัญสำหรับอนาคตของประเทศไทย

ภายใต้ความร่วมมือของ STRC มีโครงการวิจัยและผลการศึกษาของสแตนฟอร์ด มากกว่า 12 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญในหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent – AI) มาช่วยสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้น โครงการลดการตัดไม้ทำลายป่าพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยในเขตจังหวัดน่านของประเทศไทย รวมทั้งการสร้างข้อมูลเชิงลึกขององค์กรโดยใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) และการทำความเข้าใจนวัตกรรมผ่านการพัฒนาความรู้บุคลากร

The Stanford Thailand Research Consortium (STRC) ตั้งอยู่ที่ Stanford’s Office of the Vice Provost and Dean of Research ซึ่งบริหารโดยศูนย์พัฒนาวิชาชีพแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford Center for Professional Development) โดยได้ร่วมมือกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (Southeast Asia Center: SEAC) ภายใต้การสนับสนุนเงินทุนจาก เอไอเอส เอพี (ไทยแลนด์) และธนาคารกสิกรไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo