Digital Economy

ถอดรหัสพฤติกรรมฟังเพลงผู้บริโภคยุคดิจิทัล

ปัจจุบัน เป็นยุคที่กลุ่มคนมิลเลนเนียล หรือเจนวายเป็นผู้บริโภคหลักในทุกอุตสาหกรรม เพราะเป็นเจนเนอเรชันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทย โดยมีจำนวนประมาณ 19 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประเทศ

นอกจากขนาดตลาดที่ใหญ่แล้ว คนกลุ่มนี้มีรายได้ค่อนข้างสูงแม้จะอยู่ในวัยหนุ่มสาวอายุเพียง 19-34 ปี และมีอัตราการใช้จ่ายต่อรายได้ที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนเจนเนอเรชันก่อนหน้าในช่วงอายุเดียวกันอีกด้วย

adult 2693054 1280

จึงไม่น่าแปลกใจที่เจนวายจะได้รับความสนใจจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมเพลง แก่นของคนรุ่นนี้คือ ความชอบ ความสนใจ และไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าความชอบของคนเจนเนอเรชันนี้มีแตกต่างจากรุ่นก่อนๆ อย่างชัดเจน เห็นได้จากเพลงฮิตของยุคนี้ ที่มีความหลากหลายทั้งแง่ของแนวเพลง และแนวดนตรี ต่างจากสมัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่ที่เพลงฮิตส่วนมากจะเป็นแนวป๊อป แถมมีให้เลือกฟังไม่กี่แนว

ธนาคารยูโอบี (ไทย) ร่วมกับ JOOX แพลตฟอร์มบริการสตรีมเพลง ถอดรหัสพฤติกรรมฟังเพลงผู้บริโภคเจนวาย กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีดิจิทัลมากที่สุด โดยนายยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดเผยว่า “ในยุคที่วันพรุ่งนี้ เราไม่ได้ใช้ชีวิตเหมือนพ่อแม่อีกต่อไป ดนตรีก็เช่นกัน มีความแตกต่างหลากหลายไปตามแต่ละสมัย ดนตรีไม่ได้แค่สะท้อนรสนิยมของเรา แต่ยังสะท้อนตัวตนของเราอีกด้วย”

แต่ก่อนจะมาดูว่าเจนวายมีความชื่นชอบในเพลงแนวไหนกันบ้าง เราลองมาย้อนรอยปรากฏการณ์ด้านดนตรีที่มีอิทธิพลต่อสังคมในแต่ละยุคกันก่อน

ดนตรีต่างยุค สะท้อนตัวตนคนหลากเจเนอเรชั่น

ปรากฏการณ์เพลงไทยใน ยุค 90 ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของเพลงไทยสากลบ้านเรา เพราะไม่ว่าจะแนวป๊อปแดนซ์ ป๊อปใส หรือเพลงร็อคก็ล้วนโด่งดังเป็นพลุแตก

จนกระทั่งการเข้ามาของค่ายเพลงอินดี้ Bakery Music จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงนอกกระแสที่โด่งดังมากของยุค เพราะความแปลกใหม่ของศิลปิน และแนวดนตรีที่ทางค่ายได้ทำออกมา ถือเป็นการสร้างตำนานอีกหน้าหนึ่งให้กับวงการเพลงไทย

นอกจากนี้ การถือกำเนิดของ Fat Radio ก็ทำให้วัยรุ่นในยุค 90 มีทางเลือกในการฟังเพลงมากขึ้น

ข้ามมาในปี 2000 จุดกำเนิดของ เทรนด์ฟีเจอร์ริ่งเพลงข้ามสายพันธุ์ ระหว่างลูกทุ่งและลูกกรุง โดยมีเพลง แฟนจ๋า ของ ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นต้นกำเนิดของการฟีเจอร์ริ่งข้ามแนวเพลง

image003 1

ปี 2010 เกิดปรากฏการณ์เครื่องดนตรีเทรนด์ใหม่ อูคูเลเล่ ฟีเวอร์ จากนักร้องไทยคือ สิงโต นำโชค หรือนักร้องสาวอย่าง ลุลา ที่นำเครื่องดนตรีชิ้นนี้เข้ามาใช้ในเพลง ซึ่งกระแสความนิยมครั้งแรกๆ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นมานั้น ก็น่าจะมาจากการที่คนในบ้านเราได้เห็นนักดนตรีต่างประเทศใช้เครื่องดนตรีชิ้นนี้บรรเลงเพลงของเขา ไม่ว่าจะเป็น Jack Johnson และ Jason Mraz

ปีถัดมา (2011) เป็นปีที่มีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ในวงกว้าง สื่อโซเชียลมีเดีย กลายเป็นเวทีในการแสดงออกทางความสามารถที่ให้ทั้งโลกได้ประจักษ์สายตา และยังเป็นหนทางในการพาตัวเองไปพบเจอกับโอกาสในการทำงานในวงการบันเทิงที่หลายคนใฝ่ฝัน กำเนิดศิลปินล้านวิว ที่โด่งดังมาจากการลงคลิปร้องเพลง จนกลายเป็นศิลปินมืออาชีพที่มีสังกัด เช่น วงรูม 39 กับเพลง หน่วง ถือเป็นรูปแบบใหม่ของวงการเพลงที่ศิลปินไม่ต้องผ่านค่ายเพลง แต่สามารถสื่อสารกับคนฟังได้เลย

ในเวลาไม่ห่างกัน วงการเพลงลูกทุ่งก็มีศิลปินคนแรกที่มียอดคนดูในยูทูบกว่าหนึ่งร้อยล้านวิวคือ เพลง ขอใจเธอแลกเบอร์โทร โดย หญิงลี ศรีจุมพล

ปี 2014 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของเทศกาลดนตรีในบ้านเรา พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลกับยอดจำหน่ายบัตร คนดูเริ่มเบื่อที่จะฟังแต่เพลงอย่างเดียว อย่างน้อยๆ ในงานนั้นจะต้องมีอาหาร แบ็กดรอป ไม่ก็จุดถ่ายรูปเท่ๆ ให้ได้เป็นการจารึกว่าเจ้าตัวได้มาเยือนอีเวนต์นั้นนี้แล้ว เราจึงเริ่มเห็น Music Festival ในปีหลังๆ กลายเป็น Lifestyle Festival ที่ไม่ได้มีดีแค่เรื่องดนตรีสด แต่กลับมีองค์ประกอบอื่นๆ มาผสม อาทิ ดีเจ อาหาร เครื่องดื่ม เวิร์กช็อปงานฝีมือต่างๆ ไปจนถึงการแต่งตัวมาประชันกันอันเป็นธรรมเนียมที่รู้กันในหมู่ festivalgoers (ซึ่งไม่รู้ว่าถือกำเนิดเกิดมาจากใคร นี่อาจจะเป็นอีกวิถีของเหล่า escapists ก็เป็นได้ จะแต่งตัวก็เอาให้สุดแบบปกติประจำวันไม่แต่งไรงี้)

ปี 2017 ถือเป็นการกลับมาของดนตรีสายอินดี้ในประเทศไทย เป็นอีกครั้งที่สาวกดนตรีนอกกระแสมีบทบาทในวงการดนตรีไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ศิลปินที่เกิดใหม่และเกิดจากเวทีนอกกระแสกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง อย่าง The Toys กับเพลงฮิต ก่อนฤดูฝน หรือวงดนตรีแนวซินธ์ป๊อป TELE x TELEXs กับเพลง Shibuya

toys
ภาพ: IG thetoysthetoysthetoys

ปี 2018 กระแส เพลงแร็พ กลายเป็นปรากฏการณ์ในเมืองไทย จากเพลงใต้ดินเต็มไปด้วยคำหยาบคาย ปัจจุบันได้กลายเป็นแนวเพลงเมนสตรีมสำหรับคนกลุ่ม Mass หลังจากรายการแนว Rap Battle ออกอากาศกันไปไม่กี่ซีซั่น ก็กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมาก เพราะคนในโลกโซเชียลหลายคนก็ได้ชมความสามารถของแร็ปเปอร์รุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง จนทำให้รายการมีฐานคนดูมั่นคง เราจึงจะเห็นศิลปินแร็พใหม่ๆ แจ้งเกิดในวงการ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาทิ ปู่จ๋านลองไมค์ UrboyTJ  ILLSLICK Twopee Southside  LazyLoxy และ OG-ANIC มีเพลงฮิตติดกระแสมากมาย สามารถไต่อันดับชาร์ตเพลงขึ้นมาอยู่ในอันดับบนของชาร์ตเพลงแต่ละสำนักได้

สถิติล่าสุดจาก JOOX ประจำปี 2018 พบว่าแนวเพลง แร็พ ฮิปฮอป อาร์แอนด์บี ครองใจคนเจนวายด้วยยอดสตรีมเพลงที่มีอัตราเติบโตสูงสุดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5% ในปี 2017 เป็น ร้อยละ17% ในปี 2018 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถยืนยันความแรงของกระแสของแนวเพลงแร็พ ฮิปฮอป อาร์แอนด์บี ว่าเป็นแนวเพลงที่กำลังมาสำหรับมิลเลนเนียลในยุคนี้ที่แท้จริง

แม้ว่าวงการ “เพลงไทย” หลายทศวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาด้านเนื้อหาและเนื้อเพลงที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าคุณจะคุ้นเคยกับแนวเพลงป๊อปแดนซ์ ป๊อปใสของยุค 90 หรือจะชื่นชอบเพลงเป็นซินธ์ป๊อปที่ Rebirth กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งจากยุค 80 หรือจะเป็นแนวแร็พ ฮิปฮอป อาร์แอนด์บีที่มีเนื้อหาโดนใจ สะท้อนสังคม

แต่ไม่ว่าแนวเพลงแบบไหนจะโดนใจ You Are What You Listen เราฟังอะไรเราก็เป็นคนแบบนั้น เพลงไม่ได้แค่สะท้อนรสนิยมของเรา แต่ยังสะท้อนตัวตนของเราอีกด้วย

Avatar photo