COLUMNISTS

เบื้องหลัง ‘7 รมต.ภูมิใจไทย’ บอยคอตครม.

Avatar photo
543

ปรากฎการณ์ ปม 7 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย บอยคอต  พร้อมใจยื่นหนังสือลาประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอัคารที่ผ่านมา ได้รับความสนใจ ไม่แพ้ไปจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โคไมครอน ที่กำลังผุดขึ้นมาอีกระลอก ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อรายใหมทะลุหมื่นรายมาหลายัวนแล้ว จนทำให้เกิดความวิตกว่ามันมาอีกแล้วหรือโอไมครอน หรือสายพันธุ์อะไรกันแน่!

กลับมาที่ 7 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย บอยคอต เข้าร่วมประชุมครม.  เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  บอกเลย “นายแน่มาก” เรื่องแบบนี้ มันไม่ได้บังเอิญแน่นอน พฤติกรรมหรือการกระทำที่เกิดขึ้น แต่มันเป็นเรื่องที่สะสมมานาน ก็เพราะช่วงที่ผ่านมา “เจอลักไก่” ดันโครงการก่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2-3 ครั้ง ครั้งนี้จึงไม่ใช่ครั้งแรก และทุกครั้งเข้าครม.ก็ถูกเบรกมาแล้ว

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

 

 

หากย้อนกลับไปดูเหมือนเรื่องนี้ เมื่อปลายปี 2563  มีข้อเคลือบแคลง ครม.เบรกหัวทิ่มมาแล้ว กรณีเสนอต่อสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อขยายสัญญาสัมปทานให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ออกไปอีก 30 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ออกไปเป็นปี 2602 แลกกับเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย

และถ้าจำกันได้ เมื่อประมาณกันยายน 2563 ปรีดี ดาวฉาย ถึงกับต้องลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นเพราะ ปรีดี ไม่อยากทำเรื่องผิดกฎหมาย การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปอีก 40 ปี ทั้งๆ ที่เหลือเวลาในสัญญาเดิมอีกนับ 10 ปี ที่สำคัญ ดันสั่งให้ใช้ คำสั่ง ม. 44 ในการอ้างต่อสัญญา (‘ยุทธพงศ์’ ชี้เหตุ ‘ปรีดี’ ลาออก ถูกบีบต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว) 

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

มาวันนี้ก็ยังข้อเป็นถกเถียงเดิม ๆ เรื่องเดิม ๆ คนเดิมผลักดันเดิม ๆ แสดงว่าที่ผ่านมา แค่เก็บเรื่องไว้รอสถานการณ์หรืออย่างไร แทนที่จะกลับไปจัดการกับข้อคัดค้านที่เกิดขึ้น หรือว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างที่กระทรวงมหาดไทย พยายามสอดเข้ามาในที่ประชุมครม.บ่อยครั้ง หรือว่าสถานการณ์ตอนนี้ มันต้องทำ เหลือเวลาน้อย หรืออย่างไร? ทำวันนี้ก็ไม่เป็นไร แต่ต้องคิดถึงความเดือดร้อนของประชาชนในวันข้างหน้าด้วย

งานนี้ดูกันยาว ๆ แต่บอกเลยมันถึงขั้นเกมประลองอำนาจของรัฐบาลแน่นอน เรียกว่าเป็นเกมวัดพลังของพรรคร่วม ก่อนแยกย้ายไปสู่สนามเลือกตั้งรอบหน้านั่นเอง!! บอกเลยรอบหน้าตัวใครตัวมัน

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ปม 7 รัฐมนตรีภูมิใจไทย บอยคอต

เม้าท์กันสนั่น ปมสำคัญทำให้ 7 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย บอยคอต การประชุมครม. ก็เพราะหัวเรือใหญ่เจ้ากระทรวงหูกวาง อย่าง “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” ควันออกหู เหลือบไปเห็น วาระครม. ที่ถูกส่งให้เป็น “วาระเพิ่มเติม” เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 เกี่ยวกับการต่อสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เสนอโดยกระทรวงมหาดไทย

วาระสำหรับการประชุมครม. ประกอบด้วย “วาระเพื่อทราบ  วาระเพื่อพิจารณา และวาระจร”

หลักการประชุมครม. เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมครม.ทุกวันอังคาร

วันพฤหัสบดี เลขาธิการครม.ต้องออกวาระประชุมครม.รอบใหม่ มีทั้งวาระเพื่อทราบ และวาระพิจารณา

วันศุกร์ หากมีวาระด่วน ก็จะบรรจุเป็นวาระเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อส่งให้กับคณะรัฐมนตรี ศึกษาข้อมูลก่อประชุม

แต่หากมีเรื่องด่วนๆเข้ามา ก็จะบรรจุเป็นวาระเพิ่มเติม ภายในวันศุกร์ เพื่อให้รัฐมนตรีได้ศึกษาข้อมูลก่อนประชุมครม.วันอังคาร

วันจันทร์ หากมีเรื่องด่วน ๆ อีก ส่วนนี้เจ้าของเรื่องมักหอบเข้าที่ประชุมครม.เป็น “วาระจร” เรื่องมักถูกแจก หรือไม่แจกให้กับรัฐมนตรี

ปกติการประชุมครม. ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้กระจาย หรือผู้คนรู้มากนัก ส่วนใหญ่มักอาศัยช่องว่างเอาเข้าที่ประชุมเป็น “วาระจร” เสียส่วนใหญ่ เพราะหากเป็นวาระปกติทั่วไปอาจเกิดการรั่วไหลได้ ที่สำคัญถ้าเรื่องที่ไม่อยากให้วิพาวิจารณ์ อยากให้ผ่านที่ประชุม เรียกง่าย ๆ เรื่องผลประโยชน์มักเข้าแบบ“วาระจร” ทั้งนั้น

ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเอง ก็ถูกยัดเข้ามาแบบวาระจร หลายครั้งมาแล้วเช่นกัน กลายเป็นเรื่องถกเถียงไม่เห็นด้วยในที่ประชุมครม.มาหลายครั้งแล้ว  หากยังจำกันได้ ปรีดี ดาวฉาย ก็ออกเพราะเรื่องอย่างนี้มาแล้ว

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

ฉะนั้น “วาระเพิ่มเติม” ที่ถูกส่งเข้ามาในการประชุมครม. เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เป็น วาระไม้เบื่อ ไม้เมา ของพรรคภูมิใจไทย โดย “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” อยู่แล้ว ทำให้ ศักดิ์สยาม รู้สึกว่าเรื่องนี้ เอาเข้ามาได้ยังไง จะเร่งรีบกันไปถึงไหน ข้อท้วงติงที่เคยบอกไป ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแม้แต่น้อย เลยเกิดอาการไม่พอใจ เป็นเหตุให้รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย ต้องจับเข่าคุยกัน เพื่อหาทางออกก่อนวันประชุมครม. ทั้งหมดได้ข้อสรุปร่วมกัน นั่นคือทำหนังสือแจ้งลาเข้าร่วมประชุมครม. ส่วนใครจะมีเหตุผลอย่างไรว่าไป

เนื้อแท้จริงนั่นคือ “บอยคอต วาระเพิ่มเติม” กระทรวงมหาดไทย ที่เสนอต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวนั่นเอง!!

เหตุผลการไม่เข้าร่วมประชุมครม. นอกจากหลีกเลี่ยง การปะทะ ไม่ต้องการโต้คารมกันในครม. จึงสงวนสิทธิ์ไม่เข้าร่วม อย่างที่ อนุทิน  ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

แต่งานนี้คนพรรคภูมิใจไทย คร่ำหวอดการเมืองมานาน ย่อมอ่านเกมออก หากดันทุรังเข้าประชุมครม. วาระต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายเขียว ถูกหยิบขึ้นมาแน่นอน แม้จะเถียงหรือโต้คารมขนาดไหน ในที่สุด ก็ต้องร่วมพิจารณาเรื่องนี้ อาจถึงขั้นโหวตก็เป็นไปได้ เมื่อถึงตอนนั้น รับรองเกิด “รัฐมนตรีเสือคล้อย” ขึนมาทันที เพราะเกรงใจประธานหัวโต๊ะ เท่ากับเรื่องนี้ “ฉลุย” อาจมีเพียง 7 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น ที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย ฉะนั้นเลือก ไม่ร่วมสังฆกรรม ประชุมครม. น่าจะดีที่สุดในเวลาที่เป็นรัฐบาลขาลง!!  

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

หมัดเด็ดไปกว่านี้ กระทรวงคมนาคม โดย “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” ยังตอกย้ำสิ่งที่ไม่ได้รับการแก้ไข จากกระทรวงมหาดไทยและกทม. โดยส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถึงความเห็นประกอบการพิจารณาของครม. เรื่องขอความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ก่อนประชุมครม. 1 วัน

สิ่งที่ปรากฎเรื่อยมาเกี่ยวกับต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว น่าจะทำให้สังคมพอจะมองเห็นแล้วว่า วันนี้ใครทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติ หรือผลประโยชน์ประชาชนได้บ้าง และใครบ้างที่คอยจะฉกฉวยโอกาส หวังผลประโยชน์จากเรื่องนี้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ต้องนั่งหัวโต๊ะทุกครั้งในที่ประชุมครม. จำเป็นต้องจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่าทำเพียงแค่ “ซื้อเวลา” บอกได้แต่เพียงว่าไม่ขัดแย้ง

มีหลายคนบอกว่า ถึงอย่างไรรัฐบาลก็ต้องทำเรื่องนี้ให้ผ่าน ก่อนที่รัฐบาลจะพ้นวาระไป สำคัญที่สุด การจะผ่านแบบไหนก็ตาม อย่าคิดเอาเปรียบประเทศชาติ เอาเปรียบประชาชน สงสารคนที่ต้องเสียภาษีเต็มเม้ดเต็มหน่วยด้วย สำหรับรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย ก็ต้องรักษามาตรฐานความถูกต้อง อย่าเผลอตัว!! อย่าเข้าเมืองตาหลิ่ว แล้วหลิ่วตาตาม!! แล้วกันเมื่อถึงเวลานั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม