COLUMNISTS

‘อาหาร’ ใส่ ‘กัญชา’ กินเยอะจะเมามั๊ย?

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
14332

ในอดีต คนไทยนำกัญชามาใช้ปรุงอาหารมาหลายชั่วอายุคน และยังถือเป็นสมุนไพรที่ช่วยชูรสให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น โดยมักนิยมใส่ในน้ำแกง ก๋วยเตี๋ยว หรืออาหารประเภทผัดต่าง ๆ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข ได้กำหนดให้ใบ ราก และลำต้นของกัญชา ไม่ถูกจัดว่าเป็นยาเสพติด สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพได้ แต่ต้องนำวัตถุดิบที่ใช้มาจากต้นที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกถูกต้องตามกฎหมาย (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ ฉ.7 อนุญาตภาครัฐมีภารกิจ)

ผู้อ่านจะเห็นได้ว่าหลังจาก “กัญชา” ปลดล๊อคให้สามารถนำมาปรุงอาหารได้อย่างถูกกฎหมาย ทำให้ร้านชื่อดังต่าง ๆ เริ่มปล่อยเมนูเอาใจสายเขียวกันอย่างหนาแน่นอบอุ่นกันทีเดียว และมีร้านอาหารรสเด็ดมากมายเปิดครบทั้งอาหารคาว อาหารหวาน ไม่ว่าจะเป็น มาชิมกัญ (อภัยภูเบศร์), ร้านเขียวไข่กา, แม้กระทั่งอาหารชาบูก็มี ร้าน Shabu Indy เป็นต้น

bangkok อาหารใส่ กัญชา กินเยอะ เมามั๊ย 02

มารู้จักสารออกฤทธิ์ใน “กัญชา”

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ได้แก่ Delta-9-Tetra-Hydrocannabinol (THC) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งเรียกภาษาชาวบ้านว่า “สารเมา” และสาร Canabidiol (CBD) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และในต่างประเทศนิยมใช้ในการเมนูอาหาร

ทั้งนี้ ในกัญชาไทย จะมีสาร THC มากกว่า CBD โดยใบกัญชาแห้งสายพันธ์ไทย จะมีปริมาณสาร THC เฉลี่ย 1-2 มิลลิกรัมต่อใบ ขณะที่ใบสดของกัญชา มีสาร Tetrahydrocannabinolic Acid (THCA) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่ดจิตและประสาท แต่หากถูกแสงหรือความร้อนจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสาร THCA เป็น THC ได้

shutterstock 1753586438

“กัญชา” ส่วนไหนกินได้ กินอร่อย ส่วนไหนไม่ควรกิน

รศ.พญ.รัศมน กัลป์ยาศิริ ผู้จัดการศูนย์ศึกษาปัญหายาเสพติด (ศศก.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า กัญชาจะมีสาระสำคัญ 2 ชนิด คือ CBD และ THC ซึ่งสาร THC ในกัญชาทำให้มึนเมา ยิ้ม เคลิ้ม โดยแต่ละส่วนของกัญชาจะมีสาร THC ต่างกัน ส่วนที่มี THC เข้มข้นที่สุดไม่ค่อยแนะนำในแง่นำมาใช้ เพราะทำให้เป็นพิษ และเมาได้ และแนะนำให้นำส่วนที่ THC น้อยมาทำเป็นอาหารจะปลอดภัยกว่า และถ้าอยากกินให้อร่อยหล่ะก็ ทางรพ.อภัยภูเบศร์ แนะนำว่าให้กินใบสด กินเป็นผัก หรือ กินเป็นน้ำคั้นสด และควรกินแบบที่ไม่ผ่านความร้อน และหากนำใบมาต้มตุ๋นเป็นน้ำแกง แนะนำให้กินแต่น้ำ ไม่กินใบที่ใส่ลงไป

ความร้อนในการปรุง “กัญชา” ก็สำคัญนะ

การนำ “ใบกัญชา” มาปรุงอาหาร เมื่อใบกัญชาผ่านความร้อน สาร THC จะออกฤทธิ์มากกว่า ดังนั้น การปรุงใบกัญชา ด้วยการนำมาผ่านความร้อน จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ยิ่งการนำใบมาผัด ผ่านน้ำมันจะยิ่งอันตราย เพราะมีทั้งผ่านความร้อน และตัวน้ำมัน ท่ะทำให้สกัดสารได้มาก อาจมีผลทำให้สารเมาปริมาณเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่า บางส่วนของกัญชามีร้อยละของปริมาณสารเมาน้อยก็ตาม

shutterstock 1944915520

แล้วใช้ใบกัญชาผสมอาหารอย่างไร ถึงจะปลอดภัยหล่ะ?

อย่างที่เราทราบกันดีว่า กัญชาคือสารชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้มีฤทธิ์เมาได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ ควรใช้อย่างปลอดภัย และตามที่ผู้อ่านทราบกันดี กระแสอาหารที่ปรุงด้วยกัญชา เป็นของใหม่ในประเทศ คนก็อยากลอง เป็นเรื่องธรรมดา แต่อะไรที่ดูน่าลอง ก็พยายามสังเกตว่า ได้รับการอนุญาตที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะเราเป็นผู้บริโภคเรากำลังรับสารบางอย่างเข้าสู่ร่างกาย คนทั่วไปอาจไม่แพ้ แต่บางท่านอาจจะได้รับฤทธิ์เมามากกว่าคนอื่น ก็เป็นได้

“กัญชา” กับขนมหวาน

เมนูกัญชาจัดเต็มกับขนมหวานได้หลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบราวนี่ คุกกี้ รวมถึงเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยมีข้อมูลวิจัยจากบริษัท Grizzle Canada มูลค่าตลาดอาหาร และขนมที่มีส่วนผสมของกัญชา ที่แคนาดาในปี 2022 หรือปี 2565 จะมีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์แคนาดา หรือประมาณ 95,000 ล้านบาท จากตลาดรวมธุรกิจกัญชานับแสนแสนล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนได้เป็น บราวนี่ และคุกกี้ 51% ชอคโคแลค 43% และอื่น ๆ 6% ตามลำดับ

shutterstock 205153210

“กัญชา” ไม่ใช่กินได้ทุกคน

ใบกัญชา ไม่ได้เป็นสมุนไพรที่สามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย โดยไม่แนะนำในบุคคลดังต่อไปนี้

  • เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี
  • สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีปัญหาตับ และไตบกพร่อง
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาซึ่งมีผลต่อระบบประสาท
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด

ส่วนคนที่ไม่ได้เข้าข่ายก็ควรกินในปริมาณน้อย ๆ เช่นกัน โดยแนะนำให้กินไม่เกินวันละ 5 ใบ เพราะหากกินเกิน 5 ใบ อาจส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน วิงเวียน และปวดหัวได้

จะเห็นว่าแนวโน้มธุรกิจกัญชากระแสแรงปรับตัวสูงขึ้น รองรับความต้องการใช้กัญชาถูกกฏหมาย ในกลุ่มการแพทย์ อาหาร และสันทนาการที่เติบโตในอนาคต คราวหน้าจะมาเขียนในมุม กัญชากับธุรกิจสกินแคร์ เพราะกัญชากำลังจะเป็นตัวเลือกที่สำคัญในวงการเครื่องสำอาง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิว บำรุงผม รวมถึงเมคอัพ และน้ำหอม อีกด้วย น่าสนใจทีเดียว พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

(เครดิต : Chula C.A.N.S., www.cucans.in.th, www.thebeautrium.com, 17 Food & Wine Gide To Culinary Cannabis, www.foodandwine.com, 9 Seriously Tasty Cannabis Edibles To Make Right At Home, www.solisbetter.com, กัญชากับอาหารและความงาม, marketerronline.com, กัญชาเวชศาสตร์, www.i-kinn.com)

(Credit photo : https://learningenglish.voanews.com/)

อ่านข่าวเพิ่มเติม