COLUMNISTS

ไร้เหตุผลอุ้มค่ายมือถือ

Avatar photo
EcoIndy คิดต่างสร้างสรรค์
6

กลายเป็น “เผือกร้อน” สำหรับความพยายามของฝ่ายกฎหมายรัฐบาล และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กับข้อเสนอให้ คสช.ใช้คำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อพักชำระหนี้ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเป็นเวลา 3 ปี

และยืดการชำระค่างวดใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งจ่ายเป็นเวลา 5 ปี
ซึ่งในข้อหลัง…หลายฝ่ายมองว่าเป็นการ “สอดไส้” ของมือที่มองไม่เห็น เพื่อโอบอุ้มค่ายมือถือ

เพราะถ้าหากมองถึงปมปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ส่วนหนึ่งมาจาก กสทช. ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไขที่ให้ไว้กับผู้ประกอบการได้

เพราะเอาเข้าจริงจนถึงปัจจุบันการแจกจ่ายกล่องทีวีดิจิทัล ก็ไม่ได้ไปถึงทั่วประเทศ ตามที่ให้คำมั่นสัญญาไว้

แน่นอนว่า กระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแน่นอน

ผลพวงที่เกิดขึ้นทำให้รายได้ของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

เห็นได้จากกรณีที่ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในนามช่องไทยทีวี กับ LOCA ถอดใจทิ้งใบอนุญาตก่อนเพื่อน

พร้อมกับฟ้อง กสทช. ขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล พร้อมหนังสือค้ำประกัน 1,500 ล้านบาท

และศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา กสทช. กระทำผิดสัญญาที่ได้ประกาศชี้ชวนไว้กับบริษัท ไทยทีวี จำกัด จริง !!!

ดังนั้นบริษัทไทยทีวีจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่วันที่บอกเลิกสัญญาพ้นกำหนดการจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 2 ซึ่งบริษัทได้ดำเนินกิจการทีวีดิจิทัลไปแล้ว จึงต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 2 เป็นเงิน 258 ล้านบาท

ส่วนหนังสือค้ำประกันธนาคารกรุงเทพ 16 ฉบับ ซึ่งเป็นค่างวดตั้งแต่งวดที่ 3 เป็นต้นไป ให้ กสทช. คืนให้กับบริษัทไทยทีวี แต่ถ้าไม่สามารถคืนได้ ก็ให้ชดใช้เป็นเงินแทน

อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองกลางไม่ได้มีคำสั่งให้ กสทช. ชดใช้ค่าเสียหายตามที่บริษัทเรียกร้อง เพราะภาวะขาดทุนเกิดจากการดำเนินธุรกิจตามปกติ

น่าสนใจทีเดียวกับมุมมองของ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ออกมาให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่า ไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลและกสทช. จะต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้งสองราย ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น (ทรู) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (เอไอเอส) ในการขยายงวดการชำระเงินงวดที่ 4

…เพราะประเทศ ไม่ได้ประโยชน์และเป็นการทำลายความเชื่อมั่นในการลงทุน

การเสนอมาตรา 44 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้งสองราย ประธานทีดีอาร์ไอ มองว่า กสทช.จับประเด็นประโยชน์สาธารณะผิด และนำเสนอข้อมูลไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากผลประกอบการยังดีอยู่

เห็นได้จาก….ผลประกอบการของ TRUE และ ADVANC ที่มีกำไรมหาศาล แล้วใยต้องลดเวลาการจ่ายค่าสัมปทาน

k1

                                                                                                                                                              หน่วย : ล้านบาท/ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ต่างจากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ได้รับผลกระทบ และต้องการการเข้ามาเยียวยาจาก กสทช.

จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ประสบปัญหาทางการเงิน และหลายบริษัทขาดทุนอย่างมหาศาล และ…. มีหลายบริษัท เตรียมที่จะคืนใบอนุญาตทีวิดิจิทัล เช่นเดียวกับ “เจ๊ติ๋ม” ทีวีพูล

k2

                                                                                                                                                               หน่วย : ล้านบาท/ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สาเหตุที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลประสบปัญหา เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐเองคือ กสทช.
ทีดีอาร์ไอมองว่า กระบวนการช่วยเหลือควรแยก 2 เรื่องออกจากกัน!!!

“ไร้เหตุผล” ที่รัฐบาล หรือ กสทช.จะเข้าไปอุ้มเอกชน หรือเศรษฐีซึ่งเป็นบริษัทที่รับใบอนุญาต และเก็บประโยชน์จากประชาชนหรือผู้ใช้บริการ และที่สำคัญเอกชนรายหนึ่งยังเป็นบริษัทที่ต่างชาติถือหุ้น เป็นเจ้ากิจการด้วย เป็นการดำเนินการที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย

ดูแล้ว…หนังเรื่องนี้ถ้าจะยาว!!!