COLUMNISTS

ดื่มเหล้า….ทำลายตับ แต่ก็ดื่ม!!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
17376

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “แอลกอฮอล์” เป็นเครื่องดื่มซึ่งทำให้เกิดความสนุกสนาน ครึกครื้น แต่ก็ทำให้สติสัมปชัญญะลดน้อยลง และการดื่มแอลกอฮอล์ ก็มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะถ้าดื่มมากเกินไป ก็อาจนำผลเสียมาสู่ “ตับ” ได้เช่นกัน ตามสถิติในประเทศไทยด้วยโรคมะเร็งตับ ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปี 2563 ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยข้อมูลว่า มะเร็งตับ พบในเพศชายมากเป็นอันดับหนึ่ง ของมะเร็งทั้งหมดในคนไทย

จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยปี 2560 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับรายใหม่ 20,671 คน ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,912 คน ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีตับ ซึ่งพฤติกรรมของการดื่มเหล้า – ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้ให้เกิดมะเร็งตับได้

พูดได้เลยว่า “ตับ” เป็นจิ๊กซอตัวสำคัญเป็นตัวช่วยวัดระดับการมีสุขภาพที่ดีของร่างกายเสียด้วยซ้ำ อวัยวะอย่าง “ตับ” เปรียบเสมือนเป็นลีดเดอร์ (หัวหน้า) ที่คอยบัญชาการ และให้ความช่วยเหลืออวัยวะอื่น ๆ เพราะตับ เป็นอวัยวะที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้ง หน้าที่ของตับ ก็ไม่มีอวัยวะชิ้นอื่น มาทำหน้าที่แทนกันด้วยสิ! พูดได้ว่า นักดื่มหลายท่าน ควรมีช่วง “พักตับ” นั่นคือคำตอบว่า เราควรหันมาดูแล “ตับ” ของเรากันบ้างนะคะ

bangkok ดื่มเหล้า ทำลายตับ 01

“ตับ” ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

บางท่านถึงกับเอ่ยว่า “อ๋อ ตับหรอ รู้จัก อร่อยด้วยนะ ตับหมูใส่ในก๋วยเตี๋ยว ทานประจำ” แล้วเจ้าตัวตับ ทำหน้าที่อะไรบ้าง วันนี้ ผู้เขียนจะพามาดูหน้าที่ตับกันค่ะ

  • เปลี่ยนโครงสร้างของสารอาหารต่าง ๆ ให้เป็นสารที่ร่างกายต้องการ

หนึ่งในหน้าที่ของตับที่สำคัญ ก็คือ ช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างสารอาหารบางชนิด ให้อยู่ในรูปที่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายนำไปใช้ได้เลย เช่น ตับ ทำการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคส ให้กลายเป็นสารอาหารที่ชื่อว่า ไกลไคเจน จากนั้นจะนำไกลโคเจนมาสะสมเก็บไว้ที่ตับ และเมื่อใดที่ระดับน้ำตาลในร่างกายต่ำลง หรือเมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ตับก็จะเปลี่ยนเจ้าตัว ไกลโคเจน ให้กลับไปอยู่ในรูปของกลูโคส เพื่อพร้อมนำไปใช้หล่อเลี้ยงร่างกายส่วนต่าง ๆ ได้อีกครั้ง โห้…น่าทึ่ง !

  • ช่วยเป็นแหล่งสะสมเสบียงสารอาหารไว้ใช้ยามจำเป็น

ข้อนี้ก็ว้าวว มากเช่นกัน เพราะหนึ่งในหน้าที่ของตับอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ การสะสมสารอาหาร ไว้ให้ร่างกายดึงออกมาใช้ในยามจำเป็น หรือ ในยามที่ต้องการพลังงาน อย่างที่กล่าวไว้ในข้อแรก ว่าตับจะสะสมทั้งไกลโคเจน ที่แปลงมาจากน้ำตาลกลูโคส รวมจนถึงธาตุเหล็กที่เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำกลับมาใช้สร้างฮีโมโกลบินอีกครั้ง นอกจากนี้ ตับ ยังเป็นแหล่งสะสม Vitamin B12, Vitamin A, Vitamin D และทองแดง เป็นต้น

  • ช่วยสร้างน้ำดี

ตับช่วยสร้างน้ำดี ซึ่งจะทำการลำเลียงน้ำดีเหล่านั้นไปตามท่อน้ำดี โดยมีจุดหมายปลายทาง คือ ลำไส้เล็ก และจะทำหน้าที่ในการช่วยย่อยสลายสารอาหารประเภทไขมันที่ลำไส้เล็ก และในเวลาเดียวกัน ตับก็ใช้ท่อน้ำดีเป็นช่องทางจำกัดของเสีย และสิ่งมีพิษที่ตับเก็บไว้ ให้ออกไปพร้อมน้ำดี ตามทางเดินอาหารพร้อมกับกากอาหารนั่นเอง

  • ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา

โดยตับ ทำหน้าที่กำจัดสารพิษและของเสียต่าง ๆ ในร่างกาย อธิบายง่าย ๆ เลยคือ จะกำจัดสารพิษที่ลำไส้ดูดซึมเข้าไปนกระแสเลือด และเมื่อสารพิษเหล่านั้น เดินทางมายังตับ ตับ ก็จะทำลายทิ้งทันที หรือถ้าหากทำลายไม่ได้ ตับก็จะส่งสารพิษนั้น ออกไปทางระบบขับถ่ายของเรา

ดื่มเหล้า – แอลกอฮอล์ ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงปรี๊ด!!

ผู้อ่าน ส่วนใหญ่มักจะเทความสนใจไปที่ไขมันเลว LDL แต่เจ้าตัวไตรกลีเซอไรด์ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเบา บาง และเล็กมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่บางคน บ่นว่า นั่งอยู่เฉย ๆ ร่างกายก็ผลิตไตรกลีเซอไรด์ได้ เพราะเจ้าตัวไตรกลีเซอไรด์สามารถเพิ่มพูนได้จากอาหารที่เรากินเข้าไป อาหารประเภทไขมัน อาหารประเภทอาหารทอด ผัด ที่ใช้น้ำมันประกอบอาหารเยอะ และไม่เพียงแค่ ในอาหารการกินประเภทไขมัน การดื่มเหล้า หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง เพราะเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น 4 เท่า

นอกจากนี้ ยังทำให้การเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเลือดได้ช้ากว่าปกติด้วย ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง พบบ่อยมากใน “นักดื่ม” ก็มีโอกาสเสี่ยงไตรกลีเซอไรด์สูง อีกทั้งแอลกอฮอล์ ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับ ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้ (แตะที่ลิงค์ ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง อันตรายไหม อ่านรายละเอียดได้)

glasses 919071 1280

ขณะดื่มเหล้า แนะควรคิดถึง “ตับ” บ้าง เรามาดูกันว่าโรคตับ ที่เกิดจากการดื่มเหล้า มีอะไรบ้าง

  • โรคมะเร็งตับ

ข้อมูลจากงานวิจัยยังระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับ 8 ของโลกที่พบมะเร็งตับสูงที่สุด โดยมีอัตราของการพบผู้ป่วยมะเร็งตับอยู่ที่ 21 รายต่อประชากร 100,000 คน สำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งตับประกอบไปด้วย การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และการดื่มเหล้า – ดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่เหมาะสม

สมัยก่อนผู้อ่านอาจเคยได้ยินว่า หากกินเหล้ามาก ๆ จะเป็นตับแข็ง แล้วอาจเชื่อไปอีกว่า เมื่อเป็นตับแข็งแล้วก็จะเป็นมะเร็งตับ หรือบางท่านเข้าใจว่าเป็นโรคเดียวกันเสียด้วยซ้ำ คนที่มีภาวะไขมันพอกตับมาก ๆ (Fatty Liver) เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้เช่นกัน โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับ ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย สาเหตุที่พบบ่อยของโรคมะเร็งตับ คือ การดื่มเหล้าแอลกอฮอล์เป็นประจำและเป็นเวลานาน

  • โรคไขมันพอกตับ

หยิบไว้เป็นลำดับที่สอง เพราะโดยทั่วไป โรคไขมันพอกตับ ไม่แสดงอาการทางร่างกาย หรือ หากมีอาการ ก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่นอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา และโดยส่วนใหญ่ การตรวจพบโรคไขมันพอกตับ จึงมักพบช่วงที่เราไปตรวจร่างกายประจำปี โรคไขมันพอกตับ มักมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับเพศ ปริมาณ และระยะเวลาสะสมที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver Disease)

  • โรคตับอักเสบ

เกิดจากภาวะอักเสบที่เกิดบริเวณตับ แต่สาเหตุที่พบบ่อยมักเกิดจากการการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รวมถึงภูมิคุ้มกันทำลายตับเอง ทำให้ตับเกิดควาเสียหายจนเกิดอาการป่วยต่าง ๆ ตามมา หากตับอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้การทำงานของตับผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้

  • โรคตับแข็ง

ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของตับ โดยปกติเนื้อตับจะนุ่ม แต่ถ้ามีอาการอักเสบ หรืออันตรายต่อตับ เนื้อตับจะถูกทำลายกลายเป็นพังแผดลักษณะคล้ายแผล ซึ่งจะทำให้ไปเบียดเนื้อตับที่ดี จะทำให้เลือดไปเลี้ยงตับน้อยลง และถ้ามีการทำลายเซลล์ตับเรื้อรังจนมีพังผืดเกิดขึ้นมาก เนื้อตับที่เคยนุ่มจะค่อย ๆ แข็งขึ้น จนกลายเป็นตับแข็ง ในที่สุด สาเหตุที่พบบ่อยของโรคตับแข็ง มักจะเกิดจากการดื่มเหล้าจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเมื่อแอลกอฮอล์ในเหล้า เมื่อดื่มไปนาน ๆ จะทำให้เกิดผิดปกติของการใช้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในตับ จึงเกิดภาวะตับอักเสบ และ เรื้อรังจนกลายเป็นโรคตับแข็ง ในที่สุด

  • โรคมะเร็งตับ

ข้อมูลจากงานวิจัยยังระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับ 8 ของโลกที่พบมะเร็งตับสูงที่สุด โดยมีอัตราของการพบผู้ป่วยมะเร็งตับอยู่ที่ 21 รายต่อประชากร 100,000 คน สำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งตับประกอบไปด้วย การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และการดื่มเหล้า – ดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่เหมาะสม สมัยก่อนผู้อ่านอาจเคยได้ยินว่า หากกินเหล้ามาก ๆ จะเป็นตับแข็ง แล้วอาจเชื่อไปอีกว่า เมื่อเป็นตับแข็งแล้วก็จะเป็นมะเร็งตับ หรือบางท่านเข้าใจว่าเป็นโรคเดียวกันเสียด้วยซ้ำ

คนที่มีภาวะไขมันพอกตับมาก ๆ (Fatty Liver) เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้เช่นกัน โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับ ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย สาเหตุที่พบบ่อยของโรคมะเร็งตับ คือ การดื่มเหล้าแอลกอฮอล์เป็นประจำและเป็นเวลานาน

จริง ๆ แล้ว ดื่มเหล้า แอลกอฮอล์ไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยทำร้ายตับโดยตรง ยังจูงกลุ่มโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่อาจเกิดได้ เช่น ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคหัวใจ ฯลฯ จะเห็นได้ว่า ถ้าเราเพียงลดการดื่มเหล้าแอลกอฮอล์ลง เราก็สามารถลดปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคได้เยอะทีเดียว

วิธีการดูแลตับ

เน้นรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่นเนื้อปลา น้ำมันถั่วเหลือง ช่วยทำให้อินซูลินทำงานดีขึ้น และลดการอักเสบของตับ และเน้นรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ควรรับประทานในสัดส่วนที่พอดี เน้น ข้าวกลอง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี หรือขัดสีน้อย รับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอ (400 กรัมต่อวัน)

  • พักดื่มบ้าง

การดื่มสุรา เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ต่าง ๆ นั่นส่งผลโดยตรงต่อตับ เพราะหน้าที่ของตับคือ กรองสารพิษแอลกอฮอล์ออกจากเลือด ตับจึงรับบทบาทหนักขึ้นเพิ่มขึ้น ทำงานหนักขึ้น เพราะแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ อีกด้วย ฉะนั้น วิธีง่าย ๆ คือ พักตับ หยุดดื่ม (ทำได้มั๊ย)

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

เน้นคำว่า “สม่ำเสมอ” โดยอย่างน้อย 30-40 นาที ต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงของการดื้ออินซูลิน และยังช่วยลดระดับไขมันเลว และเพิ่มไขมันดี อีกด้วย

  • พักผ่อน หลับให้สนิท

การพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเวลากลางคืนเป็นช่วงที่ทุกส่วนร่างกายต้องพักผ่อนและฟื้นฟูตัวเองจากที่ทำงานหนักมาทั้งวัน และตับ ก็ต้องการพักผ่อนเช่นกัน หากเราอดนอน บ่อยๆ นั้นเท่ากับว่า ตับก็ต้องทำงานหนักตลอดเวลา ขาดเวลาฟื้นฟูตัวตับเอง

ทั้งนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยยังระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับ 8 ของโลกที่พบมะเร็งตับสูงที่สุด โดยมีอัตราของการพบผู้ป่วยมะเร็งตับอยู่ที่ 21 รายต่อประชากร 100,000 คน สำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งตับประกอบไปด้วย การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และการดื่มเหล้า – ดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่เหมาะสม

สำหรับนักดื่มตัวยง คงต้องลดการดื่มลงนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดี (กว่า) และปลอดภัยให้ร่างกายแบบยั่งยืน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย เน้นการทานอาหารที่มีไขมันน้อย ออกกำลังกายบ้าง ก็จะทำให้ตับเราแข็งแรงได้แน่นอน พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

(เครดิต : Naturebiomed.com,The Stage Of Liver Disease – American Liver Foudation, www.liverfoundation.org, www.webmd.com, Liver Disease, www.thaihealth.or.th, www.wattnaosothcancerhospital.com, หมอชาวบ้าน, www.sainlouis.or.th, www.i-kinn.com)

อ่านข่าวเพิ่มเติม