COLUMNISTS

ยาระบาย กับ ผู้สูงอายุ

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
9229

ยาระบาย กับ ผู้สูงอายุปก1

 

เพื่อน ๆ ทราบหรือไม่ว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งมีโอกาสท้องผูกได้มากขึ้น และแน่นอนเพศหญิง มักมีปัญหานี้มากกว่าผู้ชาย (อ่านแล้ว คิดในใจ ผู้หญิงอีกแล้วหรอ)  และปัญหาท้องผูก เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ รองจากปัญหาโรคแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง  ปัญหาท้องผูก เป็นหนึ่งในปัญหากวนใจต่อสุขภาพของทุกเพศ และทุกวัย โดยเน้นที่วัยผู้สูงอายุ จะพบว่า ปัญหาภาวะท้องผูก มีอัตราสูงถึง 80% เลยทีเดียวเคยมีงานวิจัยเกี่ยวกับยาชนิดใดที่ซื้อกันมากที่สุดในร้านขายยา  คำตอบก็คือ ยาระบาย และเจ้าตัวยาชนิดนี้ ก็มีด้วยกันหลายรูปแบบ ตั้งแต่ ยาชง ยาเม็ด ที่มีส่วนผสมหลักไม่ว่าจะเป็นผงมะขามแขก  เหล่านี้ เป็นต้น

ยาระบาย กับ ผู้สูงอายุ1.1

ทำไมผู้สูงอายุจึงมักท้องผูก

อาการท้องผูกในผู้สูงอายุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ  เช่น

  • เกิดจากกลั้นอุจจาระบ่อย ทำให้ประสาทลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เสียระบบการทำงาน หรือ เกิดจากความผิดปกติของระบบการบีบตัวของลำไส้ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ เสื่อมลง
  • เกิดจากการขาดน้ำ หรือดื่มน้ำน้อย (ปกติร่างกายคนเราควรได้รับน้ำ 8-10 แก้ว)
  • เกิดจากการรับประทานอาหารมีกากใยน้อย
  • เกิดจากการขาดการออกกำลังกาย

ยาระบาย กับ ผู้สูงอายุ1.2

การใช้ยาระบายในผู้สูงอายุ

แน่นอน ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุที่เกิดมาจากสาเหตุข้างต้น  การรักษาอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การรักษาโดยใช้ยา และ การรักษาโดยไม่ใช้ยา

ยาระบาย กับ ผู้สูงอายุ1.4

  • โดยการไม่ใช้ยา

อาจจะใช้ได้ผลดี ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีอาการท้องผูกไม่รุนแรง  โดยแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ตัวอย่างเช่น ผักคะน้า ผักบล็อกเคอรี่ ผักโขม ข้าวกล้อง พรุน ส้ม ฯลฯ อีกทั้งต้องเน้นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ

ยาระบาย กับ ผู้สูงอายุ1.3

  • โดยการใช้ยา

ส่วนใหญ่จะใช้กับผู้สูงอายุที่มีการท้องผูกเป็นประจำ  ในปัจจุบัน พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ยังมีพฤติกรรมการใช้ยาระบายมากเกินความจำเป็น  ผู้สูงอายุ บางท่านพอท้องผูกปั๊บ ทานยาระบายทันที ซึ่งเป็นการใช้ยาระบายที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้  ควรใช้ยาระบายเป็นการชั่วคราว ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 อาทิตย์ เพราะยาระบายทุกชนิด จะออกฤทธิ์ทำให้การระคายเคืองอย่างแรงที่ลำไส้ และดึงน้ำจำนวนมากเข้ามาอยู่ในลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้เกิดการบีบตัวขับถ่ายอุจจาระออกมาพร้อมกับน้ำจำนวนมาก ไม่ควรรับประทานยาระบายพร้อมกันนม  ยาลดกรด ต่าง ๆ เพราะนอกจากนม หรือ ยาลดกรดจะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของตัวยาแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน มากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ควรรับประทานยาก่อน 12 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยทานนม หรือยาลดกรดภายหลัง

ในกรณีที่ผู้สูงอายุ นิยมซื้อยาระบายมาทานเองบ่อย ๆ ก็มักมีแนวโน้มใช้ยาเป็นประจำ เหมือนติดยาระบาย และบางที อาจจะต้องเพิ่มปริมาณการทานยาระบายมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้ผลในการระบายเหมือนเดิม  และหากหยุดยาแบบฉับพลัน ก็จะพาลให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมา เนื่องจาก ลำไส้ไม่สามารถบีบตัวได้เอง  ถ้าเป็นในกรณีนี้ แนะนำให้ผู้สูงอายุ ค่อย ๆ ลดปริมาณยาระบายลง แล้วหันไปรับประทานอาหาร ประเภทผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมากขึ้น ดื่มน้ำมาก ๆ  งดอาหารประเภทน้ำตาล และไขมัน  และหันมาออกกำลังกายสม่ำเสมอ  จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า

 

#คินน์ เพื่อชีวิตที่ยืนยาว และยั่งยืน