COLUMNISTS

เปิด 5 โรคพบบ่อยในคนวัย 50+

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
7460

“อายุมากขึ้น โรคภัยจะเริ่มถามหา” ถือเป็นคำกล่าวที่ไม่อาจปฏิเสธความจริงได้เลย ยกตัวอย่างแบบใกล้ตัวเลย ผู้เขียนเคยเดินออกกำลังกายแค่นี้ แล้วไม่เหนื่อย ไม่เมื่อย เดี๋ยวนี้เดินระยะเท่าเดิม ทำไม รู้สึกเหนื่อยจัง หรือ ทำไมช่วงนี้ นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยขึ้น และที่เห็นชัด ๆ เป็นตัวเลข ทำไม ผมออกกำลังกายบ่อยเหมือนเดิม ทำไม ไขมันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ 10 ปี ค่าคอเลสเตอรอลผม ปกติมาโดยตลอด

เหล่านี้เป็นคำถามเคยเกิดขึ้นแน่นอนกับคนวัย 50+ (ที่มั่นใจ เพราะผู้เขียน ก็เจอเหมือนกันค่ะ) เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัย 50 ปี ร่างกายก็จะเสื่อมถอยลง ประกอบทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แล้วยังมี “ความเครียด” สะสมที่เพิ่มขึ้นทุกวันโดยที่เราไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัวเสียด้วยสิ! วันนี้ ผู้เขียน ขอหยิบโรคที่พบบ่อยในวัย 50+ มาแชร์กัน ดังนี้ค่ะ

5 โรค bangkok 01

1. โรคหลอดเลือดตีบ (ภาวะไขมันในเลือดสูง) ถือเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศเลยทีเดียว องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ.2562 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจ และ หลอดเลือด ประมาณ 18.8 ล้านคน คิดเป็น 31% ของอัตราการตายทั่วโลก

และแน่นอน สำหรับประเทศไทย จากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ สูงขึ้นทุกปี โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ การมีภาวะความดันโลหิตสูง การมีภาวะไขมันในเลือดสูง (ผิดปกติ) ภาวะอ้วนลงพุง โดยภาวะไขมันในเลือดสูง มีอัตรามากถึง 83.2% และเป็นอัตราที่พุ่งทะยานสูงขึ้นทุกปี (โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง)

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านบางท่าน อาจจะอยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ด้วยอาการที่เกิดจากการตีบ หรือ อุดตันของเส้นเลือดจากการสะสมของไขมัน คอเลสเตอรอล เป็นผลให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถนำเลือดไปจ่ายเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ อาการเฉียบพลันที่เกิดจากโรคนี้ คือ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก วูบแบบเฉียบพลัน หากถึงมือแพทย์ช้า อาจเป็นอัมพาตได้

2. โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคที่ติดอันดับท๊อปฮิตของประเทศเช่นกัน ด้วยโรคเบาหวาน มักเกิดขึ้นได้ง่ายกับคนที่นิยมทานอาหารประเภทแป้งมากเกินไป กรรมพันธุ์ก็มีส่วนด้วย รวมไปถึงผู้ที่มีความเครียด คิดเยอะ คิดมากอยู่ตลอดเวลา เพราะความเครียดนี่หล่ะ ทำให้ร่างกายเราหลั่งฮอร์โมนบางอย่างออกมา ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเมื่อน้ำตาลสูงขึ้นบ่อย ๆ เป็นประจำ จึงเกิดภาวะโรคเบาหวานเกิดขึ้น

แนะนำให้ผู้บริหารตรวจสุขภาพประจำปี เพราะโรคเบาหวาน เริ่มแรกอาการแทบไม่มีอาการใดๆ นอกจากจะอ่อนเพลีย สมองมึน (บางทีเราจะคิดไปเองว่า เป็นความเครียดสะสม) เพราะถ้าปล่อยให้เป็นโดยไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี อาจจะพ่วงตามมาอีกหลายโรคก็เป็นได้ ซึ่งเรียกว่า ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน นั่นเอง

3. โรคความดันโลหิตสูง หยิบมาไว้ที่ลำดับ 3 เพราะถือเป็นโรคที่มาแรงไม่แพ้โรคเบาหวานเช่นกัน ด้วยต้นสาเหตุมาจากหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ความเครียด นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ และขาดการออกกำลังกาย เบื้องต้นจะเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดบ่อยครั้ง ปัญหาเหล่านี้ล้วนมาจากตับและไตส่วนใหญ่

อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือหัวใจล้มเหลว อีกด้วย ฉะนั้น หากรู้สึกว่าใจสั่นบ่อย ๆ เหนื่อยโดยไร้สาเหตุ หรือเพลียผิดปกติ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์

4. โรคหัวใจขาดเลือด อาการแน่นหน้าอก เจ็บเหมือนโดนบีบอย่างเฉียบพลัน บวมตามข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งเจ้าโรคหัวใจ อาจเกิดจากที่มีความเครียดสะสม (ความเครียดอีกแล้ว) คอเลสเตอรอลในร่างกายสูง ความดันสูง (อีกด้วย) เป็นผลให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถนำเลือดไปจ่ายเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ อาการเฉียบพลันที่เกิดจากโรคนี้ คือ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก วูบแบบเฉียบพลัน หากถึงมือแพทย์ช้า อาจเป็นอัมพาตได้

5. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ถือเป็นโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด (ปัจจุบัน เป็นโรคนี้กันเยอะมาก ๆ ค่ะ) และจะมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ โดยพบราว 70-80% ของผู้ที่มีสมองเสื่อม โรคนี้เป็นสาเหตุทำให้สมองฝ่อเร็วอย่างรวดเร็ว และมีปัญหาด้านการจดจำ การพูด ความคิด และการกระทำ รวมถึงอารมณ์ ผิดไปจากปกติอย่างเห็นได้ชัดเจน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้แน่นอนว่าเกิดจากสิ่งใด

โดยปกติ แพทย์ จะเป็นผู้วินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม โดยอาศัยข้อมูลจากประวัติตั้งแต่เกิด ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแสดงอาการ, ประวัติครอบครัว การตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด อันประกอบด้วยการเจาะเลือด, การเอ๊กเรย์, การตรวจคลื่นสมอง, การเจาะกรวดน้ำไขสันหลัง เป็นต้น ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาตัวยาต่าง ๆ มากมายในการรักษา แต่นั่นก็ยังไม่พบว่ายาตัวใด สามารถทำให้หายขาดได้ ฉะนั้น การรักษาจึงเป็นการมุ่งเน้นที่การักษาตามอาการที่เกิดขึ้นแบบประคับประคองกัน ที่สำคัญ ญาติของผู้ดูแล ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คนวัย 50+ ควรทำ คือ ควรจะบริหาร “ความเครียด” โดยทำให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด (ความเครียดเป็นจิ๊กซอ ชิ้นสำคัญที่ทำให้สุขาพแย่ลงในทุกด้าน) การพักผ่อนให้เพียงพอ วัยนี้แล้ว ต้อง “เลือก” รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่าลืม ออกกำลังกายบ้างนะคะ เน้นออกเป็นประจำ (ไม่ต้องหักโหม) พบกันใหม่ ฉบับหน้าค่ะ

(credit : www.thaitgri.org, www.healthline.co/healthl.high-cholesterol, Thaiquote.org)
#KINN_Worldwide

อ่านข่าวเพิ่มเติม