COLUMNISTS

“ผู้สูงวัย” กับอาการท้องผูก!!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
21210

7B5395B8 F8B8 4816 AFFF 4809B9295E7D

วันก่อนหลีได้มีโอกาสไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ชื่อคุณลุงชาญ เป็นคุณลุงที่รู้จักกันตั้งแต่เรายังเด็ก  ปัจจุบัน ลุงชาญท่านมีอายุประมาณ 78 ปี ยังมีสุขภาพดี เดินตัวตรง ทานอาหารได้ดี เบาหวานไม่มี ความดันนิดหน่อย ตามอายุ วิถีชีวิตที่ลุงชาญ ส่วนใหญ่มักจะนอนค่อนข้างดึก จึงทำให้ตื่นสายนิดหน่อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย  ลุงชาญ บ่นให้ฟังว่า “ตอนนี้ปัญหาลุง มีอยู่อย่างเดียวเอง คือ ท้องผูก ทานยาระบายช่วยได้ ลุงทานยาระบายตั้งแต่อายุ 50 ปี ตอนนี้เลยบางวันไม่ได้ทาน ก็ไม่ปวดเข้าห้องน้ำเลย บางทีหลายวัน ทรมานมาก มันอึดอัดในท้อง”  พอฟังแบบนี้ หลี ก็ได้แนะนำวิธีทำอย่างไรไม่ให้ท้องผูกแบบง่าย ๆ  ลุงชาญฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ (สงสัยแกจะทรมานมานานแล้ว)  วันนี้หลีเลยถือโอกาสมาแชร์ความรู้ปัญหาเกี่ยวกับ “ท้องผูก” ในผู้สูงวัยกัน

แบบไหน เรียกว่า “อาการท้องผูก”

แน่นอน ทุกคนย่อมรู้จักอาการท้องผูก จริง ๆ แล้ว ท้องผูกเป็นปัญหาของอาการมากกว่าที่จะเรียกว่าโรคท้องผูก  อย่างที่เราเข้าใจกันดี เกี่ยวกับท้องผูก คือ อาการภาวะผิดปกติของระบบขับถ่าย อุจจาระ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เราสามารถสังเกตได้นั่นคือ จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้วน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยที่การถ่ายอุจจาระนั้น ๆ มีลักษณะก้อนแข็ง เบ่งแรง แต่ไม่ออก หรือกว่าจะออกมาแต่ละครั้ง ต้องใช้แรงเบ่งเยอะ ทรมานจริง ๆ อาการท้องผูกพบได้ประมาณร้อยละ 5 – 20 และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะวัยกลางคนขึ้นไป จนถึงวัยผู้สูงอายุ โดยอายุมากกว่า 60 ปีขึ้น (ซึ่งเหมือนลงชาญเลยค่ะ) นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุเกิดจากปัจจัยแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย สภาพอากาศหนาวเย็น และแน่นอนย่อมเกี่ยวกับภาวะที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย (มีส่วนด้วยค่ะ)

F437DBC3 89D7 459A B00D 435F89D1D175

สาเหตุท้องผูก ในผู้สูงวัย

จริง ๆ แล้ว ปัญหาที่พบบ่อยมักเกี่ยวกับพฤติกรรมดำเนินชีวิต ดังต่อไปนี้ :-

7FB35FD8 94C5 4D39 8F24 D473A5E90CC5

  • อายุ

อายุมากขึ้นการรับรสการดมกลิ่นในผู้สูงอายุลดน้อยลง  ส่งผลให้ทานอาหารน้อยลง จึงส่งผลให้ต่อระบบการขับถ่าย  อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้การเปลี่ยนแปลงของการทำงานกระเพาะอาหารในการหลั่งกรดที่ช่วยย่อยอาหารลดลง ลำไส้เล็กบีบตัวเคลื่อนไหวน้อยลง ส่วนลำไส้ใหญ่ ก็บีบตัวเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ส่งผลให้มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มากขึ้น

EA4591B5 09BC 4813 A145 E2DB79DF24EC

  • ไม่ชอบทานอาหารที่มีไฟเบอร์ หรือกากใยน้อย

ไม่ชอบทานผัก ผลไม้ หรือทานก็จำนวนน้อยมาก ทำให้ไม่มีกากอาหารเพียงพอที่จะกระตุ้นการทำงานของลำไส้ และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็งเป๊ก

B3A83FF1 160C 4CE7 A735 BDA0B3816764

  • ดื่มน้ำน้อย

ดื่มน้ำน้อยกว่าวันละ 8 แก้ว ในผู้สูงอายุบางราย อาจมีปัญหาในเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่ได้ จึงใช้วิธีปรับตัวเอง โดยการไม่ดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำน้อยลง ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำงานของร่างกาย ส่งผลให้อุจจาระเป็นก้อนแข็งมากขึ้นไปอีก ถ่ายยาก เบ่งนาน ก่อให้เกิดปัญหาท้องผูก

D2F931CF DD4B 4EB9 8188 4FA47354EFF5

  • นิสัยกลั้นอุจจาระ

การถ่ายไม่เป็นเวลา หรือ การกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ส่งผลให้มีเนื้ออุจจาระค้าง อยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน

F2C25F68 6EE6 4DD5 AA5C AA9CE86B55F4

  • ไม่ออกกำลังกาย

ข้อนี้ชัดมาก คือถ้าไม่มีการออกกำลังกาย ลำไส้ก็ไม่เกิดการเคลื่อนไหว  การออกกำลังกายไม่เพียงพอ หรือ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย  เคลื่อนไหวน้อย นอนติดเตียง  ทำให้แรงดันในลำไส้ใหญ่ลดลง จึงเกิดอาการท้องผูกได้

960716B9 5228 4329 9990 C42D8B9096C2

  • มีโรคประจำตัว

การรับประทานยาที่เกิดจากโรคประจำตัวของตัวเอง ซึ่งยาบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรคซึมเศร้า  ยารักษาการอักเสบต่าง ๆ

E7E65F64 8239 4F86 BE11 5CE1477DDD8D

  • จิตใจห่อเหี่ยว

ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งในผู้สูงวัย  ไม่ว่าจะเป็นอาการจากโรคซึมเศร้า  ภาวะเครียด  ส่งผลให้การเคลื่อนไหวร่างกายนั้นน้อยลง ส่งผลลดการบีบตัวของลำไส้ จึงอาจเป็นสาเหตุของการท้องผูก

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว  ผู้สูงวัยใช้ยาระบายช่วยได้มั๊ย

ส่วนใหญ่ยาระบายจะช่วยได้ในระยะสั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ  แต่ไม่ควรใช้ยาระบายในระยาว ถ้าท้องผูกบ่อย และต้องการทานยาช่วย แนะนำควรปรึกษาแพทย์

ผู้สูงวัย ป้องกันท้องผูกได้อย่างไรบ้าง?

สามารถแนะนำได้ง่าย ๆ เพียง 3 ข้อ

33E8F4C4 3B2D 4E4E ADAA 11B9D5C6EA0E

  • เน้นทานอาหารที่มีกากใยสูง

เราสามารถช่วยเพิ่มเนื้อน้ำหนักของอุจจาระ โดยการทานอาหารที่เพิ่มเส้นใยสูง  โดยในผู้สูงวัย ควรได้รับอาหารที่กากใยสูง โดยประมาณวันละ 25-60 กรัม แนะนำอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ พวกคะน้า ผักบุ้ง ผักกาด ถั่วเขียว ถั่วแดง พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ  ส่วนผลไม้ เน้นทาน ฝรั่งสุก กล้วย มะระกอ และที่สำคัญ ผู้สูงวัยควรเลือกปรุงอาหารที่มาจากผัก ด้วยวิธี “ต้ม” ต้มให้นุ่ม ทานง่าย น่ารับประทาน

3B77C5C8 0990 405E 8738 FED54BE4CF35

  • ดื่มน้ำ

แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว โดยอาจตั้งไว้ 1 เหยือกน้ำสะอาดไม่ต้องแช่เย็นจะดีมากค่ะ และพยายามหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ

2BD6B107 7029 4D29 8707 CCE8FD5AE281

  • การออกกำลังกาย

ข้อนี้สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น  การออกกำลังกาย ช่วยให้การบีบตัวของลำไส้ ช่วยทำให้ขับอุจจาระได้ตามปกติ  อย่างไรแล้ว การออกกำลังกายในผู้สูงวัย เราต้องเลือกด้วยคะ ควรเลือกชนิดที่เหมาะกับสภาพร่างกายของผูสูงวัยแต่ละท่านด้วยค่ะ

 สรุปการเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดี ไม่ท้องผูก ทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานที่มีกากใยสูง  ดื่มน้ำให้สะอาด และออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย  เพียงเท่านี้ อาการท้องผูกในผู้สูงวัย ก็ไม่มากล้ำกลายแน่นอนค่ะ

 (เครดิต : วิไลวรรณ ทองเจริญ (2554) ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุกรุงเทพ คณะพยาบาลแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

 

#คินน์ เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและยั่งยืน

www.kinn.co.th