COLUMNISTS

ทำไมยุคนี้ต้อง ‘Wellness Culture’

Avatar photo
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด
1748

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา “ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมปาฐกถาพิเศษในงาน Thailand HR Day 2019 ซึ่งจัดโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย โดยท่านเล่าถึงมุมมองการพัฒนาองค์กร บุคลากร และประเทศ จากแต่เดิมได้เปลี่ยนไปจาก Modernism ไปเป็นแบบ Sustainism เราต้องการความยั่งยืนมากกว่าคำนึงถึงเพียงแค่การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ท่านเล่าว่าโลกยุคใหม่ที่เน้นด้านความยั่งยืนต้องหันมาสร้างสมดุลของทุกส่วน 4 ด้าน

  1. Economic Wealth
  2. Social Well-being
  3. Human Wisdom
  4. Environment Wellness

qqq

โลกและเราต้องการความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน

GDP ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจจนมี GDP สูง แต่ดัชนีความสุข กลับเดินสวนทาง

องค์กรก็เช่นกัน ต้องการทั้งการเติบโตมั่นคงทางตัวเลขและความสุขของคนในองค์กร องค์กรขับเคลื่อนด้วยคน คนที่มีความเป็นอยู่ดีมีสุข ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสมดุลต่อทุกส่วนจะช่วยสร้างความยั่งยืนที่แท้จริง องค์กรต้องการมีวัฒนธรรมของความมั่นคงสมดุลยั่งยืน ที่ขอเรียกว่า ‘wellness culture’

หากเราถามบริษัทต่าง ๆ ว่ามีทำอะไรที่สร้าง wellness culture ในองค์กรบ้าง หลายที่มักจะเริ่มทำอะไรบางอย่าง

แต่คำตอบที่มักจะได้คือ เราจัดออกกำลังกาย เดิน วิ่ง มีฟิตเนส ตีแบต หรือแม้กระทั่งจัดคนมานวดถึงที่ทำงานเลย และกิจกรรมการนวดมักจะได้รับความสนใจมากกว่ากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกายอีก มีลูกค้าเล่าให้ฟังว่า จัดปั่นจักรยาน ประกาศเชิญชวนไปทุกทิศทาง แต่สุดท้ายมี HR มาปั่นกันเอง 2 คน

นี่ใช่ wellness culture หรือเปล่า

คำตอบคือ ‘ไม่ใช่’

Culture of Wellness ในที่ทำงานคือกระบวนการปลูกฝังนิสัยในการดูแลสุขภาพ ความสุข ความมีพลังในการทำงาน หากเราเน้นจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว เราอาจไม่ได้ผลลัพธ์แบบที่เราอยากเห็น

แต่อย่ารู้สึกแย่ เพราะยังดีกว่าไม่ทำอะไร

ระบบการศึกษา ทำให้เราเชื่อว่า เมื่อคนมีความรู้ มีข้อมูล เขามักจะเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าเราสอนเด็ก ๆ ว่าบุหรี่ไม่ดี สุดท้ายเด็กจะไม่สูบบุหรี่ ซึ่งไม่ค่อยจริง การปลูกฝังวัฒนธรรมและสร้างสิ่งแวดล้อมและสังคมมีผลต่อพฤติกรรมมากกว่า เด็กที่เกิดในครอบครัวที่สูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มจะสูบบุหรี่ แม้เคยได้เรียนเรื่องภัยของบุหรี่มาแล้วก็ตาม

การขับรถแล้วรัดเข็มขัดเป็นสิ่งที่ควรทำ และต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ แต่วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน ต้องเริ่มจากจิตสำนึก หรือการเกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญก่อน (awareness) และการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ถึงข้อดีของการรัดเข็มขัด ก็ไม่อาจไม่ได้ช่วยมากนัก ความรู้ขัดต่อสมองส่วนอารมณ์ของมนุษย์ การให้เพียงข้อมูลผ่านกิจกรรม ก็ไม่อาจสร้างนิสัยที่ยั่งยืนได้

คนเราชอบทำอะไรตามใจ ตามความเคยชิน ทุกคนรู้ว่าบุหรี่อันตราย แต่คนก็ยังสูบ เรารู้ว่าออกกำลังกายสม่ำเสมอนั้นดี แต่เราก็ไม่ค่อยทำ

ในเดือนเมษายน ปี 2560 “จอน คอร์ซีน” เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์วันนั้น เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลแบบกระดูกหักหลายส่วน และต้องใช้เครื่องช่วยชีวิตมากมายกว่าจะรอดมาได้ เขาไม่ได้รัดเข็มขัด แต่ไม่ใช่แค่วันนี้ เขาไม่รัดเข็มขัดมาโดยตลอด แม้ตำรวจจะเคยขอร้องเขาแล้วก็ตาม

วันนั้นเขาดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูงของรัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐ และก่อนหน้านี้เคยเป็นวุฒิสมาชิก และเคยเป็นกระทั่งซีอีโอ ของโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งแน่นอนเขาต้องไม่โง่ และคนทั้งโลกรู้ว่าการรัดเข็มขัดสามารถช่วยชีวิตได้ แต่ทำไมเขายังไม่ทำ

หลายครั้งผู้บริหารในองค์กรก็ยังไม่แน่ใจว่าทำไปทำไม และหลายครั้งผู้นำในองค์กรก็ไม่ได้มามีส่วนร่วม มักปล่อยให้หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบ สุดท้ายความพยายามในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะค่อยๆ จากหายไปโดยไม่เห็นผลลัพธ์ใด ๆ เกิดขึ้น

การสร้าง Wellness Culture เพื่อบ่มนิสัยนี้ให้ยั่งยืน จึงต้องเริ่มจากผู้นำ ผ่านกระบวนการ ผ่านประสบการณ์ เพื่อให้ผู้นำเป็นต้นแบบของการสร้างสมดุลที่ยั่งยืนนี้ให้เกิดในองค์กร หากผู้นำเป็นต้นแบบวัฒนธรรมนี้จะค่อยๆ ฝังรากลึก จากรุ่นสู่รุ่น

#LeadingWell ผู้นำต้นแบบในการสร้าง Wellness Culture