COLUMNISTS

เกษตรกร : ผู้ประกอบการ

Avatar photo
วีระพันธ์ โตมีบุญ อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการข่าวเว็บไซต์ และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการข่าวเว็บไซต์ และคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เกษตรกร : ผู้ประกอบการ

นอกจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงพลิกผันสุดขั้ว จะส่งผลลบต่อการผลิตและคุณภาพของพืชผลแล้ว ไส้ในของภาคเกษตรกsรมก็มีอุปสรรคใหญ่ๆอีกเยอะ

เช่นเกษตรกsส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ทำงานได้ไม่เต็มที่ วิธีการผลิตที่ถ่ายทอดกันมา เอาชนะสภาพแวดล้อมไม่ได้ ลูกหลานจะสานต่อก็ลำบากเพราะราคาพืชผลไม่เป็นใจ เทียบกันไม่ได้กับเงินก้อนใหญ่ที่มีคนมาขอซื้อที่ไปทำอย่างอื่น

ที่เคยลงทุนกับพืชชนิดใหม่ตามกระแส ตามนโยบาย ได้ผลผลิตออกมาพร้อมกัน ก็ล้นตลาดซะอีก

เกษตรกร
จิปาถะทั้งปวงนั้น เป็นโจทย์ยากสำหรับเกษตรกsหรือกลุ่มเกษตsกรรายใดรายหนึ่งจะรับมือ หน่วยงานรัฐ อย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็คงเอาไม่อยู่ เพราะภาระสารพัดเฉพาะหน้า บวกข้อจำกัดทางการเมือง จึงมัวแต่หันรีหันขวางอยู่ มีเพียงสถาบันการศึกษาที่ใช้ปัญญาและการวิจัยคิดระบบเพื่อจัดการปัญหาทั้งวันนี้และวันหน้า

พร้อมกับทำหน้าที่สร้างคนให้นำความรู้ใหม่ๆไปสู่โลกการผลิต

บรรดาโรงเรือนอัจฉริยะ ระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติ เทคโนโลยี IoT สั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือ การใช้โดรนการเกษตร เหล่านี้ เป็นผลงานวิจัยจากห้องแล็บมาก่อน มองลึกเข้าไปในสถาบันการศึกษาด้านการเกษตร พบว่าให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการเกษตรมาพักใหญ่แล้ว

เกษตรกร

ผศ.ดร.ธงชัย พุฒทองศิริ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) อธิบายว่านักวิชาการด้านการเกษตรติดตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่กระทบต่อการผลิต และมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องอยู่เสมอ ประเด็นหลักที่พิจารณากันในปัจจุบันคือการหาทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากภาคเกษตรกรรม เพราะเป็นตัวการปล่อยมากถึง 1 ใน 3 ของทั้งหมด

เทคโนโลยีการผลิตที่สถาบันต่างๆ พัฒนาลูกศิษย์รับมือกับโลกเดือดคือการเกษตรแม่นยำ การจัดการสมาร์ตฟาร์ม ให้รู้จักว่าอะไรใช้กับอะไร อันไหนทำก่อน ทำหลัง ไม่ใช่การซื้อสำเร็จรูปมาใช้ทั้งหมด รวมทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆ ของพืช และสัตว์

DSC 4243
สจล.มีหลักสูตร AGRINOVATOR ควบ 2 ปริญญาตรี เรียนการเกษตรคู่กับวิศวกรรม ให้มีความรู้ทั้ง 2 ด้าน ในระดับคิดค้นนวัตกรรมได้ สร้างเครือข่ายในสายงานเกษตรและวิศวกรรมตั้งแต่อยู่มหาวิทยาลัย มีตัวแทนภาคธุรกิจเป็นวิทยากรในชั้นเรียน เป็นพี่เลี้ยงระหว่างฝึกงาน

ผศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่าภาพรวมการผลิตอยู่ที่นโยบายภาครัฐ ได้แก่ การยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ส่วนการพัฒนาผู้เรียนของสถาบัน มุ่งไปที่การเป็น ผู้ประกอบการเกษตรต้อง ผลิตได้ ขายเป็น เก่งเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ ไม่ใชผู้ผลิตพืชผลเท่านั้น

เจ้าของที่ดิน เกษตsกร ที่อยากให้บุตรหลานสานต่อ มีโอกาสใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมที่เกรงจะไม่แน่นอน ลองตั้งหลักใหม่ สนใจกับการปรับตัว การใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตการแปรรูปให้เกิดสิ่งใหม่ๆจากสถาบันการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร

เกษตรกร

จังหวะดี วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 นี้ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.จะจัดงาน “เปิดบ้านเกษตรฐี 2024” มีการสัมมนาที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง (Workshop) ในหลากหลายสาขา ทั้งการผลิตพืช สัตว์ ประมง การสื่อสารทางการเกษตร การพยาบาลสัตว์เลี้ยง และนวัตกรรมทางการเกษตร ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ซึ่งไม่ควรพลาด

ถึงภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว ก็เอาตัวรอดทางการเกษตรได้!

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่