ประโยชน์ยิ่งของส่วนเกิน
ส่วนเกิน หมายถึงส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด อาจฟังไม่ค่อยดี เช่นใครสักคน อะไรสักสิ่ง ถูกชี้เป็นส่วนเกิน ก็ไม่แคล้วถูกผลักออก
โลกของการการผลิต รวมถึงอุตสาหกรรมอาหาร จำเป็นต้องมีส่วนเกิน ป้องกันการขาดพร่อง เพราะถึงจะทราบจำนวนผู้บริโภค ก็มีคนยังไม่อยากกินเมื่อถึงเวลา เบื่อ หรือมาช้า แต่ของกินก็ต้องรอ สดใหม่ มีให้เลือกเยอะ
อาหารส่วนเกินไม่ใช่ของเหลือ ที่ผลิตแบบเดียวกัน เวลาเดียวกัน เพียงแต่มากกว่าจำนวนที่ต้องใช้
ปัญหาของอาหารส่วนเกิน คือถึงวันหมดอายุ ต้องทิ้ง ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้
จึงเกิดแนวทางนำอาหารส่วนเกินมาใช้ ส่งมอบให้กับผู้ต้องการ กลุ่มเปราะบาง
อย่าเห็นเป็นเล็กน้อย มีข้อมูลว่า ผู้ผลิตอาหารมีของเหลือทิ้งทุกวันถึง 1 ใน 3 ของปริมาณผลิต องค์การอาหารและเกษตรและสหประชาชาติ (FAO) มีตัวเลขการทิ้งๆขว้างๆ ปีละ 1,300 ตัน เมืองไทยอาหารที่ผลิตให้เป็นขยะปีละ 4 ล้านตัน ทั้งๆที่ยังกินได้
ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ สำรวจเดือนกรกฎาคม 2567 ด้านรายจ่ายคนไทย เฉพาะค่าอาหารเดือนละ 18,278 บาทต่อครัวเรือน แต่เมื่อดูรายละเอียดของกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 100,000 บาท เฉลี่ยเดือนละ 8,000 บาท ก็น่าจะหมายความว่าท่านเหล่านี้ ราว ๆ 13 ล้านคน มีปัญหาการเข้าถึงอาหาร ขณะที่อีกด้านผลิตออกมาเพื่อเป็นขยะซะงั้น
กรุงเทพมหานคร ท่านผู้ว่าชัชชาติ สิทธิพันธ์ ริเริ่มโครงการส่งต่ออาหารส่วนเกิน(Food Surplus) จากผู้บริจาคสู่ผู้รับ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยรับจากผู้บริจาคสัปดาห์ละ3 วัน อังคาร พุธ พฤหัสบดี
BKK Food Bank รายงานต้นเดือนกันยายนว่า ส่งต่ออาหารบริจาคแล้ว 490,000 กก. หรือ 2 มื้อ ถึงผู้รับกลุ่มเปราะบาง 5,330 ราย จากที่ลงทะเบียนไว้ 23,476 ราย
การส่งต่ออาหารมีรายละเอียดความซับซ้อนมากมาย เช่น อาหารต้องมีคุณภาพดี ไม่มีบูดเสีย เมื่อรับมาแล้วต้องส่งให้ได้ในวันเดียวกัน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช ) ได้นำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายสาขา สนับสนุนให้การส่งต่อมีประสิทธิภาพ ราบรื่น เช่นทำชุดทดสอบคุณภาพอาหารเพื่อตรวจสอบป้องกันเรืองไม่พึงประสงค์ การจัดทำไกด์ไลน์หรือแนวทางการจัดการที่ดี รวมถึงระบบจัดคู่การส่งอาหารให้ทั่วถึงทันเวลา ตรงความต้องการ ไม่ใช่ได้อาหารประเภทเดียวกันทุกวัน และยังพัฒนาให้สอดคล้องกับกลุ่มอายุ เช่นผู้สูงวัย คนป่วยหรือเด็ก
การส่งต่ออาหารส่วนเกิน นอกจากช่วยให้กลุ่มเปราะบางได้อาหารคุณภาพในเวลาที่เหมาะสม ยังช่วยลดปริมาณขยะอาหาร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มีการพิจารณาจะสนับสนุนผู้บริจาคได้ด้านสิทธิทางภาษี บางประเทศเริ่มนำไปใช้คำนวณคาร์บอนเครดิตกันแล้ว
โครงการนี้มีแผนจะขยายการส่งมอบอาหารส่วนเกินยังชุมชนต่างๆใน 20 จังหวัดภายใน 2 ปี
สนใจร่วมโครงการ จะบริจาคอาหาร หาข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Scholars of Sustenance Thailand – SOS Thailand หรือชุมชนที่ต้องการขอรับอาหาร ประสานงานกับสำนักงานเขตพื้นที่
คนทั่วไปสนับสนุนโครงการนี้ง่ายๆ เปิดดูตู้เย็นมีขของทีซื้อเป็นส่วนเกิน หยิบมาบริโภคให้เป็นประโยชน์ก่อนทิ้ง
อ่านข่าวเพิ่มเติม
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- Twitter: https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg