COLUMNISTS

ขยาย ‘วีซ่าฟรี’ …ขยายโอกาสอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย

Avatar photo
พิษณุ แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.โรงงานเภสัช อุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย)

10naga

10naga

Sv388

Slot gacor

Slot88

Borneo303

Borneo303

Slot5000

Slot777

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

Juraganslot

ขยาย “วีซ่าฟรี” …ขยายโอกาสอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย

นับเป็นหนึ่งข่าวดี ที่พอทำให้ใจฟูขึ้นมาได้ เมื่อรัฐบาลประกาศขยายมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา หรือ วีซ่าฟรี เพิ่มเป็น 93 ประเทศ จากเดิม 57 ประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศช่วง Low Season และยังเพิ่มการตรวจลงตราประเภทใหม่ Destination Thailand Visa (DTV) สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการท่องเที่ยวในไทยและทำงานทางไกลผ่านระบบดิจิทัล (Digital Nomads) รวมถึงขยายเวลาพำนักของนักศึกษาต่างชาติภายหลังสำเร็จการศึกษา 1 ปี เพื่อหางาน เดินทางท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในไทย

สมุนไพรไทย

นี่เป็นแผนระยะสั้นในการบูมการท่องเที่ยวในไทย แต่รัฐบาลยังมีแผนระยะกลาง ซึ่งจะเริ่มใช้เดือนกันยายน-ธันวาคมนี้ อาทิ ปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวระยะยาว (Long Stay) สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสงค์ใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย ปรับลดเงินประกันสุขภาพสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant) รหัส 0-A จาก 3,000,000 บาท เหลือ 40,000 บาท สำหรับผู้ป่วยนอก และ 400,000 บาท สำหรับผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นราคาเท่ากับก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นต้น

และยังมีมาตรการระยะยาว ที่เริ่มใช้เต็มรูปแบบในกลางปี 2568 โดยรัฐบาลตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 8 แสนล้านบาท-1 ล้านล้านบาท และตั้งเป้าสิ้นปี 2567 รายได้รวมจากการท่องเที่ยวจะไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้านบาท

แน่นอนครับ มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวมากมายได้รับอานิสงส์ แต่มีธุรกิจหนึ่งที่น่าจับตา นั่นคือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Wellness Tourism ที่เริ่มเป็นกระแสต่อเนื่องมาตั้งแต่เกิดโรคระบาด โควิด-19 ทำให้ประชากรทั่วโลกตื่นตัวเรื่องของการดูแลสุขภาพ จวบจนปัจจุบันกระแสท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และประเทศไทย กลายเป็นที่จับตามองในฐานะที่เป็นประเทศศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาคเอเชีย และยังเป็นประเทศที่ถูกเลือกให้เป็น Wellness Destination อันดับ 2 ของโลก จากการจัดอันดับโดย Global Wellness Institute อีกทั้งยังถูกจัดให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าเดินทางไปเยือนมากที่สุดในโลก อันดับ 4 จากผลสำรวจของ Visa Global Travel Intentions Study เมื่อปี 2565 ด้วยเหตุผลสนับสนุน 2 ข้อหลัก คือ

  1. ระบบดูแลสุขภาพของไทยติดอันดับ Top 5 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ในช่วงที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงเป็นสิ่งการันตีที่ดี สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าประเทศไทยมีระบบการดูแลสุขภาพที่ดี มีมาตรฐาน
  2. ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศของโลก นั่นหมายความว่า “ประเทศไทยดีและถูก”

สมุนไพรไทย

Global Wellness Institue ประเมินว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด เฉลี่ยสูงถึงปีละ 20.9% มูลค่าจะทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปีนี้ (พ.ศ.2567) โดยนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีการใช้จ่ายต่อหัวมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป 58% หรือเฉลี่ย 50,000-60,000 บาทต่อครั้ง

จากข้อมูลที่ผมกล่าวมานี้ ผมเห็นโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทย เห็นโอกาสการเติบโตของแบรนด์ SMEs ไทย เพื่อเป็นของฝากให้นักท่องเที่ยวต่างชาติซื้อติดมือนำไปโปรโมทสินค้าไทยในประเทศของเขาเหล่านี้ ช่วยสร้างช่องทางให้สินค้าเอสเอ็มอีไทยเติบโตในตลาดโลก และเห็นโอกาสของคลินิกแพทย์แผนไทย ที่จะเป็นอีกหนึ่ง Soft Power ช่วยสร้างชื่อ สร้างรายได้ให้กับประเทศ

เป็นโอกาสของ SMEs ไทย ในภาวะที่เศรษฐกิจในประเทศยังเปราะบางเพราะกำลังซื้อในประเทศยังอ่อนแอ

แต่สิ่งสำคัญที่สุด ผมขอฝากทิ้งท้ายนั่นคือ มาตรฐานการผลิต เพราะไม่เพียงทำให้ชื่อเสียงประเทศต้องเสี่ยง แต่หมายรวมถึงชื่อเสียง SMEs ไทยอาจต้องจ่ายราคาแพง กว่าจะเรียกชื่อเสียงกลับมาอีกครั้ง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่