CEO INSIGHT

เปิดเส้นทางสู่ ‘เจ้าแห่งทุน’ : เจริญ สิริวัฒนภักดี ‘การรุกครั้งใหม่’

การเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้นสิงคโปร์ ของ ไทยเบฟ ในปี 2549  นับเป็นจุดเริ่มต้น การรุกทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มทีซีซี  เกมรุกครั้งใหม่ “เจริญ” พุ่งเป้าไปที่การ ซื้อกิจการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขยายอาณาจักรธุรกิจโดยมีตำแหน่ง  เจ้าตลาดน้ำเมา อาเซียนเป็นเดิมพัน ซึ่งต่างจากการรุกก่อนหน้าที่ไล่เก็บอสังหาริมทรัพย์

1 1

ปีเดียวกับที่ ไทยเบฟเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น เจริญ ซื้อ “โออิชิ กรุ๊ป” จาก ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจที่ร่ำรวยจากค้าเครื่องดื่มชาเขียว มูลคา 3.357 ล้านบาท (ปัจจุบันไทยเบฟถือหุ้นใน โออิชิ กรุ๊ป ) ดีลนี้ถือเป็นดีลแรกๆในการสร้างอาณาจักรธุรกิจยุคใหม่ของ“เจริญ” ที่เปิดตัวกับสังคมมากขึ้น และเริ่มถ่ายโอนการบริหารให้รุ่นลูก

 ปี 2551 “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” วัย 33 ปี (ขณะนั้น) ลูกคนที่ 3 ของ “เจริญ” รับตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ไทยเบฟ เรือธงอาณาจักรน้ำเมา        55555

ฐาปน ในฐานะกัปตันใหญ่ไทย ได้สัมผัสดีลซื้อกิจการเป็นครั้งแรกในปี 2554  เมื่อบริษัทลูกของไทยเบฟ (บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติกส์) เข้าครอบงำ บมจ.เสริมสุข บริษัทเก่าแก่ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมน้ำอัดลมของไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2496 โดยซื้อหุ้นในส่วนตระกูล บูลสุข, โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้ง“เสริมสุข” บริษัท เป๊ปซี่ โคอินเตอร์เนชั่นแนล และผู้ถือหุ้นอื่นราว 64.67%  มูลค่าราว 11,167 ล้านบาท  สิ่งที่เจริญได้จาก เสริมสุข คือ ความเชียวชาญในการผลิตน้ำอัดลม ระบบโลจิสติกส์ และจุดขาย 

ในปี 2556  ชื่อของ “เจริญ” และ กลุ่มทีซีซี ดังกระฉ่อนไปทั้งอาเซียน เมื่อเขา ( ในนามไทยเบฟ ) เสนอซื้อ บริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟ หรือ เอฟ แอนด์ เอ็น

กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ อายุกว่า 130 ปี ของสิงคโปร์รายนี้  เป็นผู้นำในตลาด ผลิตภัณฑ์ นม น้ำอัดลม ในสิงคโปร์ มาเลเชีย ไทย ฯลฯ  เป็นเจ้าของเบียร์ไทเกอร์  ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัทเมียนมา เบียร์ เจ้าของ Myanmar Beer เบียร์อันดับหนึ่งของเมียนมา เป็นเจ้าของพอร์ทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ทั้งเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์(หลายพันแห่ง)ในลอนดอน ปารีส ดูไบ เจ้าของศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รวมทั้งบมจ. กรุงเทพบ้านและที่ดินไทย(เคแลนด์) และมีเครือข่ายการค้าใน เมียนมา  กับ เวียดนาม

JOr01PQez6hGLIZ8vOWI6l6iWkFRBcuPkk8owam9xqjGv6Rcql1534394242

โครงสร้างธุรกิจของ เอฟ แอนด์ เอ็น ล้วนอยู่ในแนวที่ “เจริญ” มี และช่ำชองทั้งสิ้น ไม่ว่า เครื่องดื่ม น้ำเมา หรือ อสังหาริมทรัพย์ จึงไม่น่าแปลกใจที่“เจริญ” เปิดเกมรุกเพื่อปิดดีล เอฟแอนด์เอ็น ให้ได้ เพราะเวลานั้น กลุ่มโอเวอร์ซีส์ ยูเนียน เอ็นเตอร์ไพร์ส (โอยูอี) นำโดย สตีเฟน ไรอาดี  มหาเศรษฐี นักธุรกิจชาวอินโดนีเซียเข้าร่วมประมูลซื้อหุ้นแข่งด้วย

ศึกชิงเอฟ แอนด์ เอ็นเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคมปี 2555 จากราคา 8.88  ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 223.78 บาท อัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น ) โดย“เจริญ”ซื้อหุ้น (เอฟแอน์เอ็น) ล็อตแรก 22% จากกลุ่มนักลงทุนสถาบัน และปรับราคาเสนอซื้อขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อ“เจริญ” ตั้งโต๊ะเสนอซื้อหุ้นหลังรวบรวมหุ้นเอฟแอนด์เอ็นในมือได้ 30 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2555  “เจริญ” ปรับราคาเสนอซื้อขึ้นเป็น 9.55  ดอลลาร์สิงคโปร์  

ศึกชิงเอฟ แอนด์ เอ็น ยืดเยื้อข้ามปีมาถึงเดือนมกราคม (2556) ทั้ง ฝ่ายต่างเลื่อนเส้นตายในการรับซื้อหลายครั้ง แต่ก่อนถึงวันประมูล (21 มกราคม 2556) ตามคำสั่งของ คณะกรรมการอุตสาหกรรมหลักทรัพย์สิงคโปร์ (เอสไอซี)  กลุ่มโอยูอี ของนายไรอาดี ประกาศยุติเสนอราคาแข่งหลังเสนอราคาสูงสุดไว้ที่ 9.08 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหุ้น

2

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ไทยเบฟ แถลงอย่างเป็นทางการว่า ทางกลุ่มสามารถซื้อหุ้นเอฟ แอนด์ เอ็นได้ 1,301 ล้านหุ้น หรือ 90.32% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด หลังขับเคี่ยวกับคู่แข่งมากว่า เดือน (เริ่ม 19 กรกฎาคม 2555) โดยหุ้น (เอฟแอนด์เอ็น) แบ่งเป็น ส่วน ถือในนามไทยเบฟ 28.5 % และทีซีซี แอสเซ็ทส์ อีก 59.3% คิดเป็นมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 330,000 ล้านบาท 

 ดีล เอฟแอนด์เอ็น ครอง สถิติ กิจการมูลค่าสูงสุดที่เจริญเคยซื้อ มาจนถึงวันนี้  

แม้ปิดดีลเอฟแอนด์เอ็นสำเร็จแต่ความรู้สึกของเจริญยังไม่เต็ม  เพราะด้วยเงื่อนไขทางธุรกิจระหว่างไล่ซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นนั้น บริษัทเอฟแอนด์เอ็นได้ตกลงขายหุ้น 40% ในบริษัท เอเชียแปซิฟิก บริวเวอรี (เอพีบี) ผู้ผลิต เบียร์  “ไทเกอร์ ” ให้กับ ไฮเนเก้น ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือหุ้นในเอพีบี เช่นกัน 

ในปี 2558 เอฟแอนด์เอ็น ซึ่งอยู่ใต้ร่มเงา “ไทยเบฟ” แล้ว  ต้องตัดใจขายหุ้น 55% ในบริษัทเมียนมา บริวเวอร์รี  เจ้าของMyanmar beer เบียร์ยอดขายอันดับหนึ่งในเมียนมา คืนให้กับบริษัทอีโคโนมิก โฮลดิงส์ ลิมิเต็ด (เอ็มอีเอชแอล) หลังเป็นความในศาลมาหลายปีก่อนสิ้นสุดโดยอนุญาโตตุลาการสิงคโปร์ ที่ชี้ว่า เอฟแอนด์เอ็น ต้องขายหุ้น บริษัทเมียนมา บริวเวอรี ให้กับบริษัท เอ็มอีเอชแอล

 เจริญ ต้องรออีก 2 ปีจึงจะถมความรู้สึกที่หายไปจากการเทคโอเวอร์เอฟแอนด์เอ็นสำเร็จ ในปี 2560 ไทยเบฟ โหมซื้อกิจการระลอกใหญ่

เริ่มจากซื้อหุ้น 54 % ในบริษัท เบียร์และเครื่อง ดื่มแอลกอฮออล์ ไซง่อน จำกัดเจ้าของเบียร์แบรนด์ดังเวียดนาม SABECO (ซาเบโก)  มูลค่า 160,000 ล้านบาท เพื่อปูทางสู่เจ้าตลาดน้ำเมาอาเซียนและสนองต่อกลยุทธ์ปักหมุดเวียดนามของกลุ่มที่ซีซี

ตามด้วยการซื้อหุ้น 75 % ในบริษัท เมียนมา ซัพพลายส์เชน เซอร์วิส (เอ็มเอสซี)  และบริษัทเมียนมา ดิสเลอร์ แอนด์ โก (เอ็มดีแอล) ผู้ผลิตวิสกี้รายใหญ่ในเมียนมาแบรนด์ Grand Royal มูลค่า 24,000 ล้านบาท

thaibev group 2ImageDetail 003585 122
ฐาปน สิริวัฒนภักดี

ในการแถลงข่าวประจำปี 2561 ของไทยเบฟ ฐาปน กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวตอนหนึ่งว่า การลงทุนในปี 2560 (หมายถึงในเวียดนามและเมียนมา) สะท้อนให้เห็นว่า ไทยเบฟมุ่งมั่นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ และพันธะกิจที่มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำเครื่องดื่มครบวงจรของอาเซียน

เพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น ระหว่าง ปี 2550  2561 ไทยเบฟใช้เงินไม่น้อยกว่า 510,000 ล้านบาท ในการซื้อกิจการ เพื่อต่อยอดธุรกิจและวางรากฐาน เพื่อรุกทางยุทธศาสตร์ไปสู่เป้าหมายเจ้าแห่งตลาดเครื่องดื่มอาเซียน

ในปีบัญชี 2561 (ตุลาคม 2560-กันยายน 2561) ไทยเบฟมีรายได้จากการขาย 229,695 ล้านบาท โดยรายได้จากสุรามาเป็นอันดับหนึ่ง 46% ของรายได้รวม รองลงมารายได้จากเบียร์ 41% ที่เหลือเป็นรายได้จากเครื่องดื่มทั่วไป และมีสินทรัพย์รวม 401,409 ล้านบาท    

หากพิเคราะห์จากขนาดธุรกิจปัจจุบัน  ถือว่าไทยเบฟเดินทางมาไกลมาก นับแต่ “เจริญ” ร่วมกับ “เถลิง เหล่าจินดา” ผู้ชักนำเขาเข้าสู่วงการสุรา ซื้อโรงเหล้าแห่งแรกในชีวิต“สุราธารวิสกี้” จาก พงส์ สารสิน และ ประสิทธิ์ ณรงค์เดช เมื่อปี 2519 

Avatar photo