CEO INSIGHT

‘จิราพร ขาวสวัสดิ์’ ภารกิจซีอีโอ OR – ก่อนส่งไม้ต่อ ‘CEO คนใหม่’

“จิราพร ขาวสวัสดิ์” กับเรื่องราวภารกิจซีอีโอ OR กล้าที่จะเปลี่ยน OR เป็น RO ก่อนส่งไม้ต่อ CEO คนใหม่ ไม่หวั่นเปลี่ยน “เบอร์ 1” เป้าหมายชัด “OR 2030” สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

อีก 5 วันแล้วที่ จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จะเกษียณอายุ  30 กันยายน 2565 จบภารกิจหน้าที่ CEO ก่อนหน้านี้ จิราพร ขาวสวัสดิ์ กล่าวในงาน Meet OR CEO ก่อนที่จะส่งต่อภารกิจให้กับ CEO คนใหม่

จิราพร ขาวสวัสดิ์ เริ่มต้นด้วยการบอกว่า น้องๆ เขาบอกให้มาบอกเล่า ว่าการเป็นผู้นำ CEO คนแรกของ OR หรือ บริษัท ปตท.น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) สำหรับ OR เดิมเป็นธุรกิจ เป็น BU หนึ่ง เรียกว่า Business Unit อยู่ใน ปตท. (บมจ.ปตท.) อยู่มา 40 กว่าปี เมื่อบอร์ดของปตท. ยุคปลายปี 2558 มีดำริว่า ควรจะต้องแยกหมวดธุรกิจน้ำมัน ออกจาก ปตท. เพราะหน่วยธุรกิจน้ำมัน ทำธุรกิจอยู่บนการค้าน้ำมัน ในฐานะผู้ค้ามาตรา 7 ซึ่งประกาศของผู้ค้ามาตรา 7 ทุกแบรนด์ ที่เป็นเจ้าของปั๊มน้ำมันที่มีแบรนด์ ที่จดทะเบียนอยู่ ทุกบริษัทเป็นเอกชน ขณะที่ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ และมี BU น้ำมัน ตลอดเวลาการทำงานของผู้บริหารของ BU น้ำมัน ในทุกรุ่น ตั้งแต่เห็นว่าน้ำมันไร้สารตะกั่ว เป็นเจ้าแรก ต่อมาเป็นเรื่องของที่เรียกว่า คำนึงถึงผู้บริโภค ทำอย่างไร ให้คนเดินทางปลอดภัย ก็มีกาแฟให้กิน มีสถานที่พักผ่อน วิสัยทัศน์เหล่านั้น เรียกว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่น่าชื่นชม และก่อให้เกิด OR ในวันนี้

ก่อนส่งไม้ต่อ CEO คนใหม่ 

CEO คนใหม่ 
จิราพร ขาวสวัสดิ์

“คนทางด้านธุรกิจน้ำมัน และผู้บริหารต้องต่อสู้ในธุรกิจที่มีการแข่งขัน เราต่อสู้ เราพัฒนาเราทำอย่างไรทุกวิถีทาง แต่มุมมองข้างนอก ก็ยังบอกว่าเราในฐานะรัฐวิสาหกิจ เอาเปรียบประชาชน กำไรเป็นแสนล้าน น้ำมันราคาแพง ข้อเท็จจริงเขาก็คือ เลือกที่จะไม่ฟังกัน ข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยไม่มีน้ำมันเอง 85% ต้องนำเข้าเรื่องเหล่านี้เป็นตลาดค้าเสรี” จิราพร กล่าว

จากจุดเริ่มต้น OR จนเข้าสู่ตลาดหุ้น!

บอร์ด ปตท. เลยบอกว่างั้นแยก BU น้ำมัน ออกมา เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ของปตท. แล้วก็กลุ่ม ปตท. ก็จึงได้รับภารกิจในการทำงานร่วมกับผู้ว่าฯ อรรถพล ( อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน หรือว่าท่านรองฯ คนอื่นๆ ในอดีต ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับนโยบายมาจากบอร์ดว่า ต้องแยก BU น้ำมันออก

เราเองในฐานะพนักงาน ก็ไม่ได้ขัดแย้งในนโยบายเพราะว่าเป็นนโยบายที่ถูกต้อง เลยร่วมเข้าดำเนินการทำกัน ดังนั้น จาก Oil Business Unit หรือหน่วยธุรกิจน้ำมัน ซึ่งกระบวนการแยกเกิดตั้งแต่ต้นปี 2559 เสร็จเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561 ใช้เวลา 4 ปี จาก 4 ปีนั้น ก็มาเป็น OR จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ แล้วก็มา IPO

ในเรื่องของ IPO ทุกคนก็ได้รับทราบว่า ธุรกิจของ BU น้ำมัน ธุรกิจของ OR ที่เป็นปั๊มน้ำมัน เป็น Café Amazon เป็นLPG น้ำมันหล่อลื่น เรามีมาร์เก็ตแชร์ เป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องมา 20 ปี เราเป็นอย่างนี้ได้ เพราะคนไทย ให้การสนับสนุน เป็นคนที่ซื้อสินค้า และบริการของเรา

CEO คนใหม่ 
จิราพร ขาวสวัสดิ์

เราจึงตั้งใจว่าหุ้นOR ต้องทำให้คนไทยเป็นเจ้าของอย่างทั่วถึง เป็นเจ้าของมากที่สุด บนการตัดสินใจนี้มันต้องแลก แลกมาโดยสิ่งที่เรารู้ว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หากมีผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมาก การที่จะบริหารราคาหุ้น การสื่อความทิศทางของธุรกิจ เพื่อให้มีการเข้าใจร่วมกัน และไปทิศทางเดียวกัน เพื่อทำให้ราคาหุ้นไม่เกิดความผันผวน จะอยู่ในแง่ที่เป็นทางลบ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้อง trade เราเลือก ที่เราจะแลกว่า แม้หลัง IPO ราคาหุ้นอาจจะเอาอยู่ยาก ถ้ามีผู้ถือหุ้นรายย่อยมาก แต่เราเลือกว่า เราต้องการให้คนไทยที่มีพระคุณกับ OR ได้เป็นเจ้าของหุ้น จึงเป็นที่มาของเรื่องที่ผู้จองซื้อหุ้นจำนวนน้อยจะได้รับจัดสรรก่อน) เริ่มจากเราคิดว่าเป็น 1,000 หุ้น หรือ 18,000 บาท

แต่เรามองว่าสถานการณ์ที่กำลังเผชิญเรื่องโควิด ขณะนั้น คนที่มีกำลังซื้ออยู่น้อยคน ก็เลยทอนหุ้นลงมาเหลือ 500 หุ้น ซึ่ง 500 หุ้น ก็ยังเป็นเงิน 10,000 บาทอยู่ จึงทอนลงมาเหลือ 300 หุ้น เมื่อคูณกับ 18 บาท (ราคา IPO) ก็ 5,400 บาท ดังนั้น คนถือเงินมา 5,400 บาท สามารถเป็นเจ้าของหุ้น OR ได้

“วันแรกที่เราเข้าตลาดหลักทรัพย์ เรามีผู้ถือหุ้นอยู่ 5.3 แสนรายการ ได้รับการต้อนรับ ได้รับความเชื่อใจ และวางใจ จากผู้ถือหุ้นทั้งที่เป็นสถาบันและรายย่อย สร้างความภาคภูมิใจให้กับ ปตท. กลุ่มบริษัท ปตท. และ OR รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”

กล้าพอที่จะเปลี่ยนจาก OR เป็น RO

แล้วนับจากนี้จะอย่างไร คือจากเดิม PTT Oil and Retail ตัวย่อก็ควรจะชื่อว่า RO ปัจจุบันเราใช้ตัวย่อ OR ไปก่อน ต่อไปชาว OR เราจะเปลี่ยนจาก Oil and Retail ไปเป็น Retail and Oil หรือ RO  เป็นเรื่องที่เป็นเป้าหมายและความท้าทาย

ช่วงระยะเวลา 4 ปี และช่วงการทำ IPO 2 ปี  จะพบว่าทีมงาน OR ได้ทำให้เห็นถึงความคืบหน้าจากการก้าวจากสิ่งที่เรียกว่า การออกจาก Oil ไปสู่ Retail และ Retail ของเราไม่ได้มีแค่ F&B แต่เราตั้งใจว่าตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมงของคน ตลอด 24 ชั่วโมง ต้องนึกถึงผลิตภัณฑ์ของ OR และพาร์ทเนอร์ OR ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นี่จึงเรียกว่า อยู่ในตัววงจรของทางด้านชีวิตผู้คน ดังนั้นในมุมมองของที่เป็น RO ไม่ใช่แค่ F&B

เราตั้งต้นจากที่ OR ไม่ได้มามือเปล่าๆ ตลอดเวลา 40 ปีที่ OR ทำธุรกิจมา ผ่านการdiversify ผ่านการลองผิดลองถูก ผ่านการที่เจอจุดแข็งว่า อะไรเป็น จุดแข็งเดินต่อ  เรามีฐาน assets  ที่สำคัญ ที่จะไปใช้ทำมาหากินต่อยอดได้

ในสิ่งที่บอกว่า ทำไมถึงกล้า ที่จะก้าวไปสู่ในความเป็น RO ก็ต้องเรียกว่า เราตั้งต้นจากที่ OR ไม่ได้มามือเปล่าๆ ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ OR ทำธุรกิจมา ผ่านการ diversify ผ่านการลองผิดลองถูก ผ่านการที่เจอจุดแข็งว่า อะไรเป็น จุดแข็งเดินต่อ เราก็ต้องบอกได้ว่า เรามีทางด้านของฐาน assets (สินทรัพย์) ที่สำคัญ ที่จะไปใช้ทำมาหากินต่อยอดได้อีก เช่น สถานีบริการน้ำมัน ,Cafe Amazon ,Fit auto, PTTlpg และ PTT lubricants ทั้งหมดถือว่าเป็น physical asset  แล้ว asset เหล่านี้ ถ้าเฉพาะสถานีบริการน้ำมัน วันหนึ่งก็จะมีคนเข้ามาประมาณ 3.5 ล้านราย ทุกวันนี้ เราก็รู้อยู่แล้วว่า ข้อมูลลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ ที่สามารถนำมาต่อยอดทำธุรกิจได้ เราจึงมาต่อด้วยเรื่องของ digital asset เราก็มี บัตร Blue Card  มีสมาชิกเกือบ 8 ล้านราย เคลื่อนไหวอยู่  60-65%

CEO คนใหม่ 

โดย Blue Card ซึ่งเป็น digital assets มาบวกกับ physical asset จึงเป็นสินทรัพย์ใหญ่ที่เรามี มีความแข็งแกร่ง เราจึงเปิดนโยบายใหม่ว่า จากเดิมที่เราอาจทำแค่สินค้าของเรา แล้วส่งต่อให้ดีลเลอร์เป็นคนขาย เราจะเปลี่ยนวิถีมาเพิ่มเรื่อง outside in เหมือนกับที่เราไปเปิดในเรื่อง inclusive growth days เราจึงกล้าเปลี่ยนจาก OR ไปเป็น RO  ความกล้านั้น ประกอบด้วยสิ่งที่เรียกว่า เราเชื่อมั่นว่า เรามีทางด้านของฐาน asset อยู่ ทั้ง physical asset และ digital asset

พร้อมเปิดรับการ synergy ทุกภาคส่วน

สำหรับทีมงานของ OR ต้องเรียนว่า คนประมาณ 1,700 คน ตั้งแต่รุ่นที่เป็นรักษาการ CEO, CEO, รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ระดับฝ่าย ระดับส่วน และระดับพนักงาน ตลอดจน Outsource ที่ช่วยงานกับเรา ทุกคนได้รับการถ่ายทอดการทำงานซึ่งกันและกัน มีคู่มือ มีความรู้ มีการทดลองทำ และบอกว่าสิ่งนี้เดินต่อ สิ่งนี้ต้องปรับอะไรยังไง

“เราสามารถผันตัวเราเองมาออกมาเป็น inclusive ด้วยวิธีที่เรียกว่า เปลี่ยนตัวเอง OR เป็น RO เรามีศักยภาพของคน ศักยภาพของทีมงานเรา ข้อสำคัญ คือ mindset (กระบวนการคิด) คนของเรานั้น เป็น mindset ที่เรียกว่าพร้อมที่จะเปิดรับการ synergy ทุกภาคส่วน เห็นได้จากเดิมเราสร้าง PTT station , Cafe Amazon , Fit auto ส่งให้แฟรนไชส์ ปัจจุบันเราเปิด เรามี คามุ คามุ,โอ้กับจู๋ แต่ถามว่า OR จะไปเฉพาะเล็กๆแบบนี้หรือไม่ ก็ไม่ใช่ เพราะโอกาสอะไรที่ทำให้เรามี การสร้างโอกาสซึ่งกันและกัน ทั้งของ OR และบริษัททุกขนาด เราเปิดรับเสมอ เวลานี้มีหลายๆ รายที่กำลังคุยกันอยู่ แต่ก็ขึ้นอยู่ว่า purpose  เราตรงกันไหม และ value ที่เราให้ตรงกันไหม

CEO คนใหม่ 

เพราะ value ที่ OR มี คือ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดย value นี้ ไม่ใช่สิ่งที่ OR คิดเอง แต่เป็น value ที่ผู้บริโภคยุคปัจจุบันให้ความสำคัญ จึงเป็นทิศทางที่ธุรกิจเดิน เราไม่ได้มาด้วยตัวเปล่าๆ โดยเราต้องกล้าที่จะออกไปเชิญชวนเพื่อนมา  ปัจจุบันเรามีบริษัทย่อยใน 10 ประเทศ และเราจะไปเปิด Cafe Amazon ที่ซาอุดิอาระเบีย ดังนั้น ในมุมของ OR เรามองว่า Cafe Amazon สามารถที่จะเป็นแบรนด์ของคนไทย สร้างชื่อเสียง และสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ Cafe Amazon ไปอยู่ในโซนที่เรียกว่า Middle East

วาง 4 กลยุทธ์ ไม่หวั่นเปลี่ยน “เบอร์ 1”

ในวันข้างหน้า อาจจะกังวลกันว่า เดี๋ยวเปลี่ยนเบอร์ 1 จะมีผลต่อ OR หรือไม่บอกเลยไม่ได้มีความกังวลอะไร เพราะเรามีทิศทางที่ชัดเจน ทิศทางที่เราจะไปเป็นแบบ Inclusive เรามีคนทำงานที่มีทางด้านของ Patnership Model โดยชั้นล่างของตึกเอนโก้ B จะเป็นหน่วยงานถาวรที่เปิดรับการพูดคุยกับคนที่สนใจที่เข้าร่วมลงทุนกับ OR

ดังนั้น Way ชัด ทิศทางชัด ทิศทางที่ว่าไปด้วย 4 กลยุทธ์

อันแรก Seamless Mobility เป็นการเปลี่ยนจากการใช้น้ำมัน ไปเป็นพลังงานสะอาด หลายคนจะเห็นว่ามีที่ชาร์จ ที่เรียกว่า EV Station Plus และก็มี Application ด้วยชื่อเดียวกัน เราก็มีเป้าว่าในปี 2030 จะติด EV Charging ให้ครบ 7,000 แห่งทั่วประเทศ

CEO คนใหม่ 

อันที่สอง All Lifestyles เราไม่ได้อยู่เฉพาะ F&B เราหมายถึงว่าสินค้า และผลิตภัณฑ์ บริการที่อยู่ในชีวิตผู้คนจะเข้ามาอยู่ในตัว All Lifestyles ของ OR  บริการให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัยด้วยตัวของ Application เพราะว่าในตอนนี้ก็จะเห็นว่าทุกรุ่นรวมถึงทั้งรุ่นเรา เดี๋ยวนี้ไม่ได้พกเงินสด ใช้ด้านหน้าจอของมือถือไม่ว่าจะเป็นออเดอร์สินค้า หรือจ่ายเงิน แม้กระทั่งเงินทำบุญเดี๋ยวนี้วัดก็รับให้สแกน QR Code ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรับเพื่อให้เกิดความสะดวก เกิดความที่ผู้บริโภคก็ คืออยู่ในวงจรชีวิตทางด้านสินค้าและบริการของกลุ่ม OR ไม่ใช่เฉพาะ OR เราหมายถึงพาร์ทเนอร์ด้วย

อันที่สาม  Global Market เรามีความตั้งใจที่จะพาแบรนด์ไทยไปยังต่างประเทศ  การพาไปไม่ใช่เฉพาะตัว OR แต่ที่จะพาไป คือ สินค้าของคนไทยที่อยู่ใน Eco System ของ OR ด้วย มีโอกาสที่จะไปต่างประเทศพร้อมกับ OR

อันสุดท้าย OR Innovation ของ OR มีความแตกต่างจากที่อื่น วัตถุประสงค์ของเรา ไม่ใช่บอกให้ไปหาเทคโนโลยีขั้นสูง แต่เป็นการค้นคิดกระบวนการใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมดีขึ้น คำว่า “ดีขึ้น” ไม่ใช่ว่าเป็น One Time แบบ CSR หรือ บริจาค และไม่ใช่กิมมิคแค่การถ่ายภาพพีอาร์ แต่มันคือ การที่ทีมงานนี้จะต้องคิดว่า Process จะต้องปรับอย่างไร Product จะต้องปรับอย่างไรถึงจะทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์ การไม่ทำลายของเสีย หรือการจะทำให้ Startup SME หรือ Corporate ได้มาอยู่ในทางด้านเดียวกับเรา อาจจะเกิด Business ใหม่ อาจจะเกิดในรูปของบริษัทใหม่ หรืออาจจะเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทต่างๆ รวมทั้งการตั้งบริษัทขึ้นมา อันนี้ก็จะไปอยู่ทางด้านของ OR Innovation ไม่ได้เน้นในด้าน Hight Technology แต่เน้นว่าต้องเป็นนวัตกรรมที่ทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น

เป้าหมายใหญ่ OR 2030 Goals  

ถามว่าหวั่นไหมในการที่จะเปลี่ยนผู้บริหารหรือว่าอะไร จิราพร บอกชัดเจน ว่าวิธีการทำงานในระดับหนึ่งที่ทีมงานของOR ในทุกระดับเขาได้ลงมือทำแล้วเห็นผลแล้ว สามารถคืบต่อไปได้อันนี้ก็คือ 2030 Goals เป้าหมายเราชัดเจนว่า OR จะเป็นองค์กรที่วัด Bottom Line ด้วย 3 ด้าน หรือว่าเป็น Tripple Bottom Line

ด้านแรกคือด้านของ People เรื่องของ Living Community ธุรกิจของ OR ที่ทำต้องทำให้ชุมชนประมาณ 15,000 ชุมชน หรือ 12 ล้านชีวิต มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันนี้คือตัววัดของ Bottom Line ตัวแรก

CEO คนใหม่ 

ตัวที่สองคือเรื่องของ Planet หรือของเราคือ Healthy Environment นั่นคือการทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น การใช้พลังงานสะอาดส่งเสริมมากขึ้น ทั้ง solar loop ของตัวเอง และขาย solution ให้กับลูกค้า เรื่อง EV และพลังงานใหม่อาจจะมาเรื่องของไฮโดรเจน เราได้ทดลองร่วมกับกลุ่ม ปตท. สำหรับเป้าหมาย Planet  คือ 2030 เราจะเข้าสู่ความเป็นกลางทางด้านคาร์บอน แล้วก็ปี 2050 ก็คือ Net Zero  ตรงนี้กลุ่มOR อาจจะไปได้เร็ว เพราะว่าธุรกิจที่ OR ทำอยู่มันคือ การซื้อมาขายไป เราไม่ใช่ Production

สุดท้ายเรื่องของ Economic Prosperity เป็น Bottom Line ตัวที่สาม ทั้งหมดของคนที่อยู่ใน Eco System ซึ่งอยู่ในพาร์ทเนอร์ของ OR ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์ เฟรนไชส์ หรือว่าเป็นคนที่เราเข้าไปลงทุน เราจะตั้งเป้าไว้ว่า 1 ล้านราย ที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายไปพร้อมกับ OR และนี่ก็คือ “OR 2030 Goals”

คน OR ต้อง Incrusive ต้องปรับและเดินหน้าต่อ

ส่วน Inclusive แล้วมันต้องเปลี่ยนวิธีทำงานของกลุ่มOR เราได้บริษัทจะเป็นเล็กมา หรือบริษัทกลางมา ก็แล้วแต่ หรือสตาร์ทอัพ ก็แล้วแต่ ได้มาแล้วต้องพูดคุยซึ่งกันและกัน  เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเขา Step แรกที่เรียกว่า Engage เป็น Step ที่ Partner ที่เราสนใจลงทุนด้วยกัน มาศึกษาด้วยกันว่าเขามีจุดแข็งอะไร OR มีจุดแข็งอะไรที่จะ Synergy ด้วยกันได้ เหมือนกับระยะดูใจ พอดูใจเสร็จก็มา Engage Enable ด้วยกัน

เหมือนอย่างโอ้กะจู๋  เราก็บอกกับเขาว่าผลิตภัณฑ์เขาให้มีปรับเพิ่มแตกโปรดักส์  เช่น แซนด์วิซ ที่เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ แซนด์วิซ สามารถที่จะผลิตแล้วเอาออกจาก Cafe Amazon ได้ อย่างโอ้กะจู๋ เขาก็แตกไลน์โปรดักส์ สิ้นปีนี้จะมี 80 สาขา ของ Cafe Amazon ที่มีสินค้าโอ้กะจู๋ เข้าไปขาย บริษัทที่เป็น Startup หรือ SME เขาจะมีจุดที่จะทำให้เขาไปต่อไม่ได้ ในขณะที่เขาขยายตลาดได้แล้ว เวลาจะไปต่อมันจะเกิดความไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืนตรงงานกองกลาง และหลังบ้าน นั่นคืองานการเงิน ภาษี งานเรื่องบุคคล ตรงนี้คน OR สามารถที่จะไปเป็นพี่เลี้ยงให้เขาได้ ว่าจะปรับปรุงระบบบัญชีอย่างไร ต้องใช้มาตรฐานบัญชีอะไรในธุรกิจ ทำให้เขามีความแข็งแกร่ง Enlarge

Capture.PNG55

สุดท้ายเราปล่อยเป็นอิสระ Empowered  อย่างเช่น บริษัท ออร์บิท ถ้า Step ต่อไปเขาอยากจะเอาตัวนี้ไป IPO เราก็ไม่ได้ปิดกั้น เรายังสนับสนุนด้วยว่า เรามีประสบการณ์ในการทำ IPO

“หลักการที่เรียกว่าคน OR ต้อง Incrusive แล้วก็ปรับวิธีคิด วิธีทำงาน ซึ่งก็ต้องมีการสร้างความแข็งแกร่งให้คนที่เขาอยู่สายบัญชี การเงิน สาย HR ต้องพร้อมที่จะไปเป็นพี่เลี้ยงของผู้อื่น  ด้าน Marketing ของพวกเราก็ใช้ได้ในระดับหนึ่ง อันนี้เป็นเรื่องที่จะบอกว่าสไตล์ของคน OR ที่จะต้องมีการปรับและเดินหน้าต่อ”

ในสิ่งต่อไปก็จะเป็นในเรื่องของ ถามว่าการเปลี่ยนจาก OR เป็น RO การเปลี่ยนจากคนที่เคยสำเร็จการมี Market Share อันดับ 1 มา 40 ปี จะต้องเปลี่ยนไปสู่วิธีที่ Inclusive เปลี่ยนไปสู่การเป็นรีเทลนำหน้าออยล์ อะไรคือเรื่องสำคัญ ความสำคัญในสิ่งที่ตัวเองคิดไว้ ก็คือ 2 เรื่อง

สิ่งที่เราใช้สื่อกับพนักงาน ตลอดจนกระทั่งพูดคุยทำความเข้าใจกับบอร์ด ในเรื่องของ Mindset มองเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นเรื่องสนุก ให้เป็นเรื่องของความท้าทาย

เรื่องแรก  Mindset ของพนักงานทั้งหมดทั้ง 1,700 คน  ในความเห็นตัวเองบอร์ดด้วยเช่นกัน มองว่าก็จะอยู่ในคนที่ชี้ทิศทางของบริษัท เป็นคนที่ประคองให้บริษัทเดินได้สำเร็จในสภาวะของสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน คู่แข่งรวดเร็ว คู่แข่งตามทัน เรื่องสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทาย ต้องเริ่มมองว่าองค์กรต้องปรับ ดังนั้นต้องเปลี่ยน อันนี้เป็นสิ่งที่เราใช้ในการสื่อกับพนักงานตลอดจนกระทั่งพูดคุยทำความเข้าใจกับบอร์ดในเรื่องของตัว Mindset มองเรื่องของการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเรื่องสนุก ให้เป็นเรื่องของความท้าทาย

Capture.PNG99

Capture.PNG21

อันที่ 2 คือข้อสำคัญ Tone From the top ไม่ได้หมายถึงผู้นำเบอร์ 1 หรือ เบอร์ 2 แต่หมายถึงทั้งองค์ประกอบ ตั้งแต่ทางด้านของบอร์ด ด้านการจัดการ ฝ่ายจัดการ ก็ตั้งแต่ CEO รองฝ่าย ส่วน คนที่มีระบบทีมให้เราดูแล ดังนั้นการเป็นผู้นำจะต้องมีการสื่อสาร และสื่อสาร  คุยกับทีมก็คือว่าก็ต้องลงมือทำ และลงมือเคียงข้างกับทีมงานไปด้วย เพราะว่าลูกน้อง เวลาที่เค้ามีปัญหา หรือเค้าต้องการตัดสินใจ ถ้าเขาบอกว่ามีลูกพี่อยู่ข้างๆ หรือเหลียวหลังมาเจอ เขาก็มีความอุ่นใจลึกๆ ในการทำงาน อันนี้ก็เป็นเรื่องความท้าทายของทุกองค์กร ทุกคนต้องปรับตัวหมด

ปัจจบัน EBITDA (กำไรก่อนก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย)  ของ OR มาจาก ธุรกิจน้ำมัน 75% มาจากไลฟ์สไตล์ หรือ non-oil 21% และ 4% จากธุรกิจในต่างประเทศ โดยเป้าหมายปี 2030 จะเน้นขยายตัวที่เป็นสินค้าใหม่ ธุรกิจ Lifestyles และ ต่างประเทศ จะทำให้เติบโตทั้งหมด แต่พอร์ตของน้ำมันและ EV จะอยู่ประมาณ 35% จากเดิม 75% และไลฟ์สไตล์ประมาณ 28% ต่างประเทศจะขยับเป็น 13%

CEO คนใหม่ ต้องฟังซึ่งกันและกัน

คุณสมบัติเบื้องต้นที่ควรมี CEO คนใหม่ ต้องฟังซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีม เข้าใจทิศทางการทำงานร่วมกัน

สุดท้าย ใครจะเป็น CEO ขึ้นอยู่กับบอร์ดปตท. อยู่ระหว่างพิจารณาคัดเลือก จะเป็นรูปแบบการสรรหา แต่ คุณสมบัติเบื้องต้นที่ควรมี ต้องฟังซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีม เข้าใจทิศทางการทำงานร่วมกัน OR เป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้นำในแบรนด์ต่างๆ รวมทั้งการเดินบนหลักการ tripple bottom line การดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไรที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ CEO ไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องเดินทางทิศทางนี้ บริบทขององค์กร องค์กรเดินได้ต้องเป็น One Team คือการฟังกันและกัน

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight