CEO INSIGHT

กลุ่ม ปตท. เดินหน้า ‘ลมหายใจเดียวกัน’ จนกว่าไทยก้าวพ้นวิกฤตโควิด-19

ลมหายใจเดียวกัน ชื่อนี้คุ้นหูคนไทยตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรงในประเทศ ล่าสุดได้เกิดต้นแบบความร่วมมือระหว่างองค์กร ที่ภาคธุรกิจจับมือกับภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบครบวงจร ที่เข้ามาช่วยเหลือประชาชน และช่วยแบ่งเบาภาระด้านสาธารณสุขของภาครัฐ

จากสถานการณ์โควิด-19 ระบาดมาตั้งแต่ปลายปี 2562 และเริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศไทยราวต้นปี 2563 จนกระทั่งต้นปี 2564 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์เดลตา ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงถึงวันละ 2 หมื่นคน และมีผู้เสียชีวิตสูงกว่า 200 คน ต่อวัน

ลมหายใจเดียวกัน

จากความรุนแรงของการระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ถึงแม้วันนี้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อจะลดลง แต่ก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยบรรเทาสถานการณ์และยับยั้งการเกิดโรคระบาดโดยเร็วที่สุด

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ จ้น้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ The Bangkok Insight บอกว่ากลุ่ม ปตท. เห็นว่าเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่ง ที่ต้องร่วมกันช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับระบบสาธารณสุข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่าง เพียงพอ รวดเร็ว และทั่วถึงมากขึ้น

ลมหายใจเดียวกัน
อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการ “ลมหายใจเดียวกัน” ของกลุ่ม ปตท. ขึ้น เพื่อเข้ามาช่วยเหลือ และสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 ของประเทศ เพื่อเป็นพลังต่อลมหายใจของประชาชน รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้

กลุ่ม ปตท. จึงได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และพันธมิตรทางการแพทย์ คือ มูลนิธิโรงพยาบาลในเครือบางปะกอกฯ และโรงพยาบาลปิยะเวท จัดตั้ง หน่วยคัดกรอง และโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) ภายใต้  โครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่มปตท.

กลุ่ม ปตท. มีเป้าหมายดำเนินการที่มุ่งเน้น ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจะเป็นการตรวจรักษาแบบครบวงจรที่ภาคเอกชนร่วมมือกับภาครัฐ

ปตท. 1 e1632324009596

หน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร ประกอบด้วย 4 จุดหลัก

จุดที่ 1 หน่วยคัดกรองโครงการลมหายใจเดียวกัน อาคาร EnCo Terminal หรือ Enter ของบริษัท Energy Complex กลุ่ม ปตท. ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นจุดคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยง มีการวางระบบดิจิทัล เพื่อลงทะเบียนและเริ่มจากการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และหากพบว่ามีการเสี่ยงติดเชื้อจะนำส่งตรวจ RT-PCR และทำการเอกซ์เรย์ปอด ต่อไป

สำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียวที่ตรวจพบเชื้อ แต่สามารถทำการดูแลตนเองที่บ้านหรือในชุมชน (Home or Community Isolation) จะได้รับกล่อง พลังใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็น อาทิ ปรอทวัดไข้ ยาฟาวิพิราเวียร์ และมีระบบติดตามอาการ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลถึงบ้าน ตลอดระยะเวลาการกักตัว

จุดที่ 2 จุดที่ 3 และจุดที่ 4ร้างโรงพยาบาลสนามครบวงจร โครงการลมหายใจเดียวกัน เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ทุกระดับความรุนแรง โดยโรงพยาบาลสนามครบวงจรแห่งนี้ นับเป็นการระดมกำลังของกลุ่ม ปตท. ทุกด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 

โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับ สีเขียว กล่าวคือ มีอาการไม่มาก เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง มีผื่นขึ้น และไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะเปิดรับผู้ป่วยในรูปแบบของ Hospitel กระจายไปในหลายโรงแรมในพื้นที่กทม. รวมจำนวน 1,000 เตียง ซึ่งจะรองรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากหน่วยคัดกรองอย่างเป็นระบบ 

โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับ สีเหลือง กล่าวคือ มีอาการยังไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว และมีปัจจัย เสี่ยงอื่น ๆ เช่น มีโรคร่วม จะเปิดรับผู้ป่วยโดยมีเตียงผู้ป่วยจำนวน 300 เตียง มีระบบ ออกซิเจนต่อ Direct Tube ส่งตรงถึงทุกเตียงผู้ป่วย พร้อมเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. เพื่อให้การดูแลคนไข้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เตียงพลาสติกรับน้ำหนักสูง หุ่นยนต์ CARA ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ลำเลียง เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลคนไข้ รวมถึงหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ Xterlizer UV Robot 

โรงพยาบาลสนาม ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับ สีแดง ในโครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. จัดสร้างบนพื้นที่ 4 ไร่ บริเวณพื้นที่ด้านหน้าของโรงพยาบาลปิยะเวท รองรับผู้ป่วยจำนวน 120 เตียง มีความพร้อมระดับสูงสุด โดยจัดให้มีพื้นที่ รองรับผู้ป่วยโควิดที่ต้องฟอกไตโดยเฉพาะ จำนวน 24 เตียง เนื่องจากหากคนไข้ไม่สามารถฟอกไตได้ จะทำให้คนไข้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องช่วยหายใจ ระบบออกซิเจนส่งตรงถึงทุกเตียง ซึ่งแต่ละเตียงจะแยกห้องกัน เป็นห้องความดันลบ (Negative Pressure Room) เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมมาตรฐานระดับห้องไอซียูในโรงพยาบาล ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิทัล (Central Monitor) ทำให้สามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา และมีระบบการกู้ชีพอัตโนมัติ มีเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ สามารถส่งภาพไปยังรังสีแพทย์ทางไกลได้ทันที

นับเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบเข้มข้น (Intensive Care) และมีรถพยาบาลฉุกเฉิน ที่เตรียมพร้อมรับส่งคนไข้ อีกทั้งยังมีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ มีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. และ Hybrid Treatment for PM2.5 and Airborne Pathogens ของสถาบันนวัตกรรม ปตท. มาติดตั้งเพื่อฟอกและกำจัดเชื้อโรคในอากาศบริเวณโดยรอบอีกด้วย

ปตท. 2 e1632324168204

สร้างในกรุงเทพมหานครเพราะเป็นพื้นที่ระบาดหนัก

อรรถพล กล่าวว่า กลุ่ม ปตท. ดำเนินการหน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดหนัก ในขณะที่พื้นที่อื่น ทางกลุ่ม ปตท. ให้การสนับสนุนหน่วยงานทางการแพทย์ โดยเริ่มตั้งแต่การระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2563 โดยมอบแอลกอฮอล์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น

แต่หลังจากการระบาดระลอก 3 ซึ่งได้จัดตั้ง โครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท.ขึ้นเพื่อส่งมอบเครื่องช่วยหายใจ สำหรับผู้ป่วยวิกฤต (ICU Ventilator) และเครื่องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง (High-Flow Nasal Oxygen) รวมจำนวนกว่า 400 เครื่อง พร้อมทั้งมอบงบประมาณการจัดซื้อออกซิเจนเหลวให้แก่ โรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤตและมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อใช้ในการรักษาอาการผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวมกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ 

ตั้งแต่เกิดวิกฤตการระบาดโควิด-19 จากปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน กลุ่ม ปตท. ได้มีการเข้าช่วยเหลือสนับสนุนหน่วยงานทางการแพทย์ และหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การมอบแอลกอฮอล์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น รวมมูลค่าสนับสนุนกว่า 1,700 ล้านบาท สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง จัดหน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่เชิงรุก ซึ่งได้ร่วมมือกับ กรุงเทพมหานครใน 4 พื้นที่ใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่มีความเปราะบางและเสี่ยงสูงโดยเฉพาะ ผู้ป่วยในชุมชน ผู้พิการ อีกทั้งกลุ่มแรงงานในพื้นที่ ที่อาจจะเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ยาก หรือมีความลำบากในการลงทะเบียน โดยมีผู้รับการฉีดวัคซีนรวมกว่า 60,000 คน

ปตท. 3 e1632324364339

ทำไมร่วมกับโรงพยาบาลปิยะเวท

อรรถพล บอกว่ากลุ่ม ปตท. มีการใช้บริการเรื่องการรักษาพยาบาลพนักงานกับโรงพยาบาลปิยะเวทมาก่อน ซึ่งเห็นศักยภาพและความพร้อม จึงชักชวนให้เข้าร่วมโครงการนี้ในยามที่ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด

“ตอนที่เราประสานไปที่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ให้องค์กรจองวัคซีนซิโนฟาร์มฉีดให้กับพนักงาน เราก็จอง แต่ต้องหาคนฉีดเอง ก็ไปติดต่อทางปิยะเวทให้มาฉีด คุยไปคุยมา ก็เห็นศักยภาพ และอีกอย่าง ทางปิยะเวทมีจิตอาสาเยอะมาก ที่มาทำงานร่วมกันนะ ไม่ใช่จ้าง อย่างโรงพยาบาลทั่วไป รัฐบาลให้ต่อหัวอยู่แล้วในการดูแลผู้ป่วยโควิด ก็พอบ้างไม่พอบ้าง เมื่อปิยะเวทจับมือกับเรา เราลงอุปกรณ์ให้เขาทั้งหมดเลย ทางปิยะเวทลงให้เราแบบฟูลออฟชันเลย เราไม่ต้องจ่ายเลย เขาส่งเจ้าหน้าที่มาดูแล ส่วนค่าใช้จ่ายเขาไปเบิกกับรัฐบาลเอง เขาบอกว่าพอไม่พอไม่เป็นไร ทางปิยะเวท ใส่มาเต็มที่เลย นั่นเป็นสิ่งที่ปิยะเวทช่วยเราด้วย”

อรรถพล เล่าที่มาที่ไปว่าทำไมต้องเป็น โรงพยาบาลปิยะเวท และกล่าวอีกว่า “โรงพยาบาลปิยะเวท มีความพร้อม และเขาก็อยากทำจิตอาสากับเรา จับมือกันลงตัว และสาธารณสุขก็ช่วยเราเยอะ โดยเฉพาะหน่วยคัดกรอง จะเป็นคนส่งคนมาช่วยเราตรวจ ส่วนโรงพยาบาลปิยะเวท ส่งหมอมาให้คำแนะนำคนที่ติดเชื้อแล้ว ก็ช่วยกันหลายภาคส่วน การบริหารจัดการโดยรวม ปตท. เป็นคนดูแลทั้งหมด”

สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์จากโครงการนี้ หากสถานการณ์การระบาดยุติแล้ว ทางกลุ่ม ปตท. จะนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน แต่ยังต้องขอดูว่าจะนำบริจาคที่ไหน ซึ่งถือว่าเป็นความใจกว้างของโรงพยาบาลปิยะเวทที่บอกว่าจะไม่เอาอุปกรณ์เหล่านี้

ลมหายใจเดียวกัน

ลมหายใจเดียวกัน หยุดแค่โควิด หรือไปต่อ

อรรถพล บอกว่า กลุ่ม ปตท. จะติดตามสถานการณ์ไปเรื่อย ๆ แต่ให้คำมั่นว่า กลุ่ม ปตท. จะไม่หยุดอยู่แค่นี้หากสถานการณ์คลี่คลาย โดยจะวิเคราะห์ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และความจำเป็นว่าประเทศต้องการอะไร

เราจะมอนิเตอร์ไปเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์ก่อน เราให้คำมั่นว่าเราจะไม่หยุด เราจะทำอะไร เรามอนิเตอร์ตามสถานการณ์และความจำเป็นของผู้คน ความความจำเป็นของประเทศ แอคชันของกลุ่ม ปตท. จะตอบสนองตามสถานการณ์จริง ๆ ตามความจำเป็นของประเทศ

อรรถพล ยกตัวอย่างในช่วงการระบาดรอบแรกในต้นปี 2563 ที่มีปัญหาขาดแคลนแอลกอฮอล์ ทางกลุ่ม ปตท. ก็บริจาคแอลกอฮอล์ไปให้กับสถานพยาบาลทั่วประเทศ จากนั้นในช่วงปลายปี ได้จัดตั้ง โครงการ Restart Thailand เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการจ้างงานของกลุ่ม ปตท. กว่า 25,000 อัตรา และในปี 2564 เกิดสถานการณ์โควิดระลอก 3 กลุ่ม ปตท. ก็จัดตั้งโครงการลมหายในเดียวกัน

สำหรับ โครงการลมหายใจเดียวกัน ทั้ง หน่วยคัดกรอง และโรงพยาบาลสนามครบวงจร และการสนับสนุนทางการแพทย์นั้น อรรถพล บอกว่า ยังไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย” 

This slideshow requires JavaScript.

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo