CEO INSIGHT

ยักษ์อีคอมเมิร์ซ ใช้ ‘อัลกอริธึม’ กีดกันทางการค้า กขค. สร้างความเท่าเทียม สมรภูมิค้าออนไลน์

กขค. สร้างความเท่าเทียม สมรภูมิการค้าออนไลน์ หลังยักษ์อีคอมเมิร์ซ ใช้อัลกอริธึม สร้างกำแพงกีดกันทางการค้า เร่งวางกรอบกฎหมาย ไกด์ไลน์แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่

จากการที่ประเทศไทย มีการใช้แพลตฟอร์อีคอมเมิร์ซ เป็นอันดับที่ 16 ของโลก และยังครองแชมป์ที่ 1 ในอาเซียน โดยมีมูลค่ารวมกว่า 46.51% ของธุรกิจเมื่อเทียบกับ
ธุรกิจดั้งเดิม สะท้อนอัตราการใช้จ่ายที่สูงของคนไทย แต่เมื่อพิจารณารายได้ที่เข้าสู่กระเป๋าของผู้ประกอบการ กลับพบว่า ในแพลตฟอร์มเหล่านั้น มีสินค้าของผู้ค้าไทยเพียง 23% ในขณะที่สินค้าส่วนใหญ่ที่ขายบนแพลตฟอร์มเป็นของต่างชาติถึง 77% ทำให้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. สร้างความเท่าเทียม สมรภูมิการค้าออนไลน์

กขค. สร้างความเท่าเทียม

ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึง ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมและพฤติกรรมการบริโภค จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจในประเทศ และกลายเป็นช่องทางการซื้อขายที่สำคัญ เพราะเพียงแค่เปิดเครื่องมือสื่อสาร ก็จะเจอกับแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่สามารถรองรับได้ ทั้งการค้าปลีก ค้าส่ง การบริการ การท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้เพียงไม่กี่วินาที

หากพิจารณาเพียงผิวเผิน จะเห็นว่าเป็นข้อดีสำหรับผู้บริโภค แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับเป็นก้างชิ้นใหญ่ ของผู้ประกอบการค้าปลีก ที่กำลังจะถูกแย่งตลาด โดยผู้ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่มากกว่า อีกทั้งยังนำมาซึ่งโอกาสการมีอำนาจเหนือตลาด หรือการผูกขาดทางการค้า อย่างมีนัยสำคัญ ในอนาคตอีกด้วย

อัลกอริทึมกับการกีดกันทางการค้า

นอกจากการเข้ามาแย่งตลาดของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบ ขณะนี้พฤติกรรมที่ต้องเฝ้าระวังที่เกิดขึ้น ของแพลตฟอร์มออนไลน์ ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่น่าสนใจคือ “อัลกอริทึม” ซึ่งยักษ์ใหญ่หลายรายในต่างประเทศนำมาใช้ ทั้งการตรวจสอบราคา ของแพลตฟอร์มคู่แข่ง ที่นำไปสู่การตั้งราคาที่ถูกกว่า
ของสินค้าที่อยู่บนแฟลตฟอร์มของตัวเองโดยอัตโนมัติ

ข้อมูลประกอบบทความ 4

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือในการลดการมองเห็นโพสต์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะในเชิงพาณิชย์ของคู่แข่งในตลาด ซึ่งส่งผลต่อการวางกลยุทธ์ด้านราคา ของผู้ประกอบการรายย่อย
ที่ไม่สามารถเข้าถึงการใช้เทคโนยีเหล่านี้ได้ หรือแม้แต่กระทั่งการผลักดันให้ผู้บริโภค มองเห็นเนื้อหาการค้าขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ อย่างซ้ำไปซ้ำมา

เทคโนยีเหล่านี้ เป็นความท้าทายแบบใหม่ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีโครงสร้างที่จับต้องได้ และถือเป็นอีกหนึ่งปัญหา ที่ทั่วโลกจำเป็นต้องมีทางแก้ที่เป็นรูปธรรม และหากในอนาคต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อาจเป็นปัญหาที่สายเกินแก้เช่นกัน

วางกรอบกฎหมายลดการเอาเปรียบรายย่อย

ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม ที่ทำให้ธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSMEs) ดั้งเดิมต้องมีการปรับตัว ให้ทันกับเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง แต่ปัญหาการปรับตัวที่ไม่ทัน ทำให้การเติบโตที่ลดลงของกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี

กลุ่มธุรกิจนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีสัดส่วนถึง 99.5% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด มีบทบาทต่อการจ้างงานที่สูงถึง 12 ล้านคน และมีผลประกอบการที่มากกว่า 35% ใน GDP รวมของประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวกำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงทั้งการฟื้นฟูสภาพคล่อง

ข้อมูลประกอบบทความ 3

ประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งเยียวยาและแก้ไข พร้อมผลักดันให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ กลับมามีพลังในการสร้างเศรษฐกิจไทย ให้กลับมาสดใสอีกครั้ง ด้วยการสร้างกลไก และสภาพแวดล้อม การแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมเท่าเทียม

การเข้ามาครองตลาดของแพลตฟอร์มต่างชาติ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งรายย่อยเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อแพลตฟอร์มที่เป็นของคนไทย ที่มีการใช้บริการลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ผลกระทบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย แต่ประเทศในกลุ่มอาเซียน ก็ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เช่นกัน

ดังนั้น ในการสกัดกั้นการถูกแพลตฟอร์มออนไลน์เอาเปรียบ จึงควรเป็นในลักษณะของความร่วมมือ และกติกาที่ควรนำมาใช้ควรหยิบยกจากประเทศใหญ่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จ หรือมีแนวทางที่เป็นรูปธรรมแล้ว

ทั้งนี้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้ยื่นข้อเสนอแนวทางดังกล่าว ต่อเลขาธิการอาเซียน ให้กำหนดเป็นวาระสำคัญในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อผลักดันมุมมองเรื่องนี้เข้าไปในวาระสำคัญที่อาเซียนต้องร่วมมือกันเร่งแก้ปัญหา เพราะถ้าหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ๆ หมายถึงความยิ่งใหญ่ของธุรกิจต่างชาติ ที่จะคืบคลานและยิ่งทวีอำนาจในที่สุด

ข้อมูลประกอบบทความ 2

กขค. เริ่มแล้ว ไกด์ไลน์แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่อาหาร

สถานการณ์และปัญหาการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ที่เกิดขึ้นต่อ MSMEs เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ในการเข้ามากำกับการประกอบธุรกิจข้องกับอีคอมเมิร์ซอีกทาง

สิ่งที่สำนักงานฯ ได้เร่งแก้ไขแล้วคือ ออกประกาศแนวทางพิจารณา การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (ไกด์ไลน์) ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร กับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร ที่อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร มีการติดตามพฤติกรรมของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิด พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560

ในส่วนของการค้าระหว่าง SMEs และผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ ได้มีการจัดทำแนวทางพิจารณา การปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม เกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit Term) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งพฤติกรรมการส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย เพื่อให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ตระหนักและเข้าใจกฎหมายการแข่งขันทางการค้า และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ ได้อย่างเสรี และเป็นธรรมมากขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo