CEO INSIGHT

เส้นทางสู่เจ้าแห่งทุน : ‘สันติ ภิรมย์ภักดี’ ดวงดาวในเป้าหมาย (จบ)

การปรับโครงสร้างธุรกิจในปี 2557 ตลอดจนการขยายเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสิงห์ ตามที่ได้กล่าวถึงในตอนก่อนหน้า สิงห์มีเป้าหมายเดียวคือ เติบโตอย่างก้าวกระโดด  จากการสำรวจคำสัมภาษณ์ผู้บริหารสิงห์ในสื่อระหว่างปี 2557-2559 พบว่า ในเชิงยุทธศาสตร์ สันติ ภิรมย์ภักดี  ตั้งเป้าขยับองค์กรและผลิตภัณฑ์สิงห์ให้ทะยานขึ้นไปอยู่ระดับโลก 

bbb 1
ภาพ : kanthad Yangsattha, google

ส่วนเป้าหมายทางการเงิน คือผลักดันรายได้ทั้งกลุ่มจาก 120,000 ล้านบาท ณ ปี 2557  ขึ้นเป็น 250,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี  ซึ่งหมายถึงภายในปีนี้ (2562) เพื่อสนองต่อทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ และเป้าหมายรายได้ข้างต้น สันติตั้งเป้าหมายให้ทีมบริหารดันแบรนด์ สิงห์ ให้ขึ้นไปอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของอาเซียน เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าว สิงห์จะรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

ปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการบริหารบริษัทบุญรอด บริวเวอรี เคยให้สัมภาษณ์นิตยสารฟอร์บส์ ประเทศไทย ขณะนั้น (ปี 2557)ว่า   สิงห์ตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ 15-20% ต่อปี  และเพิ่มสัดส่วนรายได้จาก 8% เป็น 15%  หรือสร้างรายได้ประมาณ 10,000 ล้าบาท

ขณะเดียวกัน สิงห์ อสังหาฯ ที่่ถูกวางไว้ว่าต้องสร้างรายได้ให้ได้ 20% ของรายได้รวมทั้งกลุ่ม ล้วนมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ใหม่ 

หากเปรียบเทียบเป้าหมายระหว่าง สิงห์ กับไทยเบฟ (ช้าง) คู่แข่งโดยธรรมชาติในตลาดเบียร์มูลค่าแสนล้านของไทย ทั้ง 2 ค่าย แทบไม่แตกต่างกัน 

640x390 489806 1413361208 side

ไทยเบฟ ประกาศเป้าหมายไว้ในวิสัยทัศน์ 2020 ว่า “ก้าวขึ้นเป็นบริษัทเครื่องเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดและมีผลกำไรสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”  ขณะที่สิงห์ตั้งเป้าขึ้นไปสู่ ท็อปทรี (อาเซียน) เป็นต้น  หรือไทยเบฟ ตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากสินค้าในกลุ่มไร้แอลกอฮอล์ สิงห์ก็ตั้งเป้าในทิศทางเดียวกัน และยังเดินด้วยแนวทางคล้ายๆ กัน  เช่น การเข้าสู่ธุรกิจกาแฟ

ริษัทในกลุ่มสิงห์  รุกธุรกิจกาแฟด้วยการตั้งบริษัท ดีวีเอส 2014 กิจการร่วมทุนกับบริษัท ดอยช้าง  ค็อฟฟี่ ออริจินอล ขึ้นในในปี (2558) บริษัทลูกของเบอร์ลี่ยุคเกอร์ (ในกลุ่มทีซีซี ) ซื้อกิจการดอยวาวี (2561)  ล่าสุดกิจการในกลุ่มเอฟแอนด์เอ็น(ในเครือไทยเบฟ) ร่วมทุนซื้อสิทธิ์ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ ในไทยในปีนี้ (2562)  เป็นต้น

ความต่างระหว่าง  “สิงห์” กับ “ไทยเบฟ” เพียงหนึ่งเดียว  คือ “กลยุทธ์”  สิงห์ใช้วิธีส่งออกจากฐานการผลิตในไทยเข้าไปทำตลาดในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี รวมทั้งจีน  ขณะไทยเบฟใช้วิธีรุกเข้าซื้อกิจการในประเทศเป้าหมาย เช่น เข้าลงทุนถือหุ้นใหญ่ประมาณ 53% (2560) ในเบียร์ซาเบโก เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นหนึ่งในอาเซียน

แม้วิธีการต่างแต่สิงห์และไทยเบฟมองเป้าหมายไปที่ดาวดวงเดียวกัน คือ ยืนอยู่แถวหน้าของตลาดเบียร์อาเซียน โครงสร้างธุรกิจของสิงห์ที่แบ่งเป็น 5 สาขา มาตั้งแต่ปี 2557 โดยมีบริษัทบุญรอด บริวเวอรี  ทำหน้าที่เสมือนกิจการแม่ และมีบริษัทสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ที่ก่อตั้งในปี 2544 ทำหน้าที่ขับเคลื่อนธุรกิจในภาพรวม ทำให้ภาพความเป็น “กลุ่มสิงห์” ชัดเจนขึ้น 

14 สันติ ภิรมย์ภักดี

การขยายตลาดเบียร์สิงห์ในต่างประเทศ  ปักธงธุรกิจอสังหาฯ พร้อมกับแผนยกระดับ ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจอาหาร คือหลักพื้นฐานของธุรกิจ ถ้าอยากโตต้องขยาย

แน่นอน ขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น ย่อมสัมพันธ์กันกับการสะสมทุนของ “สันติ”  และ “ตระกูลภิรมย์ภักดี”  ตระกูลผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมเบียร์ไทย

Avatar photo