CEO INSIGHT

เส้นทางสู่เจ้าแห่งทุน : ‘ธนินท์ VS เจริญ’ เส้นทางแห่งทุนที่แตกต่าง (4)

 เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์ ขึ้นทำเนียบบุคคลที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 31,830 ล้านบาท)  มาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2530 นับจากนั้นความมั่งคั่งของเจ้าสัวธนินท์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เดือนพฤษภาคม 2562  นิตยสารฟอร์บส์ ประกาศอันดับมหาเศรษฐีโลก เจ้าสัวธนินท์ ครองอันดับ ผู้มั่งคั่งของประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีสินทรัพย์ 15,200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 500,000  ล้านบาท นับเป็น มหาเศรษฐีอันดับ 87 ของโลก

สินทรัพย์ของ เจ้าสัวธนินท์ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว หรือจาก 2,000 ล้านดอลลาร์  (ราว 65,000 ล้านบาท) ในปี 2551 เป็น 15,200 ล้านดอลลาร์ ในปี 2562 ความมั่งคั่งที่พอกพูนขึ้น ทำให้ชื่อ“ธนินท์ เจียรวนนท์” ยืนอันดับ 1 ของวงการเศรษฐีไทยถี่ขึ้นในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา เช่น ปี 2558  ปี 2559 รวมทั้ง ปีล่าสุด

ธนินท์2
ธนินท์ เจียรวนนท์

หากย้อนกลับไปดูเส้นทางแห่งทุน เจ้าสัวธนินท์ ตลอด 9 ทศวรรษที่ผ่านมา นับแต่ได้มีการเปิดร้านเจียไต๋ เมื่อปี 2464  จรัญ เจียรวนนท์ พี่ชายคนโตนำน้องๆ “เจียรวนนท์ “ เปิดห้างเจริญโภคภัณฑ์ ในปี 2502 กลายเป็น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในปัจจุบัน พบว่ามี 5 ปัจจัย ที่นำมาซึ่งทุน และความมั่งคั่ง มาสู่ เจ้าสัวธนินท์ และ “ตระกูลเจียรวนนท์ ”   

หนึ่ง การเติบโตของธุรกิจในเครือซีพี  เป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะหลังเปิดห้างเจริญโภคภัณฑ์ในปี 2502 กิจการของซีพี ขยายตัวต่อเนื่อง จนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดธุรกิจนั้นๆ  อาทิ ซีพีเอฟ เป็นผู้นำในตลาดอาหารสัตว์ ไก่เนื้อ ซีพีออลล์ มีสาขาร้านสะดวกซื้อกระจายทั่วประเทศมากกว่า 13,000 แห่ง ทรู คอร์ปอเรชั่น ขยับขึ้นมา เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเบอร์สอง เป็นต้น

สอง  ความสำเร็จจากการแสวงหารายได้จากต่างประเทศ จากการส่งออก การเปิดตลาดต่างแดนอย่างจริงๆจังๆของซีพี เริ่มจากส่งออกไก่ ไปญี่ปุ่นเมื่อปี 2514 จากนั้นการส่งออกไก่ของซีพีก็เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันซีพีเอฟ เรือธงหลักของซีพี เป็นผู้ส่งออกไก่เนื้อรายใหญ่ของประเทศ

สาม นอกจากส่งออกแล้ว ซีพี ยังมีรายได้ต่างประเทศ จากการลงทุนในกิจการต่างๆทั่วโลก เช่น ซีพีเอฟ  มีการลงทุนใน 17 ประเทศ และสัดส่วนรายได้ของ ซีพีเอฟ ล่าสุดมากกว่า 67% มาจากต่างประเทศ

อาณาจักรธุรกิจซีพี2 01

สาม การขยายธุรกิจด้วยการเทคโอเวอร์ หรือลงทุน ผ่านบริษัทเรือธงหลัก เช่น  ซีพีเอฟ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ ฮ่องกง  ฯลฯ ในกิจการต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะช่วงหลังปี 2551 ในกิจการจำนวนมากที่ซีพีเข้าไปลงทุนหรือซื้อมานั้น มี 4 โครงการ ที่มีมูลค่าการลงทุนระดับลงทุนระดับแสนล้านบาท  อาทิ การลงทุนในผิงอัน อินชัวรันส์ ร่วมทุน กับอิโตชูถือหุ้นใน ซิติก และการซื้อหุ้น  กิจการที่ผนวกเข้ามาในอาณาจักรซีพี สัมพันธ์กับขนาดธุรกิจ และความมั่งคั่ง ของ เจ้าสัวธนินท์ โดยตรง

สี่  การลงทุนข้ามธุรกิจทำให้ซีพี มีกิจการหลากหลาย  เกษตร ค้าปลีก โทรศัพท์ การเงิน อสังหาริมทรัพย์ เปรียบเหมือนมีรายได้หลายช่องทาง ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจที่อยู่ใต้ธงเครือเจริญโภคภัณฑ์ มี 13 กลุ่ม และจะเพิ่มเป็น 15 กลุ่มในไม่ช้า จาก “กลุ่มอีคอมเมิร์ซ  และรถไฟความเร็วสูง”

ทั้งนี้ 13 กลุ่มธุรกิจของซีพี  ประกอบด้วย 1. ปุ๋ยเมล็ดพันธุ์ เคมีเกษตร 2. เกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร  3. การค้าระหว่างประเทศ  4. การตลาดและการจัดจำหน่าย 5. อุตสาหกรรมพลาสติก 6. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 7. พืชครบวงจร  8. อาหารสัตว์เลี้ยง  9. ค้าวัตถุดิบและอาหารสัตว์  10. โทรคมนาคม 11. ยานยนต์ 12. การเงินและธนาคาร(จีน) 13. เวชภัณฑ์  

อาณาจักรธุรกิจซีพี 01

ห้า  โมเดลลงทุนข้ามธุรกิจของซีพีที่กล่าวข้างต้น ช่วยเติมศักยภาพการลงทุนให้ซีพี อีกทั้งการนำกำไรมาลงทุนซ้ำ เพิ่มกำลังผลิต ยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้การสะสมทุนและความมั่งคั่งของ เจ้าสัวธนินท์ เพิ่มขึ้นจนก้าวขึ้นมายืนแถวหน้าของ มหาเศรษฐีพันล้านดอลลาร์ของไทยที่มีอยู่ราว 100 คน  

ทั้ง  5 ปัจจัย คือพลังที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของเจ้าสัวธนินท์ ให้ก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าบนเส้นทางแห่งทุน

หากเปรียบเทียบเส้นทางสู่เจ้าแห่งทุน ระหว่าง เจ้าสัวธนินท์ กับ เจ้าสัวเจริญ (เจริญ สิริวัฒนภักดี )แล้ว เจ้าสัวทั้งสอง ผลัดกันขึ้นมายืนหัวแถวนายทุน

ครั้งหนึ่งสองเจ้าสัว เคยจับมือจะตั้งโรงเบียร์ในจีนร่วมกัน (ช่วงเปิดเสรีเบียร์ ปี 2535) แต่ดีลไม่สำเร็จเพราะผลศึกษาแล้วผลตอบแทนไม่คุ้ม ทั้งนี้เจ้าสัวทั้ง คน มีจุดเหมือนและต่างกันดังนี้

collage

สองเจ้าสัวเชื่อในหลักทำธุรกิตแบบ  ครบวงจรจากต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ เหมือนกัน  

ตัวอย่าง ซีพีของ เจ้าสัวธนินท์ มี ซีพีเอฟ ผลิตอาหารสัตว์  เลี้ยง ไก่ กุ้ง ปลา หมูและมีเซเว่นอีเลฟเว่น  กับแม็คโคร เป็นช่องทางการขาย ขณะที่ทีซีซี ของ เจ้าสัวเจริญ  มี ไทยเบฟเวอเรจ  เป็นเรือธงผลิต เครื่องดื่มแอกอฮอล์ และเครื่องดื่มมสารพัดชนิด มีโรงานผลิตขวดและกระป๋องอลูมิเนียม มี บิ๊กซี เป็นช่องทางการขาย เป็นต้น

ทั้งซีพี และทีซีซี ใช้กลยุทธ์ขยายอาณาจักรธุรกิจ ด้วยการ“เทคโอเวอร์”เหมือนกัน  และยังรุกลงทุนต่างประเทศหนักในช่วงหลังปี 2551 เหมือนๆกัน  แต่ในรายละเอียดนั้น มีความต่างกันอยู่ในทีคือ ซีพี ของ เจ้าสัวธนินท์ นั้น สยายอาณาจักรไปค่อนโลก ทั้งอาเซียน เอเชีย ยุโรป และ สหรัฐ  รวม 17 ประเทศ โดยเป้าหมายคือ “ครัวของโลก”

 แต่ ทีซีซี โฟกัสอยู่ที่อาเซียน เป้าหมายของเจ้าสัวเจริญคือ “ราชันน้ำเมาอาเซียน”

ความแตกต่างระหว่าง เจ้าสัวธนินท์ กับ เจ้าสัวเจริญ  อีกจุดคือสไตล์การลงทุน สไตล์ของ เจ้าสัวธนินท์  เน้นขยายธุรกิจออกไปรอบด้าน และวางแนวดิ่งในธุรกิจ เดิม และขยายแนวราบข้ามสายสู่ธุรกิจใหม่ เช่น จากผลิตอาหารสัตว์ ขายไก่ แล้วมาทำ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

ล่าสุดซีพี กำลังข้ามสายไปทำ รถไฟความเร็วสูง (โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ) โมเดลการเติบโตของซีพี ที่เริ่มจากบริการการค้า ขยายไปเป็นผู้ผลิต แล้วยกระดับเป็น โฮลดิ้งส์ คอมพานี  (บริษัทลงทุน ) เข้าไปลงทุนในกิจการหลากหลาย โดยไม่เชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก ผลิตอาหารสัตว์ เลี้ยงไก่ อดีตผู้บริหารซีพีคนหนึ่งบอกว่าโมเดลดังกล่าว ฝรั่งยังงง

เจริญ 3
เจริญ สิริวัฒนภักดี

ขณะที่ เจ้าสัวเจริญ มุ่งลงทุนในสายธุรกิจเดิม น้ำเมา เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ ค้าปลีก  และ อสังหาริมทรัพย์  เป้าหมายของ เจ้าสัวเจริญ คือ ราชันน้ำเมา และเครื่องดื่ม อาเซียน  การเทคโอเวอร์ หรือลงทุนของเจ้าสัวเจริญในช่วงที่ผ่านมาล้วนสนองยุทธศาสตร์นี้ทั้งสิ้น

เช่น การซื้อ เอฟ&เอ็ม (ยักษ์เครื่องดื่มและอสังหาฯของสิงคโปร์ ) เข้าไปถือหุ้นใหญ่ใน ซาเบโก (ผู้นำตลาดเบียร์ เวียดนาม)  ดีลล่าสุดคือจับมือกับบริษัท แม็กซิมส์ แดเทรอ์เรอร์ จากฮ่องกง ซื้อสิทธิ์ สตาร์บัคส์ 372 สาขาในไทย หรือสะสม อสังหาฯ เข้าพอร์ต์และขยายธุรกิจอสังหาฯ ต่อเนื่อง

แม้สไตล์การลงทุนระหว่างเจ้าสัวธนินท์ กับเจ้าสัวเจริญ มีความต่างกัน หากบนเส้นทางแห่งทุน เจ้าสัวทั้งสองได้ ไปถึงจุดหมายปลายทางที่มีความมั่งคั่งเหมือนกัน

Avatar photo