CEO INSIGHT

เส้นทางสู่เจ้าแห่งทุน : ‘ซีพี’ ยุคหลัง ‘เจ้าสัวธนินท์’ (1)

การประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.ซีพีเอฟ และ บมจ.ซีพีออลล์  แกนธุรกิจหลักของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ของ ธนินท์ เจียรวนนท์  หลังอยู่ในตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2536 และ 2542 ตามลำดับ พร้อมแต่งตั้ง  สุภกิต เจียรวนนท์ บุตรชายคนโต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนทั้ง ตำแหน่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือการ บอกกล่าวต่อผู้ถือหุ้นและสังคมถึงความคืบหน้าในการ ถ่ายโอนอำนาจการบริหารให้กับทายาทของ“เจ้าสัวธนินท์”   

01 พี่น้องเจียรวนนท์
ธนินท์ เจียรวนนท์

ทั้งนี้ต้นปี 2560 “เจ้าสัวธนินท์”    ได้ขยับจากตำแหน่ง ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ไปเป็น ประธานกรรมการอาวุโส จากนั้นได้แต่งตั้งลูกชาย คน

สุภกิต เจียรวนนท์ ลูกชายคนโต เป็นประธานกรรมการ

ศุภชัย เจียรวนนท์ ลูกคนที่สี่ เป็นประธานคณะผู้บริหาร

ณรงค์ เจียรวนนท์  ลูกคนที่สาม เป็นรองประธานกรรมการอาวุโส  

รายได้ 4 เรือธงซีพี 01

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารส่วนบนสุดครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญอีกครั้งของอาณาจักรซีพีในรอบกว่า ทศวรรษ  ความจริงแล้ว “เจ้าสัวธนินท์” ตั้งใจจะถ่ายโอนอำนาจให้กับทายาทตั้งแต่ 20 ปีก่อนหน้านี้ หรือในวัยที่เขามีอายุใกล้ๆ 60 ปี  หากวิกฤติต้มยำกุ้งที่อุบัติขึ้นในปี 2540 ส่งผลให้หนี้ของเครือซีพีทวีขึ้นหลายเท่าตัวในชั่วข้ามคืน จากผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะ บมจ.เทเลคอมเอเชีย (ทรูคอร์ปอเรชั่น ปัจจุบัน) ที่ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนถึง 15,480 ล้านบาท  

ภาระหนี้ที่มาอย่างไม่คาดคิด ทำให้ “เจ้าสัว ธนินท์” เลื่อนการตัดสินใจวางมือออกไป และหันไปทุ่มให้กับการแก้ปัญหาหนี้จากวิกฤติประวัติศาสตร์ครั้งนั้น  กระทั่งสามารถนำซีพี ฝ่าพายุหนี้ออกมาได้ในปี 2542 ด้วยการขายกิจการ และเงินลงทุน กิจการในจีน และไทย เพื่อลดภาระหนี้  รวมทั้งปรับโครงสร้างธุรกิจในเครือหลายครั้ง ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2550 ซีพีผงาดขึ้นมา กลุ่มธุรกิจมากพลวัตรฐานธุรกิจของซีพีในไทย (ซีพีเอฟ) และฮ่องกง (เจริญโภคภัณธ์ฮ่องกง) รุกซื้อกิจการต่อเนื่อง หลายดีล มีมูลค่าระดับแสนล้านใหญ่พอขึ้นชั้นดีลแห่งปีเลยทีเดียว   

อาทิ การซื้อหุ้น ผิงอัน อินชัวรันส์ (ยักษ์ประกันอันดับสองของจีน) 15.75 จากเอชเอสบีซีแบงก์ มูลค่า 287,966 ล้านบาท ในปี 2556  (โดย บมจ.เจริญโภคภัณฑ์ฮ่องกง) ปีเดียวกันนั้น ซีพี เข้าซื้อหุ้น บมจ.สยามแม็คโคร 64.55 % ( ซีพีขายไปในปี 2540 ) มูลค่า 121,556 ล้านบาท คืนจากกลุ่มเอสเฮชวีเนเธอร์แลนด์ ตามด้วยการจับมือกับยักษ์ใหญ่การค้าญี่ปุ่น อิโตชู เข้าไปถือหุ้นใน ซิติก  ยักษ์ใหญ่การค้าและลงทุนของจีน มูลค่า 171,500 ล้านบาท

 ปี 2562 ซีพี แกนนำกิจการร่วมค้าเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง นำพันธมิตรกิจการร่วมค้า ชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมูลค่า 250,000 ล้านบาท เป็นต้น ถือเป็นผลงาน ส่งท้ายตำแหน่งประธานกรรมการ ของ “เจ้าสัวธนินท์” ก่อนจะผันตัวไปเป็นประธานกรรมการอาวุโสเต็มตัว

fig 09 05 2019 10 21 39

“เจ้าสัว ธนินท์” ให้สัมภาษณ์สื่อหลายครั้ง หลังเปลี่ยนผ่าน นำลูกชายทั้ง 3 คน ขึ้นมาร่วมบริหารกิจการ ในบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง ถึงบทบาทของตัวเองในช่วงต่อจากนี้ไปว่า  เขาจะให้เวลาทุ่มเทกับการพัฒนาผู้นำ ซึ่งเขามองว่า คนมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จ หรือล้มเหลวขององค์กรนั้น ทั้งนี้ซีพี ได้เปิดตัวสถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลากรอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2561 และอีกบทบาทหนึ่งคือเป็นผู้แนะนำการเปลี่ยนผ่านขององค์กรในช่วงต่อไปไม่ให้ เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ในช่วงเปลี่ยนผ่านอีกครั้งของซีพี   

กับทายาทที่ได้รับการแต่งตั้ง ขึ้นมากุมบังเหียนเครือซีพีแทน “เจ้าสัว ธนินท์” บอกว่าตัวเองให้งานที่เหมาะสม ศุภชัย (ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์) ให้งานยากมาตลอดจึงเก่งเรื่องปฏิบัติ ส่วน สุภกิต (ประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพีเอฟ และ ซีออลล์) รู้จักคนเยอะ  ( ไทม์ ไลน์ สุทธิชัย หยุ่น 2560 )  

 ปัจจุบันอาณาจักรธุรกิจซีพีครอบคลุม 13 กลุ่มธุรกิจ

1. ปุ๋ยเมล็ดพันธ์ เคมีเกษตร 

2. เกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร 

3. การค้าระหว่างประเทศ  

4. การตลาดและการจัดจำหน่าย

5. อุตสาหกรรมพลาสติก 

อาณาจักรธุรกิจซีพี 01

 

6. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 

7. พืชครบวงจร  

8. อาหารสัตว์เลี้ยง

  9. ค้าวัตถุดิบและอาหารสัตว์

  10. โทรคมนาคม

 11. ยานยนต์ 

12. การเงินและธนาคาร(จีน)

13. เวชภัณฑ์ และอยู่ระหว่างพัฒนากลุ่มอีคอมเมิร์ซ และดิจิทัล  รวมทั้งกลุ่มธุรกิจ ที่จะตั้งขึ้นมารองรับสัมปทานรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม  สนามบิน( อู่ตะเภาสุวรรณภูมิและดอนเมือง)  ในอนาคต

อาณาจักรธุรกิจซีพี2 01

 

ทิศทางของอาณาจักรธุรกิจ ที่ธุรกิจมากมายเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนไทยตลอด 24 ชั่วโมง ภายใต้การนำของ พี่น้อง  ศุกชัย สุภกิต และ ณรงค์ คงไม่แตกต่างจากยุค“เจ้าสัวธนินท์” ชนิดพลิกโฉม  เพราะทิศทางใหญ่ของ ซีพี คงถูกกำกับจากปัจจัยต่างๆดังนี้

หนึ่ง  วิสัยทัศน์หลักที่มุ่งสู่การเป็นครัวของโลก และเป็นกิจการระดับ เวิล์ดคลาส ซึ่งซีพีเอฟ ประกาศมาตังแต่ปี 2542  ยังคงเป็นแกนหลักของทิศทางกลุ่ม      

สอง  กิจการที่ซีพีลงทุนหรือซื้อมาในช่วงปี 2554-2562 เช่นการร่วมทุนกับอิโตชู เข้าไปถือหุ้นใน ซิติก  การซื้อกิจการผลิตอาหารหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สนามบิน เป็นต้น จะออกผลในอนาคตและมีส่วนกำหนดความเป็นไปของซีพีในช่วงต่อไป

สาม นอกจากนี้ทิศทางยังถูกกำกับโดย วิสัยทัศน์ของ ศุภชัย ประธานกรรมการบริหารเครือฯ คนใหม่ ที่ต้องการสร้างระบบนิเวศน์องค์กร ที่เอื้อต่อการ สร้างคนเก่งคนดี เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมเปิด เอื้อต่อการสร้าง นวัตกรรม เป็นองค์กรที่เชื่อมโยงถึงกัน มีความเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น (มติชนทีวี กุมภาพันธ์ 2560)   

 สี่  คำยืนยัน ที่สะท้อนอยู่ในคำสัมภาษณ์ ที่ “เจ้าสัว ธนินท์” บอกกับ นิกเคอิ เอเชียน รีวิว (3-9 พ.ย.2557 ) ว่าหลักการของซีพีไม่ว่า 10 ปี 20 ปี 50 ปีข้างหน้า หลักการของเราคือ ผลิตสินค้าที่มนุษย์จำเป็นต้องกินต้องใช้ “

 คำกล่าวข้างต้นคือ คำยืนยันว่าถึงจะเป็นธุรกิจไร้พรมแดน แตกสยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจอื่นมากมาย แต่อาหารยังคงเป็นธุรกิจหลักไม่เคยเปลี่ยน 

Avatar photo