CEO INSIGHT

ส่องวิสัยทัศน์ ‘เจฟฟ์ กัว’ บิ๊กโกโกลุก กับภารกิจปกป้องเอสเอ็มอี-ธุรกิจ จากภัยมิจฉาชีพ

“เจฟฟ์ กัว” เปิดแผนโกโกลุก เปิดตัว AI โซลูชันสำหรับธุรกิจ เสริมแกร่งเอสเอ็มอีและองค์กรขนาดใหญ่จากภัยมิจฉาชีพ หลังประกาศตั้งไทยเป็นสำนักงานใหญ่แห่งที่ 2 

บริษัท โกโกลุก (Gogolook) บริษัทชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ประกาศตั้งสำนักงานใหญ่แห่งที่สองในประเทศไทยเดินหน้าขยายธุรกิจทั่วภูมิภาคมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการโซลูชันป้องกันการฉ้อโกงครอบคลุมธุรกิจเอสเอ็มอีและองค์กรขนาดใหญ่ในทุกอุตสาหกรรม

โกโกลุก

นายเจฟฟ์ กัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโกโกลุก กล่าวว่า แนวทางในการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โกโกลุกพร้อมจับมือกับพันธมิตร ทุกภาคส่วนในประเทศไทยและทั่วภูมิภาค ยกระดับการป้องกันการฉ้อโกงและได้ผนึกความร่วมมือกับ ScamAdviser ให้บริการโซลูชันสำหรับธุรกิจเพื่อปกป้องชื่อเสียงและลดความสูญเสียทางการเงินจากมิจฉาชีพ

เปิดภารกิจหลักในฐานะ TrustTech

ภารกิจหลักของโกโกลุก คือ การให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผ่านโซลูชันที่ใช้นวัตกรรม AI เพื่อป้องกัน การหลอกลวงและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้งาน รวมไปถึงสร้างความไว้วางใจระหว่างองค์กรและผู้บริโภค ในทุก ๆ ช่องทางการติดต่อ ตั้งแต่การโทรศัพท์ ส่งข้อความ หรือการทำธุรกรรมทางดิจิทัล

โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของเราไม่เพียงตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคและธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล แต่ยังช่วยบริหารความเสี่ยง ที่เกิดจากภัยดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ การเลือกประเทศไทยเป็นทั้งสำนักงานใหญ่แห่งที่สองและศูนย์กลาง การขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการต่อสู้กับการฉ้อโกง ผ่านการรังสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยความไว้วางใจและสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง ยั่งยืน

นายเจฟฟ์ กัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโกโกลุก
เจฟฟ์ กัว

ธุรกิจเผชิญความท้าทายจากมิจฉาชีพมากขึ้น

จากผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ต้นทุนที่แท้จริงของการฉ้อโกงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2566 (2023 True Cost of Fraud Study Asia Pacific) พบว่า 58% ของบริษัทในภูมิภาคนี้ต้องรับมือกับการฉ้อโกง จากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น บริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาจากการหลอกลวง เช่น การดำเนินคดี ความกับผู้กระทำความผิด และค่าชดเชย เฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท (4 ดอลลาร์สิงคโปร์) ต่อทุก ๆ 25 บาท (1 ดอลลาร์สิงคโปร์) ที่สูญเสียไป

ขณะที่บริษัทค้าปลีกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 80 บาท ต่อทุก ๆ 25 บาท หรือ (3.07 ดอลลาร์สิงคโปร์) ในขณะที่สถาบันการเงินจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 128 บาท ต่อทุก ๆ 25 บาท หรือ (4.59 ดอลลาร์สิงคโปร์)

นอกจากนี้ รายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2567 (Anti-Scam Asia Report 2024) ที่จัดทำโดย องค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) ร่วมกับ ScamAdviser ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายที่ประชากรและธุรกิจได้รับ จากการหลอกลวงทางไซเบอร์ใน 13 ประเทศทั่วภูมิภาคสูงถึง 688.42 พันล้านดอลลาร์

การปรากฎตัวและการแพร่กระจายของเทคโนโลยี AI เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์การหลอกลวงในภาคธุรกิจมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น เพราะมิจฉาชีพได้ใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพื่อก่ออาชญากรรมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมต่อต้านการหลอกลวงทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 129.2 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2572 จากความต้องการของรัฐบาลและธุรกิจทั่วโลกในการแสวงหาเครื่องมือเพื่อปกป้องภัย จากมิจฉาชีพ

shutterstock 1126891595

จับมือ ScamAdviser ป้องกันการหลอกหลวงองค์กร

โกโกลุก ได้ผนึกการให้บริการโซลูชันสำหรับธุรกิจร่วมกับ ScamAdviser เพื่อต่อยอดโซลูชันที่ออกแบบมาสำหรับ องค์กรขนาดใหญ่ ไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามที่ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ภายใต้กลยุทธ์นี้ ทำให้บริษัทมีข้อมูลต่อต้านการหลอกลวงคุณภาพสูงที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย หมายเลขโทรศัพท์กว่า 2,600 ล้านเลขหมาย รวมถึง โดเมน (domain) ที่อันตราย รายชื่อ URL ลิงก์ที่มีความเสี่ยง ลิสต์สกุลเงินดิจิทัล และกระเป๋าเงินดิจิทัล กว่า 60 ล้านรายการ

ข้อมูลเหล่านี้ นอกจากช่วยให้บริษัทสร้างฐานข้อมูลในการต่อต้านการหลอกลวงทางดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุด ในโลกแล้ว ยังช่วยให้บริษัทสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาผสานเข้ากับความเชี่ยวชาญด้าน AI มาวิเคราะห์และจำลอง รูปแบบการหลอกลวง เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยป้องกันการหลอกลวงองค์กรที่เหนือระดับและขยายโอกาส ในการดำเนินธุรกิจไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

โซลูชันสำหรับธุรกิจในประเทศไทย

Whoscall Verified Business Number หรือ VBN ช่วยยืนยันเบอร์โทรศัพท์ของธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความถูกต้องของสายเรียกเข้า ธุรกิจสามารถใช้โซลูชันนี้เพื่อเสริมสร้าง การสื่อสารกับลูกค้า ปกป้องภาพลักษณ์ ของแบรนด์ และป้องกันความเสียหายต่อชื่อเสียงจากการ ถูกแอบอ้าง โดยเบอร์โทรศัพท์ที่ได้รับการยืนยันแล้วจะแสดงชื่อ โลโก้ จุดประสงค์ของการติดต่อ และเครื่องหมายการยืนยัน

ระบบเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับการฉ้อโกง (Fraud Early Warning System) เป็นระบบอัจฉริยะ ที่ให้บริการครบวงจร ทั้งการตรวจสอบ การแจ้งเตือนล่วงหน้า และการป้องกันจากการโทร ข้อความ โดเมน URL หรือโซเชียลที่อาจเป็นภัยต่อองค์กร

ปัจจุบันมีลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอีในภาคส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่โลจิสติกส์ สถาบันการเงิน ประกันภัย และอสังหาริมทรัพย์ กว่า 100 บริษัทลงทะเบียนเพื่อยืนยันหมายเลขธุรกิจบน บริการ Whoscall Verified Business Number

สำหรับแผนงานในอนาคตของบริษัท มีแผนขยายบริการไปยังภาคเทคโนโลยีทางการเงิน และนำเสนอ โซลูชันเพื่อป้องกันภัยจากอาชญกรรมไซเบอร์ให้เข้ากับความต้องการของภาคธุรกิจต่าง ๆ ทั้ง สถาบันการเงิน โทรคมนาคม และผู้ให้บริการทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo