CEO INSIGHT

กำเนิดทุนรถไฟฟ้า: ‘ปลิว ตรีวิศวเวทย์’ ราชา สัมปทาน (4)

ชัยชนะของ คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือบีทีเอส  ในศึกชิงสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีชมพูและสายสีเหลือง เปรียบเหมือนยกแรกเพราะทั้ง คนนั่นคือ ปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร  บมจ. ช.การช่าง ยังเผชิญหน้าทั้งทางตรงและอ้อมในการประมูลสัมปทานโครงการระบบรางในช่วงถัดมาอีกหลายครั้ง ที่ระบุเช่นนั้นเพราะ รัฐบาล คสช. วางเป้าหมาย ผลักดันโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โครงการระบราง ฯลฯ มีทั้งที่ลงทุนเอง หรือเปิดทางให้เอกชนลงทุนผ่านกลไก  “พีพีพี ฟาสแทรค” ที่ได้กล่าวถึงแล้วในตอนก่อนหน้า

โดยในปี 2560 ประมาณว่ารัฐบาลเปิดประมูลโครงการต่างๆรวม 50 โครงการ มูลค่าราว 500,000 ล้านบาท ซึ่ง ปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร  บมจ. ช.การช่าง เคยระบุระหว่างการแถลงข่าวครั้งหนึ่งว่าปี 2560 เป็น ปีทองของวงการก่อสร้างไทย   

 ช.การช่าง เริ่มต้นธุรกิจจากอู่ซ่อมรถแถวสี่แยกบ้านแขก ถนนอิสรภาพ ก่อน ตั้งบริษัท ช.การช่าง พร้อมเปลี่ยนมาทำธุรกิจก่อสร้างในปี 2515 โดยยึดตลาดงานโยธาและโครงการของรัฐเป็นเป้าหมาย  ตอนนั้น ปลิว อายุ 29 ปี ข้อมูลวิกีพีเดีย ระบุว่า ปลิว เป็นเด็กเรียนดี เคยเรียนที่สวนกุหลาย ได้ทุนจาก“มอนบุโช” ไปเรียนปริญญาตรี และโท วิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น 

ปลิว 222
ปลิว ตรีวิศวเวทย์

ยี่สิบปีให้หลังก่อตั้ง ด้วยเป้าหมายชัดเจนคือ มุ่งโครงการรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ขยายขอบเขตธุรกิจ ด้วยการจับมือร่วมทุนกับยักษ์วงการก่อสร้างต่างประเทศ (ตั้งบริษัทร่วมทุนกับ โตกิว คอนสตัคชัน ยักษ์ก่อสร้าง จากญี่ป่นในปี 2524 ) มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับลูกค้า การขยายธุรกิจสัมปทานสร้างพลังผนึกกับธุรกิจหลัก(ก่อสร้าง) ฯลฯ คือหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ ช.การช่าง ผงาดขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าในวงการก่อสร้างไทย

ช.การช่าง เริ่มขยายสู่ธุรกิจสัมปทานโครงสร้างพื้นฐาน

ปี 2531 ปลิว ตั้ง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ (บีอีซีแอล) ประมูลสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2

ต่อมาปี 2541 ปลิว ก่อตั้ง บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีเอ็มซีแอล) เพื่อลุยสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ( สายเฉลิมมงคล รถไฟฟ้ามหานคร) เส้นทาง หัวลำโพงบางซื่อ 27  กิโลเมตร (กม.) รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ก่อนที่ทั้ง 2 บริษัท ( บีเอ็มซีแอล กับ บีอีซีแอล) จะควบรวมเข้าด้วยกันเป็น บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ บีอีเอ็ม การขยายสู่ธุรกิจสัมปทานออกไปอย่างหลากกลายทำให้ ภาพความเป็นกลุ่มธุรกิจของ ช.การช่าง มีความชัดเจนขึ้น 

ในปี 2543  ขยายเข้าสู่สัมปทานผลิตน้ำประปา ตั้ง บริษัททีทีดับบลิว ขึ้นมารับผิดชอบ 

ในปี 2554 ก่อตั้ง บมจ. ซีเค พาวเวอร์ หรือ ซีเคพี รุกสู่สัมปทานพลังงาน โดยเข้าถือหุ้นในบริษัทลูกของ ช.การช่าง ที่ได้สัมปทาน โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม  2 และ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ใน สปป.ลาว โดยโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้น และโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ไซยะบุรี สปป.ลาว  มีมูลค่า 7.6 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโครงการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงสุดที่ ช.การช่าง เคยทำมา  

การขยายสู่ธุรกิจสัมปทานต่อเนื่องทำให้กลุ่ม ช.การช่าง  มีสัญญาสัมปทาน ด้านโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ ในมือมากระดับต้นของประเทศไทย จากการสำรวจพบว่า สัญญาสัมปทานที่ถือโดยบริษัทลูกของ ช.การช่าง ( บีอีเอ็ม  ทีทีดับเบิลยู และ ซีเคพี) มีรวมกันไม่น้อยกว่า 17 สัมปทาน (ดูตาราง) ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของกลุ่ม ช.การช่าง 

สัมปทานหลัก กลุ่ม ช. การช่าง  : “บีอีเอ็ม”สัมปทานรถไฟฟ้า

สัมปทานหลัก กลุ่ม ช 0. การช่าง 011

 สัมปทานทางด่วน         

สัมปทานทางด่วน 01                                  

 “ทีทีดับเบิลยู”สัมปทานน้ำประปา

 

ทีทีดับเบิลยูสัมปทานน้ำประปา 019

ซีเคพี* สัมปทานพลังงาน

สัมปทานพลังงาน 01

การรุกลงทุนในสัมปทาน นอกจากช.การช่าง มีรายได้ผ่านการถือหุ้นในบริษัทลูกแล้ว ช.การช่าง ยังได้ผลทางอ้อมจากการเข้าไปรับงานก่อสร้าง จากบริษัทลูก (ที่ถือสัญญาสัมปทาน) เป็นกลยุทธ์สร้างพลังผนึกระหว่าง บริษัทแม่ (ช.การช่าง) และบริษัทลูกที่ถือสัมปทาน เพื่อบริหารความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวให้ผู้ถือหุ้นจากเงินปันผล อันเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ ที่ทำให้ ช.การช่าง ผงาดขึ้นมาเป็นยักษ์วงการก่อสร้างอันดับสอง (เปรียบเทียบจากรายได้ และสินทรัพย์) เป็นรองเพียงบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)  เท่านั้น

รายได้ 3 กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง 01

ทั้งนี้ ณ ปี 2561  อิตาเลียนไทย มีรายได้ 61,894 ล้านบาท สินทรัพย์ 98,014 ล้านบาท 

ช .การช่าง มีรายได้ 31,175 ล้านบาท สินทรัพย์  83,506 ล้านบาท 

ซิโนไทย มีรายได้ 28,000 ล้านบาท และ สินทรัพย์ 45,575 ล้านบาท 

หากถามเบื้องหลังความสำเร็จ ของ ปลิว และ ช.การช่าง  คีย์ซัคเซส คงเริ่มต้น จากปรัชญาองค์กร ที่มุ่งรับโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ และผลตอบแทนที่เหมาะสม การวางกลยุทธ์สร้างรายได้ยั่งยืนด้วยการลงทุนในสัมปทาน และหลักคิด ที่ ปลิว เปิดรับบริษัทต่างชาติเป็นพันธมิตร โดยเฉพาะญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุน หรือร่วมงาน ซึ่งทำให้(ช.การช่าง) ได้ทั้งทุน และเทคโนโลยีใหม่  

ปลิว รู้จักการรอคอย เช่นการลงทุนในสัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดินที่ต้องใช้เวลา 10 ปี จึงจะคุ้มทุน และต้องรอมากกว่าทศวรรษ เพื่อจะได้เห็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเชื่อมเป็นวงกลม และ ปลิว มีความเชื่อมั่นว่านักบริหารที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอดทนและติดดิน    

ในปี 2558 ปลิว เริ่มถ่ายโอนการบริหารให้ทายาท 3 คน ด้วยการตั้ง ลูกสาวคนโต ดร.สุภมาศ ตรีวิศวเวทย์ เป็นกรรมการผู้จัดการ ช.การช่าง ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์  คุมงานด้านพลังงานของกลุ่ม และ ณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ รับผิดชอบธุรกิจ เกี่ยวเนื่องกับจากรถไฟฟ้าใต้ดิน หากปลิว ในวัย 70 ปี (ขณะนั้น) ยังนั่งเก้าอี้ ประธานกรรมการบริหารทำงานเต็มเวลาและช่วงเวลานั้น ปลิว เริ่มมองหาโอกาสจากการขยายธุรกิจไปต่างแดนมากขึ้น 

 ช.การช่าง มีอายุครบ 45 ปี ในปี 2560 ปีที่ ปลิว บอกว่าเป็น “ปีทองวงการก่อสร้างไทย” ปีเดียวกันนั้น ช.การช่าง ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้าง 9 โครงการ อาทิ งานก่อสร้างใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก มูลค่าราว 70,000 ล้านบาท และในห้วงเวลานั้น ชื่อของ ปลิว  ตรีวิศวเวทย์ ปรากฏในทำเนียบ มหาเศรษฐีของไทย และโลก ผู้ครอบครองสินทรัพย์มากกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท  บุรุษผู้สะสมทุนจาก งานก่อสร้าง และสัมปทานด้วยทุนตั้งต้น 14,000 ล้านบาท

ขอบคุณภาพ: Forbes Thailand (ปลิว ตรีวิศวเวทย์ )

 

Avatar photo