CEO INSIGHT

กำเนิดทุนรถไฟฟ้า : คีรี กาญจนพาสน์ ‘สตอรีใหม่ บีทีเอส’ (2)

 เงินที่ระดมทุนได้จาก กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง หรือ บีทีเอสโกรธ (BTSGIF) ในปี 2556 เพิ่มพลังทางธุรกิจให้ บีทีเอส มหาศาล คีรี กลายเป็นคนเนื้อหอมมีคนเข้ามาทาบทามเสนอโครงการต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน คีรี เองเริ่มหันมาสนใจ ภาพรวมของอาณาจักร  บีทีเอส มากขึ้น และเริ่มทำดีลธุรกิจอื่น นอกเหนือจากการเจรจาเรื่อง ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส  กับกทม.เช่นที่ผ่านมา     

หนึ่งในดีลที่ฮือฮา ที่สุดคือการประกาศจับมือกับแสนสิริ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีชื่อเสียงด้านดีไซน์ ตั้งบริษัท บีทีเอส แสนสิริ โฮลดิ้ง วัน  ร่วมทุน สัดส่วน: 50 : 50 % พัฒนาโครงการคอนโดมีเนียมแนวรถไฟฟ้า ในปี 2557 หลักการความร่วมมือ คือ คีรี มีแลนด์แบงก์ สะสมตามแนวรถไฟฟ้าหลายแปลง  ขณะที่แสนสิริมีคามชำนาญด้านอสังหาริมทรัพย์  สองฝ่ายตั้งเป้าร่วมกันว่า ภายใน ปี (2560-2565) จะพัฒนา 25 โครงการ มูลค่าลงทุนราว 30,000 ล้านบาท  ในปี 2558 พันธมิตรคู่ใหม่วงการอสังหาริมทรัพย์  ประกาศเปิดตัว โครงการ เดอะไลน์ จตุจักร

บีทีเอส2

การเคลื่อนไหวของ คีรี ครั้งนั้น แวดวงอสังหาริมทรัพย์มองว่า คีรี กำลังหาทางหวนคืนวงการอสังหาริมทรัพย์ หลังถอยห่างไปนับแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง จนหลายคนเชื่อว่าเขาคงหันไปเอาดีทางรถไฟฟ้าแล้วหลัง ธนายง เข้าซื้อกิจการ บีทีเอสซี และเป็นเปลี่ยนชื่อเป็น บีทีเอส โฮลดิงส์ กรุ๊ปส์ 

เมื่อจบดีล แสนสิริ คีรี รุกต่อ คราวนี้เข้าไปถือหุ้นใหญ่ใน บมจ. แนเชอรัลพาร์ค  หรือ เอ็นพาร์ค สัดส่วน 35.64% ในปี 2558  ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ. ยู ซิตี้  คนที่อยู่ เบื้องหลังดีล เอ็นพาร์ค คือ ทศพงษ์ จารุทวี  (ผู้ก่อตั้งเอ็นพาร์ค ) ซึ่งมาชวน คีรี ให้เข้ามาร่วมทุน และคุยกันร่วมปีกว่าจะได้ข้อสรุป ต่อจากนั้น คีรี ยังนำ ยู ซิตี้  เข้าไปถือหุ้น บมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย หรือ NMG 9.10  %  และ คีรี ยังได้หุ้นNMG จากนักลงทุนคนหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจอีก 9.6 %

สำหรับเอ็นพาร์ค ก่อนมาถึงมือ คีรี  เปลี่ยนมือมาแล้วหลายครั้ง  นับแต่ เอ็นพาร์คเผชิญวิกฤติหนี้ในปี 2540  ทศพงษ์ ดึง เสริมสิน สมะลาภา และพันธมิตรเข้ามาลงทุน  เมื่อ กลุ่มเสริมสิน ถอยออกไป  ประชา มาลีนนท์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่แทน (ปี 2555) ก่อนมาอยู่ในมือของ คีรี และเปลี่ยนชื่อเป็น ยู ซิตี้ ในที่สุด และ ยู  ซิตี้ นี่เองที่ คีรี ใช้เป็นจิ๊กซอว์ต่อภาพ  ฟื้นฟูอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาใหม่  (ดูตารางประกอบ) 

1553421426066

1553421426042

 

1553435474814

คีรีเ คยให้สัมภาษณ์  หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ว่า “ยูซิตี้ต่อไปจะไม่เล็ก ปีหน้า (หมายถึงปี 2561-ผู้เขียน ) จะไม่ใช่อสังหาฯธรรมดาที่ ดิเวลเลอป (พัฒนา) ขายหรือ สร้างแล้วให้เช่าแยก (ย้าย)กันไป จะเป็นรูปแบบการลงทุนอสังหาฯเชิงพาณิชย์ และเกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้ารวมทั้งซื้อ อสังหาฯ ที่มีรีเทิร์น (ผลตอบแทน) ดี  ตั้งเป้า 5 ปี ธุรกิจโรงแรมจะมีพอร์ตบริหาร 30,000 ห้อง จากปัจจุบัน 19,000 ห้อง ….”

คำประกาศข้างต้น คือหลักไมล์ใหม่ ของ ยู ซิตี้ ที่ คีรี กำหนดขึ้น ในวาระหวนคืนวงการอสังหาริมทรัพย์  หากแผนเพิ่มจำนวนห้องพักโรงแรม เป็นไปตามแผนที่ คีรีกล่าว ยู ซิตี้ จะกลายเป็นกลุ่ม อสังหาฯโรงแรมอันดับต้นๆของอุตสาหกรรมทันที

แสนสิริะะะะ

หากวิเคราะห์ สาเหตุที่ คีรี หันมาทุ่มให้กับการฟื้นฟูธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คงมาจากสาเหตุ ประการ

หนึ่ง ต้องการเติมความรู้สึกที่ขาดไป ที่ยังไม่สามารถนำ ธนายง ไปสู่จุดสูงสุดของวงการอสังหาริมทรัพย์เมื่อ 20 ปีก่อนหน้านี้ได้

สอง คีรีมีแลนด์แบงก์ในมือเหลือเฟือ ทั้งย่านบางนาตราด ตามแนวรถไฟฟ้า และที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้  สำนักงานใหญ่แบงก์กสิกรไทย

ทั้งนี้การจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจของบีทีเอส เพื่อสร้างเรื่องเล่าใหม่ให้บีทีเอสนั้น ธุรกิจสื่อ และโฆษณา ถูกกำหนดให้เป็น ใน ของธุรกิจหลัก ซึ่งดำเนินการโดย บมจ. วีจีไอ โกบอล มีเดีย หรือวีจีไอ อนึ่ง วีจีไอ เป็นกิจการใต้ร่มเงา บีทีเอส  รายเดียวที่ไม่ได้ริเริ่มโดย คีรี 

 วีจีไอ  ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณาในรถไฟฟ้าบีทีเอส เกิดจากการบุกเบิกของ  กวิน กาญจนพาสน์ ลูกชาย คีรี บริษัทก่อตั้งในปี 2538  เริ่มต้นด้วยทุนประเดิม 5 ล้านบาท เดิม คีรี วางตัวบุตรชาย ให้มารับผิดชอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ กวิน สนใจธุรกิจสื่อและโฆษณามากกว่า เพราะเขามองว่า “อสังหาฯได้กำไรน้อย “

กวิน3
กวิน กาญจนพาสน์ :ขอบคุณภาพมติชน

ปี 2542 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวีจีได เมื่อ คีรี มอบ สิทธิ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟ ให้ วีจีไอ แต่เพียงผู้เดียว เป็นผู้บริหารพื้นที่โฆษณา และพื้นที่เพื่อการพาณิชย์นาน 30 ปี บนเครือข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งหมด นับจากนั้นธุรกิจของวีจีไอ ก็เทคออฟ ปี2552 บีทีเอสซี (ชื่อขณะนั้น) เข้าซื้อกิจการ วีจีไอ พร้อมกับเริ่มกลยุทธ์ขยายธุรกิจด้วยการเทคโอเวอร์  เริ่มจากซื้อบริษัท พอยท์ ออฟวิว มีเดียกรุ๊ป  (ให้บริการสื่อโฆษณาในอาคาร)

ก่อนนำกิจการเข้าตลาดหุ้นในปี 2555 จากนั้น วีจีไอ มีดีลใหญ่ตามมาอีก อาทิ ซื้อ แรบบิท กรุ๊ป ด้วยการเข้าถือหุ้น 90% ในบริษัท บางกอก สมาร์ท ซิสเต็มส์  ล่าสุด ปี 2561 โดยมีเป้าหมายใช้สถานีรถไฟฟ้าเป็นจุดขาย

ต้นปี 2561 นั่นเอง ที่ คีรี ได้ประกาศโครงสร้างกลุ่มบีทีเอสที่ มี เสาหลัก คือ โครงสร้างพื้นฐาน (รถไฟฟ้า)  กลุ่มโฆษณาและมีเดีย  พัฒนาอสังหาริมทรัพย์  และ กลุ่มธุรกิจบริการ  อย่างเป็นทางการ  โดยผลประกอบการ ณ ปี 2560/61 บีทีเอส มีรายได้รวม 14,102 ล้านบาท เป็นรายได้จากรถไฟฟ้า 9,112 ล้านบาท หรือ 64% ของรายได้ทั้งหมด

สัดส่วนดังกล่าวสะท้อนให้เห็น ว่า ธุรกิจรถไฟฟ้าคือแกนกลางของบีทีเอสซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของ คีรี

Avatar photo