CEO INSIGHT

กำเนิดทุนรถไฟฟ้า : คีรี  กาญจนพาสน์ (1)

ไม่ว่าผลการเจรจารอบสุดท้าย ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สนามบิน ( อู่ตะเภาสุวรรณภูมิดอนเมือง ) มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท ระหว่าง กลุ่มกิจการร่วมค้า ที่มี บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์  เป็นแกนนำ กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในวันที่ 19 มีนาคมนี้ จะออกมาอย่างไร คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือบีทีเอส คงไม่หยุด ความฝันที่จะเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าที่ดีที่สุด

S 4784160

ความฝันของ คีรี  ขึ้นโครงจากฐานข้อมูลที่เขาได้แจ้งกับผู้ถือหุ้นว่า ปัจจุบัน บีทีเอส บริหารเครือข่ายรถไฟฟ้าอยู่ 38.1 กิโลเมตร (กม.)  และภายในปี 2565 ระยะทางจะเพิ่มเป็น132 กม. จากเส้นทางส่วนต่อขยายและทางรถไฟฟ้าสายใหม่ที่บริษัทได้สัมปทานมา

ไม่เพียงเท่านั้น บีทีเอส ยังมีเป้าหมายที่จะขยายเส้นทางรถไฟฟ้าออกไปอีกให้เป็น 214.9  กม. ในอนาคตอีกด้วย

โครงการรถไฟฟ้าที่คีรีประกาศจองล่วงหน้า 01

สถานการณ์ของ คีรี ในวัย 69 ปี แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับช่วง 20 ปีก่อนหน้านี้ เมื่อประเทศไทยเผชิญกับ “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 บมจ.ธนายง และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ บีทีเอสซี ที่ คีรี ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลกิจการรถไฟฟ้า ตกอยู่ในสภาพหนี้ท่วม อันเป็นผลจากภาระขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนอย่างฉับพลันในปี 2545 ที่ ธนายง เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้น มีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ 180 ราย รวมมูลหนี้ถึง 66,000 ล้านบาท โดยหนี้ส่วนใหญ่มาจากเงินกู้ต่างประเทศที่คีรีระดมมาใช้กับโครงการรถไฟฟ้า

คีรี11
คีรี กาญจนพาสน์

คีรี ใช้เวลามากกว่า 10 ปี กว่าจะเคลียร์หนี้ก้อนมหึมาจากวิกฤติครั้งนั้นจบ ธนายง  ออกจากแผนฟื้นฟูในปี 2549  บีทีเอสซี ตามมาในปี 2551 ก่อนที่คีรีปรับโครงสร้างธุรกิจที่อยู่ในมือครั้งใหญ่ โดยให้ ธนายง  เข้าไปเทคโอเวอร์ บีทีเอสซี ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ หรือ บีทีเอส จากนั้นย้ายบีทีเอสจากกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ มาเป็นขนส่ง และโลจิสติกส์ หรือหันมาโฟกัสธุรกิจรถไฟฟ้าอย่างจริงจัง

ปูมหลังของ คีรี เป็นลูกคนที่ 7 ของ มงคล กาญจนพาสน์ หรือ  อึ้ง จือ เม้ง เจ้าสัวยุคทุนการเงินเฟื่องฟู เมื่อ 5 ทศวรรษที่แล้ว  มงคล เคยถือหุ้นในแบงก์นครหลวงไทย (ควบกับแบงก์ธนชาตในปี 2554 )  นอกจากที่มั่นธุรกิจในไทยเขายังมีฐานธุรกิจในฮ่องกง เมื่อ คีรี อายุ 13 ปี เตี่ยส่งไปอยู่ฮ่องกง ที่นั่น คีรี ใช้ชีวิตแบบ เน้นประสบการณ์  มากกว่าหาวิชาในห้องเรียน มิตรร่วมรุ่นที่ฮ่องกงเรียกเขาว่า “หว่อง จง ซัน”  

พออายุได้ 38 ปี คีรี ถูกเรียกกลับมาดูธุรกิจในไทย พร้อมพี่ชาย (อนันต์ กาญจนพาสน์ ) โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจาก มงคล สะสมแลนด์แบงก์ไว้มากมาย ที่ดินแผ่นที่โดดเด่นคือ ที่ดินย่านเมืองทองธานี ราว 2,000 ไร่  และย่านบางนา-ตราดราว 1,500 ไร่  คีรี ดูแลบริษัท ธนายง ที่ยึดทำเล บางนาตราดเป็นที่มั่น

220px อนันต์ กาญจนพาสน์
อนันต์ กาญจนพาสน์

ปี 2531 ที่เศรษฐกิจไทยบูมสุดขีด จีดีพีขยายตัว 2 หลัก ตลาดหุ้น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เก็งกำไรกันสนั่น  ธนายง เปิดโครงการ ธนาซิตี้ สนามกอล์ฟ สปอร์ตคลับ และบ้านหรู

2 ปีหลังจากนั้น (ปี 2533)  ธนายงเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ห้วงเวลาเดียวกันนั้นเองที่กรุงเทพมหานคร เปิดให้ผู้สนใจเสนอตัวรับสัมปทานรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ คีรี เข้ามาเกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้า เมื่อได้รับการคัดเลือก คีรี ตั้ง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ หรือ บีทีเอสซี ขึ้นมาดูแลโครงการ

บีทีเอสซี  ลงนามสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้ากับกรุงเทพมหานคร ในปี 2535 ยุค พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. เส้นรถไฟฟ้าตามสัมปทานผ่ากลางใจเมือง จากหมอชิตอ่อนนุช  และสนามกีฬาแห่งชาติ สะพานตากสิน  ระยะทางรวม 23.5 กม. หรือสายสีเขียวในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของ ประเทศไทย

 

จำลอง 1
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง

ในสายตาของ คีรี ซึ่งใช้ชีวิตช่วงวัยหนุ่มในฮ่องกง เขามองว่า ระบบขนส่งมวลชนมีอนาคตมาก  แต่เขาคงไม่คาดคิดเมื่อรถไฟฟ้าบีทีเอส (เวลานั้นใช้ชื่อรถไฟฟ้า ธนายง) เปิดบริการในปี 2542  กิจการที่เขาดูแล จะตกอยู่ในสภาพหนี้ท่วม และเมื่อรถไฟฟ้าเริ่มให้บริการจำนวนผู้โดยสารยังไม่มากพอที่จะทำเงิน เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าไม่มีเครือข่ายเชื่อมต่อ คีรี ต้องรอนานมากกว่าทศวรรษที่ธุรกิจรถไฟฟ้าจะเป็นไปอย่างที่เขาคิด

เมื่อพายุหนี้คลี่คลายปรากฎการณ์ฟ้าหลังฝนก็ตามมา  ช่วงเวลาขาขึ้นของบีทีเอส ก็ปรากฏการต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าจากเส้นทางสัมปทานเดิม ล้วนเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้บีทีเอส และเงินในกระเป๋าของคีรีทั้งสิ้น

แต่ที่สร้างความฮือฮาให้กับแวดวงการเงิน  ที่ยังไม่หายทึ่งกับการกระบวนการพาตัวเองออกจากกับดักหนี้ของบีทีเอส คือ การตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง หรือ บีทีเอสโกรท (BTSGIF) เพื่อนำทุนมาใช้ในการขยายและลงทุนกิจการรถไฟฟ้า  

บีทีเอส1

บีทีเอสโกรท มีรายได้จาก ค่าโดยสารสุทธิของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายแรก(หมอชิตอ่อนนุช และ สนามกีฬาแห่งชาติสะพานตากสิน ระยะทางรวม 23.5 กม. นับจากปี 2556 ที่ตั้งกองทุนกระทั่งสิ้นสุดสัมปทานในปี 2572 หรือ 17 ปี (สัมปทานเริ่มต้นปี 2535) ที่ซื้อมาจากบีทีเอส กองทุนบีทีเอสโกรท ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่า 6 % ได้รับความนิยมจากบริษัทประกันชีวิต และประกันวินาศภัยมาก 

เพื่อเป็นหลักประกันในการกำกับดูแลทิศทาง บีทีเอสซีเข้าถือหน่วยลงทุนใน บีทีเอสโกรท 33.33 และตัว คีรี เองถืออีก159% เกมนี้ คีรี ระดมทุนได้ 62,500 ล้านบาท  เป็นสถิติที่ได้รับการบันทึก ณ เวลานั้นว่าเป็นการ ขายหลักทรัพย์ผ่านไอพีโอ (การเสนอขายหุ้นครั้งแรก) ที่มีมูลค่าสูงในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทย

ทุนที่ระดมมาได้เหลือพอสำหรับขยายกิจการรถไฟฟ้า ทำให้ คีรี รู้สึกผ่อนคลาย และเริ่มขยับธุรกิจในกลุ่มโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ธุรกิจดั้งเดิม ของบีทีเอส (จากยุค ธนายง) และเริ่มมองหาความท้าทายใหม่เพิ่มขึ้น โดยมีเครือข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ขยายเส้นทางไกลๆ ออกไป เป็นแกนกลาง สร้างโอกาสเข้าสู่ธุรกิจใหม่ 

Avatar photo