Media

เปิดสถิติ เม็ดเงินโฆษณา ‘ทีวี-เคเบิล-วิทยุ’ รอบปี 62

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้สรุปสภาพตลาดกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2562 โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

โฆษณาทีวี

เริ่มจาก มูลค่าการโฆษณาของช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ปี 2562 มียอดรวมประมาณ 68,030.53 ล้านบาท แบ่งเป็นการโฆษณาของช่องสาธารณะ 4,228.96 ล้านบาท, ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว 385.34 ล้านบาท, ช่องข่าวสารและสาระ 1,902.15 ล้านบาท, ช่องความคมชัดปกติ (SD) 17,929.16 ล้านบาท และช่องความคมชัดสูง (HD) 43,584.92 ล้านบาท

หากพิจารณามูลค่าการโฆษณาในช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในปี 2562 เปรียบเทียบกับมูลค่าของปี 2561 พบว่า เพิ่มขึ้นประมาณ 83.31 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.12%โฆษณาเคเบิล

สำหรับการโฆษณาในช่องรายการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมในปี 2562 มีมูลค่ารวมประมาณ 2,265.95 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 168 ล้านบาท หรือลดลง 7% จากปี 2561 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการกระจายเม็ดเงินโฆษณาไปยังช่องรายการเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียมที่น้อยลง เนื่องจากประชาชน
มีพฤติกรรมในการรับชมช่องรายการโทรทัศน์เคเบิลและดาวเทียมลดลงทั่วประเทศ

ขณะที่ผลการสำรวจการจัดลำดับความนิยมที่ประชาชนมีต่อการรับชมช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน พบว่า ช่อง 7 และช่อง 3 ยังคงเป็นสองช่องที่ครองความนิยมจากประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลให้สองช่องรายการดังกล่าวได้รับการจัดลำดับความนิยมสูงสุดอยู่ใน 2 อันดับแรกตลอดทั้งปี 2562

นอกจากนี้ ความนิยมของบางช่องรายการก็เริ่มมีทิศทางที่แน่นอน เช่น ช่อง Mono 29 และช่องเวิร์คพอยท์ ทีวี โดยได้รับความนิยมในอันดับที่สามและอันดับที่สี่ ตามลำดับ

ทีวีภาคพื้นดิน

อย่างไรก็ดี การจัดลำดับความนิยมในอันดับที่ 5-10 พบว่า ช่องรายการส่วนใหญ่เป็นช่องรายการเดิมเหมือนในปี 2561 เพียงแต่มีการสลับอันดับขึ้นลง และยังพบว่า ช่อง PPTV มีเรตติ้งประจำปีเพิ่มขึ้นจนเข้ามาติดอันดับ 10 ของผลการสำรวจความนิยม

สำหรับช่อง GMM25 ช่อง Nation TV ช่อง 9 MCOT HD ช่อง SPRING 26 และ ช่อง True4U เป็นกลุ่มช่องที่เริ่มได้รับความนิยมคงที่อย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ในการจัดลำดับความนิยมในอันดับที่ 11-15 ส่วนการจัดลำดับความนิยมในอันดับที่ 16-25 พบว่า ช่องรายการส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสร้างฐานผู้ชมรายการประจำช่องได้ ส่งผลให้ความนิยมของช่องรายการไม่คงที่

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2562 มีผู้ประกอบการโทรทัศน์ดิจิทัลจำนวน 7 ราย แสดงความจำนงขอคืนใบอนุญาต โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มช่องหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว 2 ช่องรายการ ประกอบไปด้วย ช่อง 3 Family และช่อง MCOT Family, กลุ่มช่องหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ 3 ช่องรายการ ได้แก่ ช่องสปริงนิวส์ ช่อง Bright TV และช่อง Voice TV และกลุ่มช่องหมวดหมู่ทั่วไป แบบความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 2 ช่องรายการ ได้แก่ ช่อง SPRING 26 และช่อง 3SD

วิทยุ

ขณะที่สื่อวิทยุ เมื่อพิจารณาสัดส่วนจำนวนผู้รับฟังปี 2562 (แยกตามสถานที่) พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุที่บ้านอยู่ที่ 51.6% ตามด้วยการรับฟังวิทยุในรถ 39.8% ในที่ทำงาน 8.1 และอื่นๆ 0.5%

นอกจากนี้ ยังพบว่า อุปกรณ์ที่ประชาชนใช้รับฟังวิทยุมากที่สุดคือ เครื่องรับวิทยุ สัดส่วนอยู่ที่ 73.8% ตามด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ 25.4% และคอมพิวเตอร์ 0.8%

โฆษณาเคเบิล

ในแง่ของมูลค่าการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟ.เอ็ม. คลื่นหลักในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 36 สถานี (88.0–91.5, 93.0–103.5 และ 104.5–107.0 MHz) ในปี 2562 มีมูลค่าประมาณ 4,735 ล้านบาท

เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการโฆษณาของปี 2562 กับปี 2561 พบว่า ปี 2561 มีมูลค่าโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงประมาณ 4,802 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าโฆษณาของปี 2562 ประมาณ 67 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.4%

Avatar photo