Marketing Trends

ส่องตลาดแรงงาน ปัจจัยลบอื้อ ส่งสัญญาน ‘ชะลอ’ จ้างงาน

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป แนะแรงงานรับมือฝ่าเศรษฐกิจซบ จีดีพีโตต่ำ 2% ภาคธุรกิจส่งสัญญาณชะลอตัว ผู้ประกอบการรัดเข็มขัด หวั่นสะเทือนตลาดแรงงานปีนี้ ยกเว้นสายเทคโนโลยี

จากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุปัจจัยลบที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทยในปีนี้ มี 3 ปัจจัยหนักๆ ได้แก่ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด19 อีกปัจจัยจะเป็นเรื่องภาวะภัยแล้ง และความล่าช้าของงบประมาณปี 63 ทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

russia 95311 1280

นอกจากนี้ ยังจะต้องติดตามต่ออีกว่าการแพร่ระบาดของ โควิด19 จะกินระยะเวลาอีกนานแค่ไหน หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อเนื่องก็จะมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวต่ำกว่า 2%

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัจจัยลบโดยเฉพาะจากไวรัสโควิด-19 คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยปีละ 2.9 ล้านล้านบาทคิดเป็น 20% ของจีดีพีเกี่ยวข้องกับทั้งโรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก ขนส่ง และอื่นๆ คิดเป็น 20% ของการจ้างงานรวมภายในประเทศ

ทั้งนี้ หลังการเกิดโรคระบาดตลาดแรงงานส่งสัญญาณชัด โดยคาดการณ์ว่าการจ้างงานในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบ จากข้อมูลแรงงานในการจ้างงานของภาคธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น ภาคการท่องเที่ยว 0.5 ล้านคนหรือ 1.2% ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว 7.2 ล้านคน หรือ 19.1% ภาคการผลิต 6.2 ล้านคนหรือ 16.5% ภาคการเกษตร 11.7 ล้านคนหรือ 31.1% และอื่นๆ 12 ล้านคนหรือ 32%

เจาะลึกอาชีพมาแรงแห่งปี

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย คาดการณ์ว่า ปีนี้ตลาดแรงงานต้องเตรียมรับมือทั้งจากสงครามการค้าและวิกฤตโรคระบาดไวรัสโคโรนา เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่แน่ใจว่าจะยืดเยื้ออีกนานเท่าใด อีกทั้งในส่วนของการจ้างงานเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวเพราะในหลายธุรกิจมีการรัดเข็มขัดบริหารจัดการ ลดต้นทุนในด้านที่ไม่จำเป็น

นอกจากนี้ยังพบว่า การจ้างงานเข้มงวดมากขึ้นแรงงานที่คัดเลือกมาทำงานจะต้องเป็น Multiple skill ดังนั้นการพัฒนาและเสริมทักษะแรงงานในสายงานจึงมีความสำคัญมาก

สำหรับทิศทางแรงงานและการจ้างงานในครึ่งปีแรก ยังส่งสัญญาณชะลอตัว ส่วนใหญ่จะเป็นการจ้างงานที่มาทดแทน แต่ยกเว้นบางธุรกิจที่อยู่ในกระแสการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งสะท้อนภาพของยุคดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นที่มีความต้องการกำลังคนเฉพาะทาง อาทิ ธุรกิจด้านที่ปรึกษา ธุรกิจด้านกฎหมาย เป็นต้น รวมถึงกลุ่มธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี และธุรกิจขนส่งกับโลจิสติกส์ ที่ไม่ได้รับผลกระทบเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่กำลังเติบโตและเป็นดาวรุ่ง

ล่าสุด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย จัดทำผลสำรวจ 10 อันดับสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน (นายจ้าง) ดังนี้

สายงานที่เป็นที่ต้องการของนายจ้าง

1.สายงานขายและการตลาด 22.56% 2.สายงานบัญชีและการเงิน 12.61% 3.งานระยะสั้นต่างๆ (Temporary & Contract) 10.39% 4.งานธุรการ 9.39% 5.งานไอที 8.83% 6.สายงานด้านการผลิต 8.72% 7.สายงานวิศวกร 8.33% 8.งานขนส่งและงานโลจิสติกส์ 4.67% 9.สายงานบริการลูกค้า 4.39% และ 10.สายงานทรัพยากรบุคคล 4.33%

ทั้งนี้ จากผลการจัดอันดับสายงานที่เนื้อหอมมากที่สุดติดอันดับ 1 ในช่วง 3 ปีติดต่อกัน คือ กลุ่มงานขายและการตลาด สืบเนื่องสถานการณ์เศรษฐกิจ การส่งออก และผลพวงจากสงครามการค้าผลักดันให้สายงานการขายเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอและสื่อสารระหว่างบุคคล โดยเฉพาะการขายสินค้าหรือบริการบางประเภทที่ต่อมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ

ส่วนสายงานด้านบัญชีและการเงิน องค์กรมีความต้องการเพราะจะต้องมาในการวางแผนและบริหารจัดการต้นทุน การวางแผนภาษีและการลงทุนต่างๆ

ขณะที่กลุ่มงานที่น่าจับตามองและโดดเด่นในปีนี้คือ งานระยะสั้นต่างๆ (Temporary & Contract) ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการจ้างงานในปัจจุบัน เนื่องจากการจากงานในกลุ่มนี้จะเป็นแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง Specialist skill รูปแบบการจ้างงานนี้ช่วยองค์กรลดต้นทุนและควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี

สายงานที่เป็นที่ต้องการของแรงงาน

ด้านผลสำรวจากรจัดอันดับ 10 สายงานที่เป็นที่ต้องการของแรงงาน (ลูกจ้าง) ดังนี้

1. สายงานขายและการตลาด 23.74% 2. สายธุรการ 15.78% 3.สายงานวิศวกร 9.87% 4.สายงานบัญชีและการเงิน 9.20% 5.งานขนส่งและงานโลจิสติกส์  6.สายงานบริการลูกค้า 6.86% 7.งานระยะสั้นต่างๆ (Temporary & Contract) 6.79% 8.งานการผลิต 6.37% 9.สายงานทรัพยากรบุคคล 5.98% และ 10. สายงานไอที 3.08%

นอกจากนี้ ผลสำรวจในส่วนของกลุ่มธุรกิจที่ต้องการแรงงานสูงสุด 3 อันดับหลักๆ ได้แก่ งานด้านบริการ บริการเฉพาะกิจ, ขนส่งและโลจิสติกส์, การท่องเที่ยวและสันทนาการ,สื่อและสิ่งพิมพ์,การแพทย์,พาณิชย์ 25.80% รองลงมา สินค้าอุตสาหกรรม วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร, ยานยนต์, ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, เหล็ก, กระดาษและวัสดุการพิมพ์, บรรจุภัณฑ์ 17.73% และ สินค้าอุปโภคบริโภค ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน, แฟชั่น, ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ 13.39%

Avatar photo