Marketing Trends

‘ดิจิทัล’ กระทบ ‘ตำแหน่ง’ แรงงานฝ่ายผลิต จี้เร่งเพิ่มทักษะด่วน

จากดัชนีภาคการผลิตที่มีแนวโน้มลดลง และการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสายการผลิตภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดความหวั่นเกรงว่า เทคโนโลยีจะเข้ามาทดแทนแรงงานคนในภาคการผลิต ด้วยเหตุผลเพื่อ “ลดต้นทุน” ของผู้ประกอบการ

สุธิดา กาญจนกันติกุล
สุธิดา กาญจนกันติกุล

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย โดย สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า ระบบดิจิทัลไม่ได้ทำให้งานหมดไป แต่จะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อตำแหน่งงานส่วนใหญ่ โดยแม้ว่าแนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมการผลิตลดลง แต่แรงงานยังคงต้องพัฒนาทักษะต่อไป

ดังนั้น การเพิ่มพูนทักษะจึงเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะไม่มีใครสามารถคาดเดาอนาคตได้ แต่หากมีทักษะที่เหมาะสม วัฒนธรรมการเรียนรู้ และการมุ่งเน้นช่วยเหลือบุคลากรให้พัฒนาอาชีพของตนสำหรับตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการ ก็จะทำให้สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จากรายงาน “โรงงานแห่งอนาคต” ของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ซึ่งวิเคราะห์ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรม ซึ่งทางด้านภาคการผลิตจะเป็นอุตสาหกรรมแรกของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ของขนาดและความรวดเร็ว และการเพิ่มขีดความสามารถในแข่งขันทางธุรกิจ ตั้งแต่ผ่านยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมจากรุ่นหนึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง 2005 เป็นยุคที่ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สมัยใหม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว

แมนพาวเวอร์

ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในช่วงปลายของรุ่นที่สอง ที่มีการการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและมีการนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น และในปีหน้าภาคการผลิตจะเริ่มก้าวเข้าสู่รุ่นที่สามซึ่งเครื่องจักรจะสามารถทำงานด้วยตนเอง รวมถึงการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต

นอกจากนี้ ยังพบว่า พนักงานทั้งหมดต้องเพิ่มพูนทักษะ โดยพนักงาน 35% จากพนักงานทั้งหมดจะเป็นการฝึกอบรมระยะสั้นไม่เกินหกเดือนสำหรับการพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มสูงขึ้น และอีก 9% ต้องการการฝึกอบรมเป็นเวลา 6 ถึง 12 เดือน ขณะที่อีก 10% ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการเพิ่มพูนทักษะเพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้น โดยพบข้อสรุปว่า การเพิ่มพูนทักษะในระยะสั้นและเน้นเฉพาะจุดเป็นระยะเวลา 6 เดือนหรือน้อยกว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

จากสถานการณ์ดังกล่าว แรงงานในกลุ่มสายการผลิต จะต้องมีการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการพัฒนาทักษะ การฝึกอบรมการทำงานซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรองรับกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถช่วยบรรเทาความกังวลของพนักงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ได้ ด้วยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ แม้เทคโนโลยีสมัยใหม่จะทำให้งานบางส่วนปรับลดไป แต่บุคลากรยังสามารถพัฒนาทักษะของตนเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่จากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ได้

Cobots Empowering Humans in Manufacturing

ขณะที่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ อาจคิดว่าจะสามารถบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงด้วยการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ และกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล แต่รุ่นต่อไปล้ำหน้ากว่าระบบอัตโนมัติด้วยการใช้ระบบที่เรียนรู้ด้วยตนเองและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรไม่ได้ทำงานทางกายภาพเท่านั้นแต่ยังสามารถคิดเองได้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือเทคโนโลยีเอไอ ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อกำลังคนหรือแรงงานอย่างชัดเจน ดังนั้น การฝึกอบรมจะช่วยเพิ่มพูนทักษะที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากรายงาน “มนุษย์ที่เป็นที่ต้องการ” ของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ระบุว่า ขณะที่พนักงานทั้งหมดต้องเพิ่มพูนทักษะ สำหรับพนักงานร้อยละ 35 ของทั้งหมดจะเป็นการฝึกอบรมระยะสั้นไม่เกินหกเดือนสำหรับการพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มสูงขึ้น และอีกร้อยละ 9 ต้องการการฝึกอบรมเป็นเวลา 6 ถึง 12 เดือน ในขณะที่อีกร้อยละ 10 ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการเพิ่มพูนทักษะเพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้น พบข้อสรุปว่า การเพิ่มพูนทักษะในระยะสั้นและเน้นเฉพาะจุดเป็นระยะเวลา 6 เดือนหรือน้อยกว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Avatar photo