Economics

‘คลัง’ ฟื้น ‘ช้อปดีมีคืน’ แบบไฮบริดต้นปี 66 พร้อมเพิ่มวงเงินสูงขึ้น

‘คลัง’ ฟื้น ‘ช้อปดีมีคืน’ แบบไฮบริดต้นปี 66 พร้อมเพิ่มวงเงินสูงขึ้น ส่งสัญญาณ จัดทำงบประมาณสมดุล แก้ปัญหาหนี้สาธารณะ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การเตรียมแพ็กเกจขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกับหลายหน่วยงาน โดยในส่วนของกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอมาตรการรักษาระดับการบริโภค ซึ่งต้องพิจารณาหลายปัจจัยด้านการบริโภคมาชั่งน้ำหนัก

ช้อปดีมีคืน

ผู้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ต้องออกค่าใช้จ่ายร่วมด้วย

สำหรับ โครงการ “ช้อปดีมีคืน” จะนำกลับมาใช้ใหม่ในลักษณะเป็นแบบไฮบริด เพื่อผู้ใช้สิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีคืน โดยต้องมีส่วนในการออกค่าใช้จ่ายร่วมด้วย ยอมรับว่าต้องเพิ่มวงเงินบ้างเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับเงินช่วยเหลือ เพราะกระทบต่อรายได้เข้าคลัง ต้องจัดหาเพิ่มอีก 9 หมื่นล้านบาทในปี 66

ทั้งนี้ ช้อปดีมีคืน ต้องนำมาออกในช่วงต้นปี 66 ตามปีบัญชีภาคเอกชน เพื่อให้การใช้จ่ายเกิดขึ้นในปี 66 เพราะเศรษฐกิจในปี 65 คาดว่าเป็นไปตามเป้าหมาย 3-3.5% เพื่อให้ประชาชนใช้จ่ายในต้นปีหน้า

รัฐบาลยังต้องมุ่งแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัจจุบัน 60.7% จากเพดาน 70% ของจีดีพี และมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุล โดยต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ต้องเริ่มส่งสัญญาณ การจัดทำงบประมาณแบบสมดุล เพื่อหารายได้เข้ารัฐในส่วนสัดที่เหมาะสม เพื่อจัดหารายได้เข้ามาให้เพียงพอกับจัดสรรงบประมาณออกไป ด้วยการลดขนาดของการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปี เพื่อทำให้การกู้เงินน้อยลง

ช้อปดีมีคืน

เก็บภาษีบางประเภท เพิ่มรายได้เข้ารัฐ

นายอาคม กล่าวยอมรับว่า ยอดเงินกู้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1 หมื่นล้านบาท อาจทำให้ยอดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นในปีนี้ แต่เมื่อประชาชนใช้น้ำมันเพิ่ม เงินจะไหลเข้ากองทุนฯเพื่อนำไปใช้หนี้คืน เพราะกองทุนน้ำมันยังมีภาระหนี้นับแสนล้านบาท

สำหรับการเพิ่มรายได้เข้ารัฐอาจเลือกเพิ่มภาษีบางประเภท เช่น การซื้อขายหุ้น คลังต้องยังพิจารณาจัดเก็บประเภทไหนบ้าง รวมถึงการพิจารณาทบทวนในเรื่องค่าลดหย่อนภาษี  ซึ่งยังซ้ำซ้อนหลายบางประเภท แต่หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องเพิ่มการหักลดหย่อนให้มากขึ้น  เพื่อให้เงินเหลืออยู่ในกระเป๋าประชาชนเพิ่มขึ้น

ช้อปดีมีคืน

นอจากนี รัฐบาลยังต้องเตรียมตัวรองรับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว  ขณะที่การส่งออกได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า จากปี 64 เริ่มฟื้นตัวจากโควิด-19 ในปี 65 เศรษฐกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติ จึงต้องติดตามกำลังซื้อของประชาชนของจีนและยุโรป เพราะตลาดสหรัฐ ไม่ใช่ตลาดหลักของไทยแล้ว เมื่อจีนเปิดประเทศเต็มที่ มองว่าจะช่วยไทยอย่างมากในเรื่องการท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศ

และจากเวทีคลังเปค ครั้งที่ 29 มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร  เพราะหลายประเทศยากจนเริ่มได้รับผลกระทบด้านอาหารอย่างมากไม่ต่ำกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ยอมรับว่าบางประเทศยอดการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสูงมาก จะใช้แนวทางขึ้นดอกเบี้ย เพื่อชะลอความต้องการใช้จ่าย เช่น สหรัฐอเมริกา ขยับเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อชะลอการใช้จ่ายและต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ในสังคมใช้บัตรเครดิต เมื่อดอกเบี้ยเพิ่ม ทำให้บริโภคน้อยลง ตามหลักเศรษฐศาสตร์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo