Economics

สรท.มั่นใจ ‘ส่งออก’ ยังเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ วอน ‘ธปท.’ คงดอกเบี้ย!

ส่งออกสัญญาณดี! “สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ” เล็งปรับเป้าส่งออกจากเดิมคาดโต 6-8% มั่นใจยังเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ วอน “แบงก์ชาติ” อย่าขึ้นดอกเบี้ย

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก มองว่า การส่งออกไทยมีสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่ง สรท.จะมีการปรับประมาณการส่งออกในปี 2565 ใหม่อีกครั้ง จากปัจจุบันคาดกว่าจะขยายตัวราว 6-8% และมั่นใจว่าการส่งออกจะยังเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้

ส่งออก 286511

ส่งออกยังเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

“มั่นใจว่าขั้นต่ำได้ 6-8% แน่นอน และพยายามจะสู้ให้ได้ถึง 10% ซึ่งต้องดูความชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง แต่เป้า 2 digit มีลุ้น” นายชัยชาญ กล่าว

ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.65) มีมูลค่า 149,184.8 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 12.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 155,440.7 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 21% และคาดว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค.65) ยังสามารถเติบโตได้ในระดับ 7% ภายใต้สมมุติฐานเงินบาทอยู่ที่ 34-36 บาท/ดอลลาร์ ราคาน้ำมันอยู่ที่ 100-115 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายภายในไตรมาส 4 จะช่วยให้ยานยนต์กลับมาเป็นสินค้าส่งออกหลัก

shutterstock 708817909

สำหรับปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่

  1. สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อโลกที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง IMF คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2565 ประเทศพัฒนาแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ 6.6% และประเทศเกิดขึ้นหรือประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ 9.5% ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น กำลังซื้อผู้บริโภคในระดับกลางและระดับล่างทั่วโลกมีสัญญาณชะลอตัว
  2. ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง จากสถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อเนื่องถึงราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก เนื่องจากน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้า รวมถึงต้นทุนการขนส่งที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกราคาพลังงานในตลาดโลก
  3. สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลยังทรงตัวในระดับสูงและเริ่มมีการปรับลดลงในหลายเส้นทาง แต่พบว่าค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่สถานการณ์ตู้เปล่าที่นำเข้ามาในประเทศไทยเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
  4. ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน แป้งสาลี อาหารสัตว์ ปุ๋ย เป็นต้น ขณะที่บางประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการทางภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อคลายความตึงตัวของราคาขายในประเทศที่ปรับสูงขึ้นจากผลกระทบเงินเฟ้อ และหลายประเทศเริ่มมองหาความร่วมมือด้านความมั่นคงในเชิงห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น

แบงก์ชาติ 31652

มีข้อเสนอแนะจาก “สรท.” ที่สำคัญ ประกอบด้วย

  1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อประคองให้การฟื้นตัวภาคธุรกิจยังคงดำเนินการได้ และไม่เป็นการซ้ำเติมรายจ่ายของผู้บริโภคและต้นทุนของผู้ประกอบการมากเกินไป และให้ธนาคารพาณิชย์เร่งออกแคมเปญเพื่อช่วยเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการส่งออกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต
  2. เร่งสร้างโอกาสทางการในตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ เช่น CLMV รวมถึงตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เช่นกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซาอุดิอาระเบีย อิรัก เป็นต้น
  3. รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศให้อยู่ระดับที่เหมาะสม ผ่านเครื่องมือหรือกลไกในการควบคุม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากเกินไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo