Economics

น้ำมันแพง! ดันเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. พุ่ง 7.66 % ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี

สนค. เผย เงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2565 พุ่ง 7.66% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี หลังราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2665 เท่ากับ 107.58 (ปี 2562 เท่ากับ 100) อยู่ที่ 7.66% สูงขึ้นรอบ 13 ปี เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งอยู่ที่ 7.11% ถือว่าอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นในระดับชะลอตัวลง

เงินเฟ้อเดือนมิถุนายน

น้ำมันแพงดันเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ หากดูเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือน ตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน 65 อัตราเงินเฟ้อไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.61% โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงานทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า ที่ภาครัฐมีการขยายเพดานการตรึงราคาตามต้นทุนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนยังค่อนข้างต่ำ มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัว ส่วนสินค้าอื่น ๆ อาทิ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดและของใช้ส่วนบุคคล ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน และการสื่อสาร เป็นต้น

นอกจากนี้ เป็นไปในทิศทางประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ และในแถบยุโรปที่เงินเฟ้อสูงขึ้นค่อนข้างมาก ยังคงมาจาก อุปสงค์ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การตึงตัวของอุปทาน และมาตรการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ ทำให้อุปทานไม่สมดุลกับอุปสงค์มากขึ้น แต่หากดูตัวเลขในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งรวมถึงไทย อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยยังสูงไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

เงินเฟ้อเดือนมิถุนายน

คงคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี

ดังนั้น สนค. ยังไม่ประเมินหรือปรับอัตราเงินเฟ้อทั้งปีใหม่ จากเดิมคาดการณ์เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4.5% แต่ด้วยหลายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง ไม่ว่าจะเป็นเหตุสงคราม 2 ประเทศ ส่งผลให้พลังงานและอาหารสูงขึ้น และต้องติดตามสหรัฐเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า และที่น่ากังวลปัญหาโควิดที่มีท่าทีจะกลับมาอีก เป็นผลที่ต้องติดตามและเป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทั้งสิ้น

ทั้งนี้ หากดูรายละเอียดการเคลื่อนไหว สาเหตุที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2565 ขยับสูงขึ้น แม้จะมีหลายปัจจัยซึ่งหากดูในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 6.42% ได้แก่

  • กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้น 12.98% (เนื้อสุกร ไก่สด ปลาทู)
  • กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้น 5.38% (ไข่ไก่ นมผง นมสด)
  • กลุ่มผักสดสูงขึ้น 1.53% (พริกสด หัวหอมแดง ต้นหอม)
  • กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้น 11.48% (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง)
  • กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 2.55% (กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก)
  • กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน สูงขึ้น 7.28% (กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง)
  • กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน สูงขึ้น 6.54% (อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))

ขณะที่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 2.73 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว แป้งข้าวเจ้า) กลุ่มผลไม้สด ลดลงร้อยละ 2.53 (เงาะ มังคุด ลองกอง)

เงินเฟ้อเดือนมิถุนายน

เงินเฟ้อทำสถิตสูงสุดในรอบ 13 ปี

ส่วนหมวดสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 8.49% ได้แก่

  • หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 14.75% (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ)
  • หมวดเคหสถานสูงขึ้น 6.79% (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม)
  • หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 2.25% (บุหรี่ เบียร์ สุรา)
  • หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล สูงขึ้น 0.94% (ยาสีฟัน แชมพู สบู่ถูตัว)
  • หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้น 0.11% (เครื่องถวายพระ ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ อาหารสัตว์เลี้ยง)
  • หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้น 0.10% (เสื้อยกทรง เครื่องแบบนักเรียน)

นอกจากนี้ สนค.มองว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 65 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 6.46% แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้น 1.18% และเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 5.61%

สำหรับเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นสูงกว่าตัวเลขเดือนพฤษภาคม และเมษายน 2565 และสูงกว่าเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี ทำให้เดือนมิถุนายนยังทำสถิตเงินเฟ้อที่ถือว่าสูงสุดในรอบ 13 ปี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo