Economics

เมื่อโลกยุคใหม่ไล่บี้ ‘Micro Grid’ เลยต้องมา

ในโลกยุคใหม่ระบบไฟฟ้าต้องตอบสนองต่อการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกโฟกัสมากกว่าพลังงานหมุนเวียนอื่น และมีการผลิตแบบกระจายตัว มีทั้งโครงการขนาดใหญ่ และระบบผลิตขนาดเล็กที่ผู้บริโภคกลายเป็นผู้ผลิตด้วย (Prosumer ) อาทิ โซล่าร์รูฟทอป รวมถึงระบบไฟฟ้าต้องสนองต่อประสิทธิภาพ และความมั่นคง โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลักในภาวะฉุกเฉิน ที่สำคัญเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ “ไมโครกริด” (Micro Grid) ขยายตัวในต่างประเทศ และกำลังถูกเรียกร้องให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อรองรับเทรนด์กิจการไฟฟ้ารอบรับโลกยุคใหม่  เพราะ “ไมโครกริด” เป็น ระบบไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มีการรวมระบบผลิตไฟฟ้า ส่งจ่ายไฟฟ้า และควบคุมสั่งการเข้าไว้ด้วยกัน สามารถทำงานประสานเชื่อมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก หรือโครงข่ายอื่น ๆ แยกทำงานเป็นอิสระได้ด้วย เป็นเหตุให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานต้องเร่งศึกษาเพื่อวางระบบรองรับ

วันนี้ (14 ม.ค.) สนพ.ได้จัด“สัมมนารับฟังความเห็นร่างรูปแบบธุรกิจไมโครกริด” ขึ้น ภายหลังผลการศึกษาเบื้องต้นออกมาแล้ว และแน่นอนว่าทั้งหมดจะนำไปสู่การปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี) ฉบับใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า

589888

นายศุภสิทธิ์ อัมราลิขิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท Full Advantage ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายเชื่อมโยงไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทกริด (Smart Grid) ของประเทศไทย แบ่งเป็น

  1. ระยะเตรียมการ ปี 2558 – 2559 เป็นช่วงการจัดตั้งคณะทำงานระหว่าง 3 การไฟฟ้า เพื่อขับเคลื่อนการทำงาน และกำหนดแผนปฏิบัติการ รวมถึงปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code)  เพื่อรองรับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน รวมถึงให้ทุนสนับสนุนให้สถาบันการศึกษา เพื่อผลิตบุคลากร ด้านระบบสมาร์ทกริด และให้ทุนศึกษาวิจัยในระยะเริ่มต้น ทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบสมาร์ทกริด
  2. ระยะสั้นช่วงปี  2560-2564 โดยสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับโครงการนำร่อง ด้านการตอบสนองโหลด ( Demand Response)  ด้านระบบไมโครกริด และระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงศึกษา และทบทวนผลการดำเนินงานโครงการนำร่อง 
  3. ระยะกลาง ปี 2565-2574 สนับสนุนให้เกิด Real Time Pricing (RTP) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน และระบบกักเก็บพลังงาน ออกมาตรการกำหนดสัดส่วน Local Content สำหรับโครงการของรัฐ ออกมาตรการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนาซอฟแวร์ และฮาร์ดแวร์ ภายในประเทศ ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และการเงิน และสนับสนุนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีสมาร์ทกริด ในระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่าย
  4. ระยะยาว ปี 2575- 2579 แบ่งเป็น 3 ด้านสำคัญ คือ
    ด้านการผลิตและระบบส่งไฟฟ้า โดยกำหนดนโยบายการให้เกิดการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี ต่อไปนี้
    -สถานีชาร์จรถไฟฟ้าอัจฉริยะ / V2G
    -การพยากรณ์พลังงานหมุนเวียน
    -ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง (High Voltage Direct Current :HVDC ) และอุปกรณ์ควบคุมกำลังไฟฟ้าในระบบส่ง
    -ระบบตอบสนองโหลด (Demand Response Management System) และระบบจัดการการใช้ไฟฟ้า ( Demand Side Management : DSM )
    -กำหนดนโยบายสนับสนุนการติดตั้งเทคโนโลยี เพื่อการบริหารจัดการ การใช้พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ

ไมโคร กริด มี 3 เสาหลักสำคัญที่ต้องขับเคลื่อน  เสาหลัก 1 คือ Demand Response และ ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) เสาหลัก 2 คือ ระบบพยากรณ์พลังงานหมุนเวียน  และเสาหลักที่ 3 คือ ระบบไมโครกริด และระบบกักเก็บพลังงาน 

สาระสำคัญที่จะทำให้การขับเคลื่อนทั้ง 3 เสาสำเร็จ อยู่ที่การบริหารการขับเคลื่อนให้เดินหน้าในทางปฏิบัติ การส่งเสริมขีดความสามารถของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย

“หัวใจสำคัญของไมโครกริด ก็คือ การประหยัด  ความมีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพ หลอมรวมพลังงานยุคใหม่เข้าด้วยกัน ทั้งพลังงานหมุนเวียน Prosumer  การตอบสนองต่อการใช้ไฟฟ้าที่ตรงความต้องการมากขึ้น รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า” 

Avatar photo